ภาวะสุขภาพของวัยรุ่นตอนปลายในเขตสาทร กรุงเทพมหานคร

##plugins.themes.bootstrap3.article.main##

ผ่องศรี อิ่มสอน นันทนา น้ำฝน

Abstract

การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาภาวะสุขภาพ พฤติกรรมดูแลสุขภาพและปัญหาพฤติกรรมสุขภาพเฉพาะด้าน ของวัยรุ่นตอนปลายในเขตสาทร กรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่าง อายุระหว่าง 16-22 ปี ที่อยู่ในสถาบันศึกษาเขตสาทร จำนวน 392 คน เลือกกลุ่มตัวอย่างโดยการสุ่มแบบหลายขั้นตอน (Multistage sampling) เก็บข้อมูลโดยใช้เครื่องชั่งน้ำหนัก เครื่องวัดความดันโลหิต และแบบสอบถาม ประกอบด้วย ข้อมูลทั่วไป แบบสอบถามพฤติกรรมการดูแลสุขภาพ มีค่าสัมประสิทธิ์ความเชื่อมั่นเท่ากับ .86 แบบประเมินภาวะ สุขภาพทั่วไป (GHQ-28) และแบบสอบถามปัญหาสุขภาพเฉพาะด้านพฤติกรรมการเสพติดและพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศ มีค่าสัมประสิทธิ์ ความเชื่อมั่นเท่ากับ .76 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1) ภาวะสุขภาพ ส่วนใหญ่ ร้อยละ 63.52 มีสุขภาพกายปกติ ค่าดัชนีมวลกายปกติ(BMI 18.5–22.9) และค่าความดันโลหิตปกติทุกคน 2) พฤติกรรมการดูแลสุขภาพ ส่วนใหญ่มีพฤติกรรมการดูแลสุขภาพในระดับดี ด้านสัมพันธภาพระหว่างบุคคล ด้านการพัฒนาจิตวิญญาณ ด้านการจัดการกับความเครียด และด้านโภชนาการโดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.03, 3.86, 3.73 และ 3.51 ตามลำดับ 3) การคัดกรองปัญหาสุขภาพจิตจากแบบประเมินสุขภาพทั่วไป (GHQ - 28) ส่วนใหญ่ร้อยละ 79.34 ไม่มีปัญหาสุขภาพจิต 4) ระดับปัญหาสุขภาพเฉพาะด้านพฤติกรรมการเสพติด มีพฤติกรรมเล่นเกม คอมพิวเตอร์มากกว่า 3 ชั่วโมงต่อวัน โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 2.11 จัดเป็นปัญหาระดับปานกลาง ส่วนปัญหาสุขภาพด้านพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศ มีพฤติกรรมดูหนังสือหรือวีซีดีหรือวีดีโอโป๊ โดยมีค่าเฉลี่ยมากที่สุดเท่ากับ 1.40 จัดเป็นปัญหาระดับต่ำ ผู้วิจัยเสนอแนะว่าควรนำข้อมูลไปใช้ เพื่อศึกษาปัญหาสุขภาพของวัยรุ่นตอนปลายในแนวลึก อันนำไปสู่กิจกรรมการสร้างเสริมสุขภาพในวัยรุ่นตอนปลายโดยเฉพาะด้านสุขภาพจิต ทั้งนี้ เพื่อลดพฤติกรรมการเล่นเกมคอมพิวเตอร์ของวัยรุ่น

 

The purposes of this survey research aimed at studying the health status, the health promotion behavior and the health behavioral problems of the late adolescents aged 16 to 22 years, studying at academic institutes in Sathorn District, Bangkok Metropolitan. The samples of 392 students were selected by Multistage sampling. Research data were collected by body weight measurement, blood pressure measurement and questionnaires such as the general information, the behavioral outcome of health promoting behavior (reliability= .86), the General Health Questionnaire (GHQ–28), and the health problems of addiction and sexual behavior (reliability= .76). The research data were analyzed by descriptive statistics. The results demonstrated that; 1) Health status, the results showed that the majority or 63.52% of the samples were normal and had the BMI score of 18.5 to 22.9. 100% of the samples had normal blood pressure rate. 2) Health promoting behavior, it was found out that most of the late adolescents had good level health promoting behavior in interpersonal relationship, spiritual development, stress management and nutrition in mean about 4.03, 3.86, 3.73 and 3.51. 3) the General Health Questionnaire (GHQ-28), there are 79.34% of the samples had the normal mental health score. 4) The level of health problems in addictive and sexual behaviors, the results showed that most of the samples who play game internet more than 3 hours had mean about 2.11 and could be the moderate problem. The samples had the mean of sexual behavior about 1.40 that could be the low problem. The results suggest approaches to study in deep for promoting health especially mental health problem protection from the reduction game addiction in the late adolescents.


Keywords
ภาวะสุขภาพ; พฤติกรรมการดูแลสุขภาพวัยรุ่นตอนปลาย; Health Status, Health Promoting Behavior, Late Adolescent
Section
Health and Sciences

##plugins.themes.bootstrap3.article.details##

How to Cite
อิ่มสอน, ผ่องศรี; น้ำฝน, นันทนา. ภาวะสุขภาพของวัยรุ่นตอนปลายในเขตสาทร กรุงเทพมหานคร. Naresuan University Journal: Science and Technology (NUJST), [S.l.], v. 21, n. 1, p. 64-71, oct. 2014. ISSN 2539-553X. Available at: <https://www.journal.nu.ac.th/NUJST/article/view/392>. Date accessed: 01 may 2024.