ภาวะสุขภาพของวัยรุ่นตอนต้น เขตสาทร กรุงเทพมหานคร

##plugins.themes.bootstrap3.article.main##

สุภาวดี สมจิตต์ นันทนา น้ำฝน

Abstract

การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจภาวะสุขภาพวัยรุ่นตอนต้น ในเขตสาทร ซึ่งเป็นชุมชนเมืองที่เต็มไปด้วยมลภาวะ วิถีชีวิตที่รีบเร่ง แข่งขัน และสถานที่ออกกำลังกายมีความจำกัดโดยที่ศึกษาภาวะสุขภาพ ได้แก่ระดับความสมบูรณ์ความแข็งแรงทางสุขภาพกายจิตสังคม จิตวิญญาณ พฤติกรรม ส่งเสริมสุขภาพ ปัญหาสุขภาพ และศึก ษ า ค ว า ม สัม พัน ธ์ระหว่างภาวะสุขภาพพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพ และบรรยากาศทางสังคม ในโรงเรียนของวัยรุ่นตอนต้น เขตสาทร กรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่าง คือ วัยรุ่นตอนต้นเขตสาทร อายุ11- 15 ปี จำนวนทั้งสิ้น 375 คน เครื่องมือที่ใช้ใน การวิจัย คือแบบสอบถามจำนวน6ตอน ได้แก่ตอนที่1ข้อมูลทั่วไปและประวัติการเจ็บป่วย ตอนที่2 พฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพ ตอนที่3 ภาวะสุขภาพจิต ตอนที่4พฤติกรรมเสี่ยงต่อภาวะสุขภาพวัยรุ่น ตอนที่5ความเชื่อเจตคติ ค่านิยม เกี่ยวกับเรื่องเพศ และตอนที่6 บรรยากาศทางสังคมในโรงเรียน โดยที่มี ค่าระดับความเชื่อมั่น0.74วิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติเชิงบรรยายหาความถี่ ค่าเฉลี่ยร้อยละ และการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของเพียร์สัน ผลการศึกษา พบว่า วัยรุ่นตอนต้น เขตสาทร อายุเฉลี่ย 13.40 ปี เพศชายร้อยละ 61.33 เพศหญิงร้อยละ 38.67 ร้อยละ 74.50 มีรายได้ครอบครัว 10,000-20,000 บาท มีสุขภาพแข็งแรงร้อยละ 8.01 ร้อยละ 32.27 มีปัญหาฟันผุ ร้อยละ 30.13 มีโรคประจำตัว และโรคประจำตัวที่พบบ่อย คือ ปวดศีรษะ ร้อยละ 21.07 ร้อยละ29.60มีปัญหาด้านสายตา วัยรุ่นตอนต้นส่วนใหญ่ มีดัชนีมวลกาย อยู่ในเกณฑ์ปกติ วัยรุ่นมีภาวะสุขภาพจิต ปกติ มีเพียงร้อยละ 7.2 มีปัญหา สุขภาพจิต และปัญหาสุขภาพจิตที่พบบ่อย ได้แก่ ภาวะวิตกกังวล และนอนไม่หลับ มีพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพโดยรวมอยู่ในเกณฑ์ดี ยกเว้น การออกกำลัง กาย อยู่ในเกณฑ์พอใช้ พฤติกรรมเสี่ยงที่ ได้แก่ พฤติกรรมด้านความปลอดภัยทางด้านรถยนต์และรถมอเตอร์ไซด์ ร้อยละ 81.33 พฤติกรรมเสี่ยงต่อ การฆ่าตัวตาย37.86และพฤติกรรมรุนแรง 36.53 วัยรุ่นส่วนใหญ่มีทัศนคติ ค่านิยม ความเชื่อทางด้านเพศ เหมาะสม ยกเว้น ความคิดว่าการคุมกำเนิด เป็นความรับผิดชอบของฝ่ายหญิงเพียงลำพังและไม่เห็นด้วยกับความคิดว่าจะต้องมีความรักก่อนจึงจะมีเพศสัมพันธ์ วัยรุ่นส่วนใหญ่มีความพึงพอใจต่อ บรรยากาศทางสังคมในโรงเรียนระดับปานกลาง จากการหาค่าความสัมพันธ์ของปัจจัยต่างๆ พบว่า พฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพมีความสัมพันธ์ทางลบกับ ภาวะซึมเศร้ารุนแรงอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 พฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพมีความสัมพันธ์ทางบวกกับบรรยากาศทางสังคมในโรงเรียนอย่าง มีนัยสำคัญที่ระดับ.05บรรยากาศทางสังคมในโรงเรียน มีความสัมพันธ์ทางลบกับภาวะซึมเศร้ารุนแรง ภาวะบกพร่องทางสังคม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ

สรุป วัยรุ่นตอนต้นเขตสาทร กรุงเทพมหานคร ได้รับผลกระทบจากการอยู่ในชุมชนเมือง ที่มีภาวะรีบเร่ง แข่งขัน มลภาวะเป็นพิษ การบริโภคเทคโนโลยี

และค่านิยมอาหาร fast food ความจำกัดของสถานที่ออกกำลังกาย จากการวิจัยพบว่า วัยรุ่นส่วนใหญ่มีพฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพโดยรวมอยู่ในเกณฑ์ดี
ยกเว้นพฤติกรรมการออกกำลังกาย อยู่ในระดับพอใช้ ส่วนใหญ่มีดัชนีมวลกายอยู่ในเกณฑ์ปกติส่วนใหญ่มีปัญหาสุขภาพด้านร่างกาย และที่พบบ่อย
3 อันดับแรก ได้แก่ ภาวะฟันผุ มีปัญหาสายตา และภาวะปวดศีรษะ ส่วนใหญ่มีภาวะสุขภาพจิตปกติ มีปัญหาสุขภาพจิตบ้างได้แก่ภาวะวิตกกังวล
นอนไม่หลับ ซึมเศร้ารุนแรง และภาวะบกพร่องทางสังคม พบพฤติกรรมเสี่ยงด้านสุขภาพ 3 อันดับแรก ได้แก่ ความปลอดภัยด้านรถยนต์และมอเตอร์ไซด์
เสี่ยงต่อการฆ่าตัวตายและพฤติกรรมรุนแรง มีทัศนคติทางเพศส่วนใหญ่เหมาะสม มีความคิดที่เสี่ยงต่อการมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควร ได้แก่ ไม่เห็นด้วย
กับความคิดว่าจะต้องมีความรักก่อนจึงจะมีเพศสัมพันธ์ ความคิดว่าการคุมกำเนิด เป็นความรับผิดชอบของฝ่ายหญิงเพียงลำพัง มีความพึงพอใจบรรยากาศ
ทางสังคมในโรงเรียนในระดับปานกลาง บรรยากาศทางสังคมในโรงเรียนมีความสัมพันธ์ภาวะสุขภาพจิตและพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพ จากงานวิจัยนี้ควรได้
สร้างเสริมบรรยากาศทางสังคมในโรงเรียน ให้เหมาะกับวัยรุ่น และมีบรรยากาศสร้างเสริมพฤติกรรมสุขภาพ และทัศนคติทางเพศ ที่เหมาะสม ป้องกันปัญหา
สุขภาพช่องปาก สายตา ภาวะวิตกกังวล ความเครียด ตลอดจนสร้างความเข้มแข็งให้กับสถาบันครอบครัว

 

 

This is a survey research about the health status of the elderly adolescents in Sathorn District, Bangkok Metropolitan. Sathorn District is an urban community which has bad pollution, rush life style, competition status and the limition of exercise places. This research studied health status, which included level of physical health, mental health, spiritual health, health promotion behavior, health problem and the relation between health status, health promotion and social climate in schools. Samples were 375 early adolescents aged 11-15 years old who lived in sathon distrinct. The research instrument was a questionnaire divided in to 6 parts: part1 general data and illness history, part 2 health promotion, part3 mental health, part 4 high risk behavior, part 5 sexual believe and sexual attitude, and sexual value and part 6 social climate in school. The reliability of this research stood at 0.74. Descriptive statistics. (frequency, mean, percect, and pearson correlation) were used in data analysis. Result of research found the early adolescents aged average 13.40 years old. They were male 61.33%, female 38.67%.

The family salary was 10,000-20,000 Baht. The health status included healthy 8.01%, dental problem 32.27%, congenital disease 30.13%, headsche 21.07%, vision problem 29.60%. The most y early adolescents had normal BMI, normal mental health, good level health promotion. They had some health problems such as anxiety, insomnia. Their exercise behavior was at moderate level. They had high risk behavior including car, motorcycle safety behavior 81.33%, suicidal behavior 37.86%, violence behavior 36.53%. The sexual attitude, sexual value, sexual believe of the early adolescent appropriate except contraception thought. They thought that the only female use contraception and they disagreed about love before sexual intercourse. In addition that social climate in school was at moderate level. Relation about the others factors found that the health promotion negative related with severe depression was in significant 0.05 level. The positive relation between health promotion and social climate in school was in significant level 0.05. The negative relation between severe depression with social climate in school was in significant 0.05.

Summary:- The early adolescent in sathorn district had an effect on living in urban community. They had rush lifestyle, competition society, bad pollution, using many technology, value about had fast food, limited exercise place. This research found that the health promotion behavior was good; the exercise behavior was moderate; and BMI was normal. The first three problems were dental problem, vision problem and headache. The most of them had normal mental health. Some mental health problems were found as anxiety, insomnia, severe depression and impaired social climate. The first three high risk behaviors included motorcycle and car safty behavior, suicidal behavior and violence behavior. Most of the samples had sexual attitude appropriate They had some thought which risk to sexual intercourse such as disagree with love before sexual intercourse, only female use contraception. They were satisfied with social climate moderate level. The social climate in school was related with relate between mental health and health promotion. From this research, they should be set the health promotion about social climate in school which appropriate early adolescents, health promotion climate, and appropriately sexual attitude. Prevention dental, vision problems, anxiety, stress and promote strength in families.

 


Keywords
ภาวะสุขภาพ; วัยรุ่นตอนต้น; พฤติกรรมเสี่ยงต่อสุขภาพ; พฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพ
Section
Health and Sciences

##plugins.themes.bootstrap3.article.details##

How to Cite
สมจิตต์, สุภาวดี; น้ำฝน, นันทนา. ภาวะสุขภาพของวัยรุ่นตอนต้น เขตสาทร กรุงเทพมหานคร. Naresuan University Journal: Science and Technology (NUJST), [S.l.], v. 21, n. 1, p. 55-63, oct. 2014. ISSN 2539-553X. Available at: <https://www.journal.nu.ac.th/NUJST/article/view/391>. Date accessed: 01 may 2024.