แบบจำลองความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของพฤติกรรมการเป็นพนักงานที่ดี A Causal Relationship Model of Organizational Citizenship Behavior

##plugins.themes.bootstrap3.article.main##

Kessiri Mora / เกษศิริ โมรา

Abstract

     การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมาย เพื่อศึกษาปัจจัยเชิงสาเหตุที่ส่งผลของพฤติกรรมการเป็นพนักงานที่ดีของ บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) และเพื่อสร้างแบบจำลองความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของพฤติกรรมการเป็นพนักงานที่ดีของ บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) ประชากรที่ใช้ในการศึกษา คือ พนักงานที่ปฏิบัติงานของ บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) ที่ทำหน้าที่ให้บริการงานสนับสนุนของบริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) การสุ่มตัวอย่างใช้เทคนิค Multi-stage Sampling ตัวอย่างที่ใช้มีจำนวน 420 ตัวอย่าง การเก็บรวบรวมข้อมูลกระทำโดยใช้แบบสอบถาม และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการวิเคราะห์การถดถอย การวิเคราะห์อิทธิพล และการวิเคราะห์ตัวแบบสมการโครงสร้างโดยใช้โปรแกรม SPSS และ LISREL การวิจัยได้ผลสรุป ดังนี้


     ผลการวิจัย พบว่า แบบจำลองที่ปรับมีความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โคยพิจารณาจากค่า χ 2 มีค่า 318.81 df มีค่า 165 χ 2/df มีค่า 1.93 ค่าดัชนี RMSEA มีค่า 0.047 CFI มีค่า 0.99 GFI มีค่า 0.93 และ AGFI มีค่า 0.91 พฤติกรรมการเป็นพนักงานที่ดีประกอบด้วยตัวแปรสังเกตได้ จำนวน 5 ตัวแปร ได้แก่ พฤติกรรมด้านการให้ความช่วยเหลือผู้อื่น พฤติกรรมด้านการคำนึงถึงผู้อื่น พฤติกรรมด้านความอดทนอดกลั้น พฤติกรรมด้านการให้ความร่วมมือ และพฤติกรรมด้านความสำนึกในหน้าที่ ตัวแปรสังเกตได้ทุกตัวเป็นองค์ประกอบที่สามารถอธิบายคุณลักษณะของตัวแปรแฝงทุกตัวได้ตามนิยามศัพท์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ปัจจัยที่ศึกษาทุกตัว ได้แก่ ลักษณะงาน ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง การรับรู้การสนับสนุนจากองค์กร และความผูกพันต่อองค์กร มีอิทธิพลทางบวกต่อพฤติกรรมการเป็นพนักงานที่ดี ทั้งนี้ โดยตัวแปรพฤติกรรมการเป็นพนักงานที่ดีได้รับอิทธิทางตรงสูงสุดจากตัวแปรความพึงพอใจในงานด้วยอิทธิพลทางตรงเท่ากับ 0.31 และตัวแปรพฤติกรรมการเป็นพนักงานที่ดีได้รับอิทธิโดยรวมสูงสุดจากลักษณะงานเท่ากับ 0.43


 


คำสำคัญ: แบบจำลองความสัมพันธ์เชิงสาเหตุ  พฤติกรรมการเป็นพนักงานที่ดี  ความพึงพอใจในงาน  ลักษณะงาน ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง  การรับรู้การสนับสนุนจากองค์กร  ความผูกพันต่อองค์กร


 


     The research objectives are to study the causal factors that influence the organizational citizenship behavior of the employees of TOT Public Company Limited and to establish a causal model of the organizational citizenship behavior of the employees of TOT Public Company Limited. The populations used for this study are the employees working in the TOT Public Company Limited. The sample, derived by means of Multi-stage Sampling. The 420 samples’ opinions were collected by the questionnaires and analyzed by regression analysis, path analysis as well as structural equation model analysis with the SPSS and LISREL Program.


            Results indicated that the adjusted model was consistent with empirical data. Goodness of fit measures were found to be : χ 2 = 318.81 , df = 165,  χ 2/df  =  1.93 , RMSEA = 0.047 CFI = 0.99, GFI = 0.93 and AGFI = 0.91. The results have shown that the 5 components of organizational citizenship behavior are altruism, courtesy, sportsmanship, civic virtue and conscientiousness. All observed variables have statistically significant explained for all latent variable attributes at the 0.05 level. All factors, job satisfaction, task characteristic, transformational leadership behavior, organizational support perceiving and organizational commitment have positively affected to the organizational citizenship behavior of the employees, 0.31 directly effect from the satisfaction variable and 0.43 total effect from task  characteristics.


 


Keywords: A Causal Relationship Model, Job satisfaction Organizational citizenship behavior, Task characteristic, Transformational leadership behavior, Organizational support perceiving,Organizational commitment


Keywords
แบบจำลองความสัมพันธ์เชิงสาเหตุ พฤติกรรมการเป็นพนักงานที่ดี ความพึงพอใจในงาน ลักษณะงาน ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง การรับรู้การสนับสนุนจากองค์กร ความผูกพันต่อองค์กร A Causal Relationship Model, Job satisfaction Organizational citizenship behavior, Task charact
Section
Humanities and Social Sciences

##plugins.themes.bootstrap3.article.details##

How to Cite
เกษศิริ โมรา, Kessiri Mora /. แบบจำลองความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของพฤติกรรมการเป็นพนักงานที่ดี. Naresuan University Journal: Science and Technology (NUJST), [S.l.], v. 21, n. 3, p. 92-106, sep. 2014. ISSN 2539-553X. Available at: <https://www.journal.nu.ac.th/NUJST/article/view/540>. Date accessed: 30 apr. 2024.