การพัฒนารูปแบบการประเมินผู้ประเมินวิทยฐานะครูและบุคลากรทางการศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน / A Development of an Evaluation Model for Teacher Civil Service and Educational Personnel’s Evaluators Under the Office of Basic Education

##plugins.themes.bootstrap3.article.main##

วาริช รัตนกรรดิ และเอื้อมพร หลินเจริญ / Warich Rattanakad and Aumporn Lincharoen

Abstract

     การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการประเมินผู้ประเมินวิทยฐานะครูและบุคลากรทางการศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน วิธีดำเนินการวิจัยใช้กระบวนการวิจัยและพัฒนา แบ่งเป็น 4 ขั้นตอน คือ การศึกษาปัญหา การสร้างรูปแบบการประเมิน การทดลองใช้รูปแบบการประเมิน และการประเมินรูปแบบการประเมิน
     ผลการวิจัย พบว่า
     1. ปัญหาการประเมินวิทยฐานะมี 4 ประเด็น ได้แก่ ปัญหาด้านผู้ประเมินวิทยฐานะ ปัญหาด้านผู้เสนอขอรับการประเมิน ปัญหาด้านคุณภาพผลงาน ปัญหาด้านการบริหารจัดการประเมิน และปัญหาอื่นๆ
     2. รูปแบบการประเมินผู้ประเมินวิทยฐานะครูและบุคลากรทางการศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ประกอบด้วยขั้นตอนการประเมิน 8 ขั้นตอน ได้แก่ วัตถุประสงค์การประเมิน คุณสมบัติของผู้ประเมินวิทยฐานะ องค์ประกอบและตัวบ่งชี้ น้ำหนัก ความสำคัญ เกณฑ์การประเมิน วิธีการประเมิน ผู้ทำการประเมิน และระยะเวลาการประเมิน โดยประเมินผู้ประเมินวิทยฐานะจาก 4 องค์ประกอบ ได้แก่ ความรู้, ทักษะ, คุณธรรม จริยธรรมและจรรยาบรรณ และประสบการณ์ ใน 4 องค์ประกอบนี้มี 25 ตัวบ่งชี้ ส่วนเกณฑ์ที่ใช้ในการประเมินเป็นเกณฑ์สัมบูรณ์โดยกำหนดเป็นค่าร้อยละ
     3. รูปแบบการประเมินผู้ประเมินวิทยฐานะครูและบุคลากรทางการศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน มีความตรงเชิงจำแนกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
     4. ผลการทดลองใช้รูปแบบการประเมินผู้ประเมินวิทยฐานะครูและบุคลากรทางการศึกษา พบว่า รูปแบบการประเมินมีความเหมาะสม มีความเป็นไปได้ มีความเป็นประโยชน์ และมีความถูกต้อง ในระดับมากทุกข้อ

     The purposes of this research was to develop the evaluation model for professional teacher and educational officer’s evaluators under the office of basic education commission. The research and development approach was divided into 4 stages which are problems identification, construction of evaluation model, evaluation model trial and evaluation of the evaluation model.
     The results found that
     1. There were 4 issues pertaining to professional evaluation problems, which were evaluator themselves, recipient of evaluation, quality of accomplishment, evaluation management and other problems.
     2. The evaluation model composed of 8 steps; 1) The objective of the evaluation, 2) The qualification of evaluators, 3) Factors and indicators, 4) Weighed, 5) Criteria, 6) The evaluation method, 7) Evaluator, and 8) Duration of evaluating process. They were used to evaluate the evaluator from 4 factors; knowledge, skill, moral and ethics, and experience. Those 4 factors possess 25 indicators. The absolute criteria (percentage) were used in the model.
     3. The discriminating validity of the model was statistically significant at .05 level.
     4. The evaluation model was well qualified with propriety, feasibility, utility and accuracy standards.

References

Eisner, E. (1976). Educational connoisseurship and criticism. Their form and function in Education evaluation. Journal of aesthetic education, 10, 135-150.

Kangpheng, S. (2002). When the external evaluators visit academy: From the experience into practice. Academic Journal, 5(1), 44-45.

Mertens, D. M. (1994). Training evaluators: Unique skills and knowledge. New Directions for Program Evaluation, 1994(62), 17-27.

Murry, J. W. & Hammons, J. O. (1995). Delphi: A versatile methodology for conduction qualitative Research. The Review of Higher Education, 18(4), 423-436.

Office of National Education. (2001). A study of educational quality assurance and standard: New Zealand study (Research report). Bangkok: Pimdee.

Office of The Teacher Civil Service and Educational Personnel Commission. (2009). The civil teacher and educational personnel commission academic standing evaluation guide. Bangkok: Ministry of Education.

Prawanpruek, S. (2001). Principles and techniques of educational evaluation. Bangkok: Educational and Psychological Test Bureau Srinakharinwirot University.

Srisa-ard, B. (1990). The use of model for research development. Journal of Education, 20(2), 19-25.

The ILAC Secretariat. (2006). Accreditation Requirements and Operating Criteria for Horseracing Laboratories. Retrieved from http://ilac.org/latest_ilac_news/ilac-mra-2006-annual-report/

Wedchayanon, N. (n.d.), Personnel assessment. Bangkok: National Institute of Development Administration.

Keywords
ผู้ประเมินวิทยฐานะครูและบุคลากรทางการศึกษา รูปแบบการประเมิน; Professional Teacher and Educational Officer’s Evaluators, Evaluation Model
Section
Research Articles

##plugins.themes.bootstrap3.article.details##

How to Cite
WARICH RATTANAKAD AND AUMPORN LINCHAROEN, วาริช รัตนกรรดิ และเอื้อมพร หลินเจริญ /. การพัฒนารูปแบบการประเมินผู้ประเมินวิทยฐานะครูและบุคลากรทางการศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน / A Development of an Evaluation Model for Teacher Civil Service and Educational Personnel’s Evaluators Under the Office of Basic Education. Journal of Community Development Research (Humanities and Social Sciences), [S.l.], v. 10, n. 2, p. 128-138, june 2017. ISSN 2985-0231. Available at: <https://www.journal.nu.ac.th/JCDR/article/view/1826>. Date accessed: 30 apr. 2024.