แนวทางการพัฒนาทักษะการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับนักเรียนกลุ่มชาติพันธุ์ปกาเกอะญอ โรงเรียนบ้านโป่งน้ำร้อน ตำบลเสริมกลาง อำเภอเสริมงาม จังหวัดลำปาง The Development of Learning Skills Appropriate for Ethnic Karen Students, Baan Pong Nam Ron School, Serm Klang Sub District, Serm Ngam District, Lampang Province

##plugins.themes.bootstrap3.article.main##

Fisik Sean Buakanok Sujitra Pandee Suwannee Kruaphung Benjamas Phutthima

Abstract

     โครงการวิจัยมีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพบริบทในพื้นที่ และสถานการณ์ที่เอื้อต่อการเรียนรู้สำหรับนักเรียนกลุ่มชาติพันธุ์
ปกาเกอะญอ 2) เพื่อศึกษาเงื่อนไข ปัจจัยที่เกี่ยวข้องต่อการเรียนรู้ของนักเรียนกลุ่มชาติพันธุ์ปกาเกอะญอ 3) เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาทักษะการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับนักเรียนกลุ่มชาติพันธุ์ปกาเกอะญอ วิธีการดำเนินงานวิจัยเป็นการผสมผสานการวิจัยแบบมีส่วนร่วม (Participatory Research) กับการวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research) รวมทั้งวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ (Quantitative Research) ใช้เครื่องมือเพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลหลากหลาย อาทิ การรวบรวมข้อมูลจากเอกสาร แบบสังเกต แบบสัมภาษณ์ การสนทนากลุ่มย่อย โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ คือ ผู้บริหารและครูโรงเรียนบ้านโป่งน้ำร้อน 6 คน, นักเรียนโรงเรียนบ้านโป่งน้ำร้อน 16 คน, กรรมการสถานศึกษาโรงเรียนบ้านโป่งน้ำร้อน 2 คน, ผู้ใหญ่บ้าน ผู้นำเผ่า และชาวบ้านบ้านโป่งน้ำร้อน จำนวน 12 คน ดำเนินการวิเคราะห์ สังเคราะห์ข้อมูล แปลผลการเก็บข้อมูล สถิติใช้ คือ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ สรุปผลการดำเนินงานตามวัตถุประสงค์ได้ ดังนี้
     1. สภาพบริบทในพื้นที่และสถานการณ์ที่เอื้อต่อการเรียนรู้ สามารถแบ่งสิ่งแวดล้อมการเรียนรู้ได้เป็น 3 ห้องเรียน คือ 1) ห้องเรียนในโรงเรียน ซึ่งผู้ดูแลจัดการเรียนรู้ คือ ครู 2) ห้องเรียนที่บ้านผู้ดูแลจัดการเรียนรู้ คือ ผู้ปกครองรวมถึงคนในบ้าน และ 3) ห้องเรียนชุมชนผู้จัดการเรียนรู้ คือ สิ่งแวดล้อมรวมไปถึงคนในชุมชนและตัวเด็กนักเรียนเอง โดยสถานการณ์ห้องเรียนที่เอื้อต่อการเรียนส่งผลกระทบต่อการเรียนรู้ได้อย่างน่าสนใจ คือ ห้องเรียนชุมชน สามารถสร้างให้เด็กๆ เกิดการเรียนรู้ได้ตามวัยและตามความถนัดที่สำคัญ คือ สอดคล้องสัมพันธ์กับชีวิตจริงและวิถีชีวิตของผู้เรียน และสร้างการเรียนรู้แบบ Active Learning ได้ดี
     2. ปัจจัยที่เกี่ยวข้องต่อการเรียนรู้ของนักเรียนกลุ่มชาติพันธุ์ปกาเกอะญอที่ส่งผลต่อการเรียนรู้แบ่งออกได้เป็น 4 ปัจจัย 1) ตัวเด็ก/ผู้เรียน: มุ่งไปที่ความสุขเด็กที่เกิดจากการเรียนรู้ จะทำให้เด็กเกิดการเรียนรู้แบบเชิงรุก (Active Learning) 2) โรงเรียน/ครู: ปัจจัยนี้มุ่งไปที่การออกแบบการจัดการเรียนรู้ของครู ที่สอดคล้องกับบริบทชุมชน สิ่งแวดล้อม ภาษาและวัฒนธรรม 3) บ้าน/คนในครอบครัว ผู้ปกครอง: ปัจจัยนี้มุ่งไปที่ทัศนคติ และพฤติกรรมการปฏิบัติตัวของผู้ปกครอง ทัศนคติที่มีต่อคุณค่าและการสือทอดความเป็นชาตพันธุ์ ถ่ายทอดวิถีชีวิต คุณค่าและการถ่ายทอดวัฒนธรรม 4) สิ่งแวดล้อมชุมชน/คนในท้องถิ่น โดยมุ่งไปที่การจัดการเรียนรู้ด้วยสิ่งแวดล้อมชุมชน/คนในท้องถิ่น จึงมีพลังมากต่อการเรียนรู้
     3. แนวทางการพัฒนาทักษะการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับนักเรียนกลุ่มชาติพันธุ์ปกาเกอะญอ คือ หลักสูตรที่ประกอบด้วยกิจกรรมการเรียนรู้ที่ผสมผสานด้วยกิจกรรมนอกห้องเรียนและในห้องเรียน โดยหลักสูตรที่ออกแบบขึ้นเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ภาษาไทย ฟัง พูด อ่าน เขียน และทักษะชีวิต จุดหมายของหลักสูตร 1) เพื่อปูพื้นฐานการใช้ภาษาไทยด้านการฟัง พูด อ่าน เขียน 2) เพื่อสร้างทักษะในการใช้ภาษาไทยแก่ผู้เรียนตามวิถีชีวิตปกาเกอะญอบ้านโป่งน้ำร้อน 


คำสำคัญ: การพัฒนาทักษะการเรียนรู้  กลุ่มชาติพันธุ์ปกาเกอะญอ  ทักษะการใช้ภาษาไทย


     The research objectives were: 1) to study the context of the area and whether the situation was conducive to learning for Ethnic Karen Students; 2) to study the conditions of factors related to the learning of Ethnic Karen Students; 3) to study the development of appropriate learning skills of Ethnic Karen Students. The Research Methodology was a combination of participatory research and action research which included quantitative research. A variety of research tools were used to collect data, such as observation forms, interview forms, and small group discussions. The sample group consisted of 36 people: 6 administrators and teachers from Baan Pong Nam Ron School; 16 students from Baan Pong Nam Ron School, 2 committee members from Baan Pong Nam Ron School, 12 people from Baan Pong Nam Ron Village including village leaders and villagers. The statistic used was the mean percentage. The study results and recommendations are as follows:
     1. The context of the area and the situation conducive to learning can be divided into 3 classrooms: 1) the classroom at the school in which the teacher is the learning facilitator; 2) the classroom at home in which the parents and family members are the learning facilitators; 3) the classroom in the community in which the environment includes community members and the students themselves are the learning facilitators.
     2. The factors related to the ethnic Karen students’ learning can be divided into 4 factors: 1) Learner: Focus on the children’s happiness from learning which allows them to experience Active learning; 2) Teachers: Focus on instructional design in relation to the context- the community, environment, language and culture; 3) Parent or Family: Focus on the attitudes and behavior of family members, regarding ethnic values, lifestyle and the value of cultural transfer; 4) Community environment: Focus on using the environment within the community and the local members to create learning. This factor has a powerful influence on learning.
     3. The guidelines for the development of learning skills appropriate for ethnic Karen students involve learning activities that integrate activities both outside and inside the classroom. It is necessary to create a curriculum that promotes Thai language learning skills that 1) establishes a foundation for the use of Thai in terms of listening, speaking, reading and writing skills; 2) builds Thai language skills for learners according to the lifestyle of the Baan Pong Nam Ron community.


Keywords: Development of Learning Skills, Ethnic Student Karen, Thai Language Skills

References

Buranarittawee, J. (2002). Study with Life. Retrieved from https://www.nectec.or.th/schoolnet/library/
create-web/10000/philosophy/10000-6512.html
Cullen, K. (2016). Child Psychology (W. Kamoltrakul, Trans.). Nakhon Pathom: Foundation for Children.
Longja, A. (2014). Understand Access Develop with Educational Management. Retrieved from https://
doodee01loveyou.wordpress.com/2014/01/03/
Phetcharat, S. (2017). Role of Library with Teaching in Active Learning. Thaksin University Library Journal. Retrieved from http://libapp.tsu.ac.th/ojs/index.php/Journals_library/article/download/55/51
Sacrick, R. (2002). 80 Years of Rapee Sacrick. Bangkok: Faculty of Agriculture, Kasetsart University.
Samudavanija, C. (2011). 100 Years of Reforming Government System for the Evolution of State Power and Political Power. Bangkok: CUBook.
Shaffer, D. (1999). Developmental Psychology: Childhood & Adolescence (5th ed.). Pacific Grove: Brooks /Cole.
Thepkampanat, A. (2007). Virtues of the King: The King's Dhamma Regulation That Ordinary People Can Do. Journal of Thai Culture, 47(1), 6-7.
Uamcharoen, S. (2014). Instructional Learning: The Principle of Innovation and Technology Design. Nakhon Pathom: Silpakorn University, Sanam Chandra Palace Campus.
Vygotsky, L. (1978). Mind in Society: The Developmental of Higher Psychological Process. Cambridge, MA: Harvard University Press.
Wasi, P. (2001). Learning Reform, Learners are the Most Important. Bangkok: Kurusapa Printing Ladphrao.

Section
Research Articles

##plugins.themes.bootstrap3.article.details##

How to Cite
BUAKANOK, Fisik Sean et al. แนวทางการพัฒนาทักษะการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับนักเรียนกลุ่มชาติพันธุ์ปกาเกอะญอ โรงเรียนบ้านโป่งน้ำร้อน ตำบลเสริมกลาง อำเภอเสริมงาม จังหวัดลำปาง. Journal of Community Development Research (Humanities and Social Sciences), [S.l.], v. 12, n. 1, p. 79-108, mar. 2019. ISSN 2985-0231. Available at: <https://www.journal.nu.ac.th/JCDR/article/view/Vol-12-No-1-2019-79-108>. Date accessed: 11 sep. 2024. doi: https://doi.org/10.14456/jcdr-hs.2019.8.