การพัฒนารูปแบบและสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสิ่งทอชุมชนพื้นที่จังหวัดสุพรรณบุรี (วิสาหกิจชุมชนกลุ่มทอผ้าพื้นเมืองลายโบราณบ้านสระบัวก่ำ) Model Development and Value Creation Project for Community Textiles Suphanburi Province (Community Enterprise of Ban Sra Bua Kam Antique Weaving Group)

##plugins.themes.bootstrap3.article.main##

Patthanit Sittinoppan

Abstract

     งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์พัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์ใหม่ และเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ผ้ามัดหมี่ที่ตอบสนองความต้องการของชุมชนและตลาดให้มีอัตลักษณ์ที่โดดเด่น โดยถ่ายทอดความรู้ในการย้อมสีธรรมชาติและการตัดเย็บรูปแบบผลิตภัณฑ์ใหม่ให้แก่สมาชิกวิสาหกิจชุมชนกลุ่มทอผ้าพื้นเมืองลายโบราณบ้านสระบัวก่ำ โดยทดลองย้อมสีธรรมชาติจากวัตถุดิบที่มีในท้องถิ่น ได้แก่ ใบมะม่วง, ใบขี้เหล็ก, ดอกอัญชัน และใช้สารช่วยย้อม (Mordant) จากธรรมชาติ 3 ชนิด ได้แก่ สนิมเหล็ก, น้ำขี้เถ้า (น้ำด่าง) และน้ำปูนใส ผลการทดลอง พบว่า มีความเข้มของสีที่มีความคงทนต่อการซักเบื้องต้น รวมทั้งสารช่วยย้อมแต่ละชนิดจะทำให้ได้เฉดของสีออกมาต่างกันไป จากการเก็บตัวอย่าง 12 ตัวอย่าง เพื่อทดสอบด้านความคงทนของสีต่อการซัก พบว่า เส้นด้ายฝ้ายที่ย้อมได้ส่วนใหญ่มีความคงทนต่อการซักในระดับ 4-5 ของการทดสอบมาตรฐานแบบ AATCC61-2010 โดยเฉพาะสีที่ย้อมจากใบขี้เหล็ก ส่วนสีที่ได้จากการย้อมด้วยดอกอัญชันและใบมะม่วงให้สีที่มีความคงทนต่อการซักในระดับ 1-2 กล่าวคือ สีจะซีดจางหรือเปลี่ยนเฉดไปหลังจากการซัก รวมทั้งสีที่ย้อมแล้วทำมอร์แดนท์ทุกสีจะไม่มีการตกสีติดผ้า นำผลมากำหนดการออกแบบโครงสร้างสีผ้ามัดหมี่จากลายประจำท้องถิ่น “ลายคอกม้า” จากลวดลายผ้าดั่งเดิมใช้องค์ความรู้พื้นฐานจากภูมิปัญญาท้องถิ่นมาพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์ใหม่ที่ทันสมัย ส่งผลให้ชุมชนมีรายได้เสริมและมีกระบวนการจัดการกลุ่มอย่างเป็นระบบ ขับเคลื่อนประสานความร่วมมือในชุมชนเพื่อผลิตในเชิง สำหรับผลการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ความพึงพอใจด้านต่างๆกับแนวโน้มในการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ พบว่า ความพึงพอใจทางการตลาดอันประกอบด้วย รูปแบบผลิตภัณฑ์ ราคา ช่องทางการจัดจำหน่าย และการส่งเสริมการตลาด มีความสัมพันธ์กับแนวโน้มในการพัฒนาเอกลักษณ์รูปแบบสินค้า จากผลการทดสอบตลาดและการประเมินความพึงพอใจ พบว่า ร้อยละ 93.4 ของกลุ่มเป้าหมายของผู้ซื้อสินค้าชุมชนส่วนใหญ่มีช่วงอายุระหว่าง 31-45 ปี ด้านผลิตภัณฑ์ พบว่า ร้อยละเท่ากับ 90.6 มีความพึงพอใจในรูปแบบสินค้าเครื่องแต่งกายในลักษณะชุดทำงานที่มีราคาจำหน่ายอยู่ที่ 1,500-2,000 บาท ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย พบว่าร้อยละเท่ากับ 90.6 ผู้บริโภคมีความพึงพอใจในการใช้เทคโนโลยีในการจัดจ่าหน่าย (ผ่านเว็ปไซต์) และมีการจำหน่ายผ่านตัวแทน และด้านการส่งเสริมการตลาด ร้อยละเท่ากับ 94.6 ผู้บริโภคมีระดับความพึงพอใจในการให้ส่วนลด มีของแถมอยู่ในระดับมาก


คำสำคัญ: มูลค่าเพิ่ม  สิ่งทอชุมชน  กลุ่มทอผ้าพื้นเมือง  การย้อมสีธรรมชาติ


     This research aims to develop new product model as well as add value to mudmee fabric products that meet the needs of the community and the market for a unique identity. This is to be done by passing on the knowledge of natural dyeing and sewing of new product styles to members of the community enterprise - the traditional patterns weaving group of Ban Sa Bua Kam. Natural dyes from local raw materials such as mango leaves, cassia leaves, butterfly pea flowers, and 3 natural mordants: iron rust, ash water (lye) and lime water were used. The result shows that color intensity that is durable to the initial washing can be obtained. Moreover, different types of dye agents create different shade of color. From 12 samples for testing color fastness to wash, most dyed cotton yarns showed 4-5 washing fastness of the AATCC61-2010 standard test, especially those dyed from cassia leaves. The color obtained by dyeing with butterfly pea flowers and mango leaves has 1-2 wash fastness level, i.e. the color will fade or change shade after washing. As for all dyed colors worked through mordant processing, there will be no discoloration on the fabric. The results were used to determine the design of the mudmee fabric structure from the local pattern, “horse stall pattern”. From the original fabric pattern-using the basic knowledge from local wisdom to develop a new modern product pattern, as a result, the community has additional income and has a systematic group management process. This creates driving cooperation in the community to produce commercial products. For the results of the analysis of the relationship of satisfaction in various areas with the trend of purchasing products, it was found that the marketing satisfaction which are product model, price, distribution channel and marketing promotion correlate with the development trend of product identity. From the market test results and satisfaction assessment, it was found that 93.4 percent of the target group of community buyers were mostly between 31-45 years of age. As for the products, it was found that 90.6 percent of consumers were satisfied with work clothes dressing style with the selling price of 1,500-2,000 baht. And 90.6 percent of consumers were satisfied with the technology in distribution (through the website) as well as selling through agents. As for marketing promotion aspect, 94.6 percent of consumers had high satisfaction level of the getting discount and extras.


Keywords: Value Added, Community Textiles, Local Weaving Group, Natural Dyeing

References

National Innovation Agency (Public Organization). (n.d.). 4 Strategies to Drive ‘Thailand’: Toward Innovation Nation. Retrieved from https://www.nia.or.th/NIA4

Section
Research Articles

##plugins.themes.bootstrap3.article.details##

How to Cite
SITTINOPPAN, Patthanit. การพัฒนารูปแบบและสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสิ่งทอชุมชนพื้นที่จังหวัดสุพรรณบุรี (วิสาหกิจชุมชนกลุ่มทอผ้าพื้นเมืองลายโบราณบ้านสระบัวก่ำ). Journal of Community Development Research (Humanities and Social Sciences), [S.l.], v. 14, n. 4, p. 128-156, oct. 2021. ISSN 2985-0231. Available at: <https://www.journal.nu.ac.th/JCDR/article/view/Vol-14-No-4-2021-128-156>. Date accessed: 29 apr. 2024. doi: https://doi.org/10.14456/jcdr-hs.2021.39.