ความเหมาะสมของโต๊ะและเก้าอี้ในห้องเรียนกับขนาดสัดส่วนร่างกายของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่1

##plugins.themes.bootstrap3.article.main##

กลางเดือน โภชนา องุ่น สังขพงศ์

Abstract

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ความเหมาะสมของขนาดโต๊ะและเก้าอี้กับขนาดสัดส่วนร่างกายของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่1 และประเมินความเหมาะสมของสัดส่วนดังกล่าว กลุ่มตัวอย่างนักเรียนเป็นนักเรียนอายุ7 ปีในโรงเรียนเอกชนแห่งหนึ่ง มีจำนวน 47 คน (ชาย 24 คนและหญิง 23 คน) การวัดขนาดสัดส่วนร่างกายของนักเรียนวัดโดยชุดอุปกรณ์วัดขนาดสัดส่วนร่างกาย โดยทำการวัดทั้งหมด 6 สัดส่วน คือ ความสูง (S) ความสูงของกลางหลัง (SUH) ความกว้างของสะโพกขณะนั่ง (HW) ระยะระหว่างสะโพกถึงข้อพับด้านใน ของหัวเข่า (BPL) ความสูงของข้อศอกขณะนั่ง (EHS) และความสูงของข้อพับ (PH) การวัดขนาดสัดส่วนโต๊ะเก้าอี้วัดทั้งหมด 5 สัดส่วน คือ ระยะระหว่างที่นั่งกับความสูงของโต๊ะ(SDH) ความกว้างของที่นั่ง (SW) ความสูงของที่นั่ง (SH) ความลึกของที่นั่ง (SD) และระยะ ขอบบนของพนักพิง (UEB) ข้อมูลขนาดสัดส่วนร่างกายของนักเรียนนำมาวิเคราะห์ตามหลักการทางสถิติ จากนั้นนำข้อมูลขนาดสัดส่วน ร่างกายและสัดส่วนของโต๊ะเก้าอี้ที่วัดได้มาวิเคราะห์ความเหมาะสมตามหลักการทางการยศาสตร์ ซึ่งพบว่า ค่า SDH SW SH SD และ UEB มีระดับความเหมาะสม เป็นร้อยละ 2.1 91.5 19.2 53.2 และ 100 ตามลำดับ เนื่องจากค่า UEB มีความเหมาะสมร้อยละ 100 ดังนั้นจึงทำการปรับค่าสัดส่วนเฉพาะ 4 ค่าเพื่อทำให้ได้ค่าระดับความเหมาะสมที่เพิ่มมากขึ้น ผลที่ได้จากการปรับสัดส่วนโต๊ะเก้าอี้ พบว่า ระดับความเหมาะสมของ SDH SW SH และ SD เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 72.3 93.6 80.8 และ 70.2 ตามลำดับ จากผลการวิจัยแสดง ให้เห็นว่าขนาดสัดส่วนโต๊ะเก้าอี้ของนักเรียนที่ใช้ในปัจจุบันควรจะมีการปรับโดยใช้หลักการทางการยศาสตร์ เพื่อจะลดระดับความไม่เหมาะสม ของสัดส่วนดังกล่าว ซึ่งอาจจะนำไปสู่ปัญหาเกี่ยวกับโครงสร้างร่างกายของนักเรียนในอนาคต

 

 

The aim of this study was to determine suitability of furniture sizes and the anthropometric characteristics of first grade students by evaluating the% match and mismatch between them. The sample consisted of 47 students (24 male, 23 female) of the 1th grade with 7 years of age from a private primary school. The anthropometric characteristics of students were measured with a portable anthropometer. Six anthropometric measures, i.e. stature (S), subscapular height (SUH), hip width (HW), buttock-popliteal length (BPL), elbow height while sitting (EHS) and popliteal height (PH) were collected. Five dimensions of table and chair of the classroom, i.e., seat to desk height (SDH), seat width (SW), seat height (SH), seat depth (SD) and upper edge of backrest (UEB) were measured. The students’ data was summarized statistically. The anthropometric measures of the students and the furniture dimensions were compared by considering the ergonomics principles in order to identify any incompatibility between them. According to the evaluation, it can be concluded that SDH, SW, SH, SD and UEB of the classroom furniture matched to the student’s anthropometric characteristics with 2.1%, 91.5%, 19.2%, 53.2%, and 100% respectively. With the exception of UEB, other dimensions were recommended ergonomically in order to increase % match. With new proposed dimensions, it resulted in increasing of % match of SDH, SW, SH and SD to 72.3%, 93.6%, 80.8% and 70.2% correspondingly. The results of this study highlight the fact that the dimension of existing classroom furniture should be redesigned based on ergonomics concern in order to decrease a level of mismatch which may result in anatomical problem of students in the future.


Keywords
เฟอร์นิเจอร์ในห้องเรียน; นักเรียนระดับประถมศึกษา; การวัดขนาดสัดส่วนร่างกาย; การยศาสตร์; ความไม่เหมาะสม; Classroom furniture, Primary school students, Anthropometric measurements, Ergonomics, Mismatch
Section
Science and Technology

##plugins.themes.bootstrap3.article.details##

How to Cite
โภชนา, กลางเดือน; สังขพงศ์, องุ่น. ความเหมาะสมของโต๊ะและเก้าอี้ในห้องเรียนกับขนาดสัดส่วนร่างกายของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่1. Naresuan University Journal: Science and Technology (NUJST), [S.l.], v. 21, n. 1, p. 18-27, oct. 2014. ISSN 2539-553X. Available at: <https://www.journal.nu.ac.th/NUJST/article/view/388>. Date accessed: 01 may 2024.