การประยุกต์ใช้บ้านคุณภาพในการพัฒนารูปแบบข้าวสารเพื่อเป็นของที่ระลึก An Application of House of Quality (HOQ) for Designing Rice Product as a Souvenir

##plugins.themes.bootstrap3.article.main##

Runchana Sinthavalai Saowarat Ruengrong

Abstract

     การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อออกแบบผลิตภัณฑ์สำหรับข้าวสารในสองกลุ่มเป้าหมายคือลูกค้าที่ต้องการของชำร่วยงานแต่งงานและลูกค้าที่ต้องการของขวัญ งานวิจัยนำบ้านคุณภาพ (House of Quality, HOQ) ซึ่งเป็นแมทริกซ์หนึ่งในเทคนิคการแปลงหน้าที่เชิงคุณภาพ (Quality Function Deployment, QFD) มาประยุกต์ใช้ เทคนิคดังกล่าวมีเป้าหมายเพื่อเชื่อมโยงความต้องการของลูกค้าสู่การออกแบบผลิตภัณฑ์หรือบริการ    โดยในงานนี้ผลิตภัณฑ์ครอบคลุมรูปแบบข้าวสารและบรรจุภัณฑ์ การดำเนินงานเริ่มต้นจากการสำรวจความต้องการของกลุ่มลูกค้าตัวอย่าง  จากนั้นจึงนำประเด็นความต้องการไปประเมินระดับความสำคัญเพื่อนำข้อมูลไปวิเคราะห์ด้วยบ้านคุณภาพจำนวน 2 หลังโดยแยกเป็นบ้านคุณภาพสำหรับของชำร่วยงานแต่งงานและของขวัญ ผลที่ได้จากบ้านคุณภาพคือคุณสมบัติการออกแบบที่สามารถนำไปออกแบบและสร้างต้นแบบของผลิตภัณฑ์ขึ้น  จากนั้นจึงนำผลิตภัณฑ์ต้นแบบดังกล่าวไปประเมินความพึงพอใจโดยตั้งเป้าหมายความพึงพอใจไว้ที่ร้อยละ 75 ซึ่งผลจากการพัฒนาพบว่าสามารถบรรลุเป้าหมายการดำเนินงาน นั่นคือได้ผลิตภัณฑ์ต้นแบบที่สร้างความพึงพอใจของกลุ่มลูกค้าตัวอย่างได้ร้อยละ 83.11 สำหรับของชำร่วยงานแต่งงาน และร้อยละ 79.76 สำหรับของขวัญ/ของฝาก  หากมองในแง่ของการนำเทคนิคทางคุณภาพไปใช้ประโยชน์ พบว่างานวิจัยนี้แสดงให้เห็นได้ว่าเทคนิคดังกล่าวมีส่วนช่วยพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์ให้สามารถตอบสนองความต้องการผู้ใช้


คำสำคัญ: บ้านคุณภาพ เทคนิคการแปลงหน้าที่เชิงคุณภาพ


     The objective of this research was to design the rice products for two groups of customer. The first group is customer looking for a wedding gift and the second group is customer looking for a present. House of Quality (HOQ), which is a part of Quality Function Deployment (QFD) techniques, was employed in this research. HOQ links customer requirements to a product design. The product in this research was started as rice and packaging. The requirements of customer were surveyed and their importance scores were examined. Two HOQ matrixes were analyzed exclusively for two products. The outputs from HOQ were the technical specifications that can contribute to design prototypes of product. The products prototypes were then evaluated for the customer satisfactions, which was set the target as 75 percent. The result of survey for customer satisfactions were 83.11%for wedding gifts and 79.76% for presents. It could be concluded that this technique has facilitated to design the product to meet customer requirements.


Keywords: House of Quality (HOQ), Quality Function Deployment (QFD)

References

Ismail, I. N., Halim, K. Ab., Sahari, K. S. M., Anuar, A., Jalal, M. F. A., Syaifoelida, F., & Eqwan, M. R. (2017). Design and Development of Platform Deployment Arm (PDA) for Boiler Header Inspection at Thermal Power Plant by Using the House of Quality (HOQ) Approach. Procedia Computer Science, 105, 296-303.
Na, L., Xiaofie, S., Yang, W., & Ming, Z. (2012). Decision Making Model Based on QFD method for Power Utility Service Improvement. Systems Engineering Procedia, 4, 243-251.
Rajesh, G. & Malliga, P. (2013). Supplier Selection Based on AHP QFD Methodology. Procedia Engineering, 64, 1283-1292.
Sinthavalai, R. (2017). Quality Improvement. Songkhla, Thailand: I.Q. Media Press.

Keywords
House of Quality (HOQ); Quality Function Deployment (QFD); Improvement
Section
Research Articles

##plugins.themes.bootstrap3.article.details##

How to Cite
SINTHAVALAI, Runchana; RUENGRONG, Saowarat. การประยุกต์ใช้บ้านคุณภาพในการพัฒนารูปแบบข้าวสารเพื่อเป็นของที่ระลึก. Naresuan University Journal: Science and Technology (NUJST), [S.l.], v. 26, n. 3, p. 36-51, sep. 2018. ISSN 2539-553X. Available at: <https://www.journal.nu.ac.th/NUJST/article/view/Vol-26-No-3-2018-36-51>. Date accessed: 29 mar. 2024. doi: https://doi.org/10.14456/nujst.2018.11.