ทัศนะของชาวชุมชนต่อโครงการพัฒนาหมู่บ้านตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของอำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่ Community Attitudes towards the Philosophy of Sufficiency Economy in Doisaket District, Chiang Mai Province

##plugins.themes.bootstrap3.article.main##

Ratthanan Pongwiritthon รัฐนันท์ พงศ์วิริทธิ์ธร Pakphum Pakvipas ภาคภูมิ ภัควิภาส Thodsaporn Chaiprakong ทศพร ไชยประคอง

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาทัศนะของชาวชุมชนต่อโครงการพัฒนาหมู่บ้านตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของอาเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่ เพื่อเปรียบเทียบทัศนะของชาวชุมชนต่อโครงการพัฒนาหมู่บ้านตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล คือ แบบสอบถาม จานวน 400 ราย ผลการวิจัยพบว่า ชาวชุมชนอาเภอดอยสะเก็ดส่วนใหญ่เป็นหญิง คิดเป็นร้อยละ 64.50 คนโดยอยู่ในช่วงอายุ 20 – 30 ปี วุฒิการศึกษาอยู่ในระดับประถมศึกษา คิดเป็นร้อยละ 41.50 ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม คิดเป็นร้อยละ 71.50 รายได้เฉลี่ยต่อปีส่วนใหญ่พบว่าอยู่ที่ 200,001 บาท ขึ้นไป ระยะเวลาที่พักอาศัยในชุมชนส่วนใหญ่จะพักอาศัยในชุมชนต่ากว่า 10 ปี รองลงมามากกว่า 25 ปี ทัศนะต่อโครงการพัฒนาหมู่บ้านตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงใน 6 ด้าน ในภาพรวมอยู่ในระดับเห็นด้วยเห็นด้วยค่อนข้างมาก(X = 3.75) การทดสอบสมมติฐาน พบว่า ชาวชุมชนที่มีเพศ อายุ ระดับการศึกษาสูงสุด สถานที่พักอาศัย ระยะเวลาที่พักอาศัยในชุมชน รายได้เฉลี่ยต่อปี แตกต่างกัน ทัศนะของชาวชุมชนต่อโครงการพัฒนาหมู่บ้านตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ไม่มีความสัมพันธ์กัน ยกเว้น ชาวชุมชนที่มีอาชีพแตกต่างกัน ทัศนะของชาวชุมชนต่อโครงการพัฒนาหมู่บ้านตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง แตกต่างกันในด้านการลดรายจ่าย ด้านการเพิ่มรายได้และด้านการประหยัดอย่างมี นัยทางสถิติที่ระดับ 0.05



คำสำคัญ: ทัศนะของชาวชุมชน, ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง



This research aims to study the public attitude towards the village development project based on the philosophy of sufficient economy in Doisaket district, Chiang Mai province and to compare their attitude classified by personal factors. Data collection tool was questionnaires, total 400 Samples. The majority of the informants were female and aged between 20 and 30 years. They consisted of 166 people who completed their education at the level of primary school. Most of them earned a living from agricultural occupations providing annually more them 200,001 baht. As for the duration of community participation, most people lived in the community for less than 10 years and yet many had lived there for more than 25 years. Their attitudes offered by the majority towards the village development project based on the philosophy of sufficient could be divided into six aspects in medium-high level (X = 3.75) in overall factor. The comparative result pertaining to attitude towards village development based on the sufficiency economy by testing hypothesis revealed that villagers in province--despite different personal factors of gender, age, education level, residential area, duration of community village development based on the philosophy of sufficiency economy. Apparently, with a


distinction of occupations, there were correlative differences in terms of their attitudes towards village development based on the philosophy of sufficiency economy at the significant statistical value of 0.05


Keywords: Community Attitudes, Philosophy of Sufficiency Economy


Keywords
ทัศนะของชาวชุมชน, ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง Community Attitudes, Philosophy of Sufficiency Economy
Section
Humanities and Social Sciences

##plugins.themes.bootstrap3.article.details##

How to Cite
รัฐนันท์ พงศ์วิริทธิ์ธร, Ratthanan Pongwiritthon; ภาคภูมิ ภัควิภาส, Pakphum Pakvipas; ทศพร ไชยประคอง, Thodsaporn Chaiprakong. ทัศนะของชาวชุมชนต่อโครงการพัฒนาหมู่บ้านตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของอำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่. Naresuan University Journal: Science and Technology (NUJST), [S.l.], v. 21, n. 2, p. 74-84, july 2014. ISSN 2539-553X. Available at: <https://www.journal.nu.ac.th/NUJST/article/view/490>. Date accessed: 25 apr. 2024.