การศึกษาคำเรียกชื่อพืชในกลุ่มภาษาชาติพันธุ์ไทในเขตภาคเหนือ

##plugins.themes.bootstrap3.article.main##

อัญชลี สิงห์น้อย วงศ์วัฒนา สุพัตรา จิรนันทนาภรณ์

Abstract

        งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะไวยากรณ์ของคำเรียกชื่อพืชในภาษากลุ่มชาติพันธุ์ไทในภาคเหนือ เพื่อเปรียบเทียบ ลักษณะและการใช้คำเรียกชื่อพืชระหว่างภาษาไทยมาตรฐานและภาษากลุ่มชาติพันธุ์ไทในเขตภาคเหนือและระหว่างภาษากลุ่มชาติพันธุ์ไท ด้วยกัน และเพื่อศึกษาระบบการจำแนกและมโนทัศน์พื้นบ้านของกลุ่มชาติพันธุ์ไทในเขตภาคเหนือจากคำเรียกชื่อพืช มีพื้นที่ศึกษา ครอบคลุม 20 กลุ่มชาติพันธุ์ไทในภาคเหนือ โดยใช้ทฤษฎีภาษาศาสตร์แนวหน้าที่นิยมแบบลักษณ์ภาษาวิเคราะห์ระบบไวยากรณ์ของ คำเรียกชื่อพืชและใช้ภาษาศาสตร์ปริชานวิเคราะห์ความหมาย

        ผลการวิจัยพบว่าโครงสร้างระบบไวยากรณ์คำเรียกชื่อพืชประกอบด้วย 4 ส่วนคือ คำบ่งกลุ่มพืช หน่วยคำบ่งกลุ่มพืช แก่นชื่อ และคำขยายพืช แก่นชื่อจะเป็นส่วนที่ต้องปรากฏเสมอเพื่อจำแนกชนิดพืช ส่วนคำบ่งกลุ่มพืช หน่วยคำบ่งกลุ่มพืช และคำขยายพืช จะปรากฏร่วมกับแก่น ชื่อพืชหรือไม่ก็ได้

        การเปรียบเทียบการใช้คำเรียกชื่อพืชในภาษากลุ่มชาติพันธุ์ไทต่างๆ ในเขตภาคเหนือนั้น คำเรียกชื่อพืชในภาษาไทยมาตรฐานทุกคำ ปรากฏในภาษากลุ่มชาติพันธุ์ไททุกกลุ่ม แต่มีรายละเอียดแตกต่างกัน คือ ปรากฏเหมือนกันทุกประการ ปรากฏโดยมีความแตกต่าง 2 ประการ ประการแรกเป็นความแตกต่างที่เกิดจากการแปรในคำเดียวกัน ประการที่สองเป็นความแตกต่างที่เป็นการใช้คำเรียกชื่อพืช คนละคำกับภาษาไทยมาตรฐาน และคนละคำกับภาษากลุ่มชาติพันธุ์ไทด้วยกันเอง การแปรในคำเรียกชื่อพืชเดียวกันพบอย่างน้อย 7 ลักษณะได้แก่ การแปรหน่วยเสียงพยัญชนะและสระของแก่นชื่อหรือคำขยาย การแปรพยางค์ของแก่นชื่อหรือคำขยาย การแปรคำบ่งกลุ่มพืช การแปรหน่วยคำบ่งกลุ่มพืช การแปรข้ามกลุ่มของคำบ่งกลุ่มพืชและหน่วยคำบ่งกลุ่มพืช การแปรปรากฏของแก่นชื่อ และการแปรปรากฏ ของคำขยาย ภาษาไทที่ใช้คำเรียกชื่อพืชคำเดียวกับภาษาไทยมาตรฐานเป็นจำนวนมากที่สุดกลุ่มแรก คือ ไทยโคราช ไทยกลาง ไทยโซ่ง และไทยสุโขทัย รองลงไปเป็นไทยอีสาน ไทยสุพรรณบุรี ไทยเลย ไทยนครไทย ไทยตี้ ไทยขึน ไทยแง้ว และลาวเวียง รองลงไปอีกเป็นไทย หล่มสัก ไทยพวน ไทยครั่ง ไทยใหญ่ และไทยหย่า และกลุ่มสุดท้ายได้แก่ ไทยยอง ไทยลื้อ และคำเมือง

        การจำแนกพื้นบ้านของคำเรียกชื่อพืชในภาษากลุ่มชาติพันธุ์ไทในภาคเหนือของประเทศไทยนั้นพบว่ามีความซับซ้อนโดยมีระดับชั้น ทางชีวภาพชาติพันธุ์ถึง 9 ระดับชั้น ซึ่งมีพื้นฐานมาจากสังคมและวัฒนธรรมที่อยู่ในระบบคิด ส่วนมโนทัศน์พื้นบ้านศึกษาได้จากการจำแนกประเภท ของการสื่อความหมายของหน่วยศัพท์แก่นชื่อพืชและคำขยายชื่อพืช แบ่งได้เป็น 3 ประเภทคือ การใช้ความหมายจำเพาะ การใช้ ความหมายนามนัย และการใช้ความหมายอุปลักษณ์

 

        This research study aimed at the grammatical analysis of plant naming system in the dialects of Tai ethnic groups in the Northern Thai region, comparison of the plant name features and usages between the standard Thai and the Tai dialects and among the Tai dialects themselves, and the study of the folk categorization system and conceptualization of plant names. Data were collected from 20 Tai representative groups in the north. The analysis of plant names was conducted mainly based on the frame work of functional-typological grammar to seek for the grammatical system of plant name and cognitive grammar in the semantic consideration.

       The results show that, in the consideration of grammatical structure, plant names generally consist of 4 main parts in the order: plant class terms-plant class markers-core–modifier. The occurrence of the core part is obligatory while those of the other three parts are optional.

       In the comparison of the grammatical features and usages among the 20 ethnic groups, all plant names in the standard Thai occur in all the Tai ethnic groups, but in different details such as occurring in the same features and occurring in different features. The latter is found in two different manners: occurring as varieties of the same lexical items and occurring as different lexical items from the standard Thai and among the Tai ethnic groups themselves. The variation is found resulting from the different usages of phonemes in the core and modifier parts, syllables in the core and modifier parts, plant class terms, plant class markers, core occurrence, and modifier occurrence. Among the Tai ethnic groups, the dialect groups that mostly use the same plant names as the standard Thai are Thai Korat, Central Thai, Thai Song and Thai Sukhothai. Following the first group in the lower rank are Northeastern Thai, Thai Suphanburi, Thai Loai, Thai Nakornthai, Thai Ti, Thai khun, Thai ngaw, and Lao Wiang. The next group are Thai Lomsak, Thai Phuan, Thai Khrang, Thai Yai and Thai Ya. The last group are Thai Yong, Thai Lu and Northern Thai.

       The folk categorization is found in the complex structure; that is, there are up to 9 ranks in their bio-taxonomic system which is generated from social and cultural knowledge that are embedded in the cognition. Finally, the folk conceptualization could be realized from the semantic analysis and categorization of the meanings or communicative functions of all cores and modifiers into three types such as proper, metonymic, and metaphorical uses.


Keywords
คำเรียกชื่อพืช; ภาษาไทยมาตรฐาน; ภาษากลุ่มชาติพันธุ์ไท; มโนทัศน์พื้นบ้าน; plant names, standard Thai, Tai ethnic language group, folk concept
Section
Humanities and Social Sciences

##plugins.themes.bootstrap3.article.details##

How to Cite
สิงห์น้อย วงศ์วัฒนา, อัญชลี; จิรนันทนาภรณ์, สุพัตรา. การศึกษาคำเรียกชื่อพืชในกลุ่มภาษาชาติพันธุ์ไทในเขตภาคเหนือ. Naresuan University Journal: Science and Technology (NUJST), [S.l.], v. 21, n. 1, p. 72-92, oct. 2014. ISSN 2539-553X. Available at: <https://www.journal.nu.ac.th/NUJST/article/view/393>. Date accessed: 01 may 2024.