แนวทางการพัฒนาศักยภาพโครงการหลวงปางดะเพื่อการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงเกษตรอย่างยั่งยืน

##plugins.themes.bootstrap3.article.main##

รัฐนันท์ พงศ์วิริทธิ์ธร สรียา พันธุ์ณรงค์ คูณธนา เบี้ยวบรรจง วิกร จันทรวิโรจน์ ธนศักดิ์ ตันตินาคม

Abstract

        การวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาศักยภาพชุมชน แนวทางและความต้องการของนักท่องเที่ยวที่มีต่อส่วนประสมทางการตลาดของ การท่องเที่ยวเชิงเกษตรเพื่อพัฒนาไปสู่การท่องเที่ยวเชิงเกษตรอย่างยั่งยืน ในการเก็บข้อมูลแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ ข้อมูลเชิงคุณภาพ และข้อมูลเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างเชิงคุณภาพ ได้แก่ตัวแทนชุมชนจำนวน 30 ราย โดยเป็นผู้นำชุมชนท้องถิ่นหรือผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกับ การท่องเที่ยวเชิงเกษตรในพื้นที่ชุมชน โดยใช้เครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูลจากการวิเคราะห์ SWOT ANALYSIS และกิจกรรม “Appreciation – Influence – Control” หรือ AIC ผลสรุปของการวิเคราะห์เพื่อกำหนดปัจจัยเชิงกลยุทธ์โดยการนำปัจจัยต่างๆ มาจับคู่ ในรูปแบบของแมททริกซ์ โดย “TOWS Matrix” และข้อมูลเชิงปริมาณได้แก่นักท่องเที่ยวชาวไทยและต่างประเทศที่มาท่องเที่ยวใน จังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 400 ราย รวบรวมข้อมูลจากแบบสอบถาม ผลการศึกษาเชิงคุณภาพ พบว่า ศักยภาพชุมชนมีความพร้อมใน การพัฒนา ด้านทรัพยากรท่องเที่ยว ด้านการมีส่วนร่วม โดยแนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงเกษตรอย่างยั่งยืน ควรให้สำคัญใน การสร้างการมีส่วนร่วมของชุมชน โดยใช้การประชุม สัมมนาและระดมความคิดเห็น ส่งเสริมให้สมาชิกในชุมชนได้เรียนรู้ถึง ความหมายรูปแบบที่แท้จริงและนำข้อมูลส่วนประสมทางการตลาดมากำหนดรูปแบบตามความต้องการเพื่อพัฒนาไปสู่การท่อง การท่องเที่ยวเชิงเกษตรอย่างยั่งยืน ส่วนผลการศึกษาเชิงปริมาณพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่ เป็นเพศชาย อายุ 20–30 ปี ระดับการศึกษาระดับปริญญาตรี อาชีพพนักงานของเอกชน รายได้ 10,001– 19,999 บาท โดยให้ความสำคัญปัจจัยส่วน ประสมทางการตลาดในการท่องเที่ยวเชิงเกษตรของนักท่องเที่ยวที่มาท่องเที่ยวในจังหวัดเชียงใหม่ ในระดับมากทุกด้าน ได้แก่ ด้านผลิตภัณฑ์ ด้านราคา ด้านสถานที่และช่องทางการจัดจำหน่าย ซึ่งผลการทดสอบสมมติฐานพบว่าระหว่าง อายุ การศึกษา อาชีพ และรายได้เฉลี่ยไม่แตกต่างกันต่อปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด อย่างมีนัยสำคัญที่ 0.05

 

       This research aimed to study the community competency, guideline and needs of tourist towards the marketing mix of agrotourism for the development of sustainable agrotourism. The data collected and divided into 2 parts which were qualitative data and quantitative data. Qualitative samples were including 30 of community representatives who were the community leaders or got involve with community agrotourism. The tools used to collecting data were SWOT ANALYSIS and “Appreciation – Influence –Control” or AIC activity. The conclusion of the analysis to set the strategic factors was to match each factor by using “TOWS Matrix”. Quantitative samples were including 400 Thai and foreign tourists who had a trip in Chiang Mai and the data collected from questionnaire. From qualitative study, it was found out that community competency was ready to develop in term of tourism resources factor and participation factor. For sustainable agrotourism development guideline, it was important to create more community participation by meeting, seminar and brainstorm. It was also important to let the community member learned about the meaning of the model and used the information of marketing mix to set up the model according to the needs to develop the sustainable agrotourism. From quantitative study, it was found out that majority of the questionnaire correspondent was male, age between 20‐30 years old, bachelor degree graduated, worked as private company’s employee, income range between 10,001‐19,999 Thai Baht. They rated agrotourism important factors of marketing mix for tourists who visited Chiang Mai in high level for all factors which were including product factor, price factor, place factor and channel of distribution factor. The result of hypothesis testing found out that gender, education, work and average income do not make any different towards marketing mix factors with level of significance at 0.05


Keywords
การท่องเที่ยวเชิงเกษตร; ความยั่งยืน; โครงการหลวง; Agro tourism, Sustainability, Royal Project
Section
Humanities and Social Sciences

##plugins.themes.bootstrap3.article.details##

How to Cite
พงศ์วิริทธิ์ธร, รัฐนันท์ et al. แนวทางการพัฒนาศักยภาพโครงการหลวงปางดะเพื่อการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงเกษตรอย่างยั่งยืน. Naresuan University Journal: Science and Technology (NUJST), [S.l.], v. 21, n. 1, p. 107-123, oct. 2014. ISSN 2539-553X. Available at: <https://www.journal.nu.ac.th/NUJST/article/view/395>. Date accessed: 01 may 2024.