กลยุทธ์การบริหารจัดการศึกษาของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ในบริบทสังคมพหุวัฒนธรรม จังหวัดพะเยา The Strategies of Basic Schools Administration in the Context of Multicultural Society, Phayao Province

##plugins.themes.bootstrap3.article.main##

Santi Buranachart

Abstract

     การวิจัยในครั้งนี้เป็นการพัฒนากลยุทธ์การบริหารจัดการศึกษาของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในบริบทสังคมพหุวัฒนธรรม จังหวัดพะเยา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 36 โดยวัตถุประสงค์ของการวิจัย เพื่อศึกษาสภาพบริบทการบริหารจัดการศึกษาของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในบริบทสังคมพหุวัฒนธรรม จังหวัดพะเยา เพื่อสร้างกลยุทธ์การบริหารจัดการศึกษาของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในบริบทสังคมพหุวัฒนธรรม จังหวัดพะเยา และเพื่อประเมินกลยุทธ์การบริหารจัดการศึกษาของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในบริบทสังคมพหุวัฒนธรรม จังหวัดพะเยา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 36 ในการศึกษาสภาพบริบทการบริหารจัดการศึกษาของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในบริบทสังคมพหุวัฒนธรรม จังหวัดพะเยา ผู้วิจัยสอบถามผู้บริหารโรงเรียน และหัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ จำนวน 42 คน โดยใช้แบบสอบถาม จากนั้นนำผลวิจัยจากการศึกษาสภาพบริบทมาการสร้างกลยุทธ์และตรวจสอบความเหมาะสม โดยการจัดสนทนากลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 8 ท่าน และประเมินความเป็นไปได้ และความเป็นประโยชน์ของกลยุทธ์โดยการสอบถามผู้บริหารโรงเรียน และหัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ จำนวน 27 คน โดยใช้แบบสอบถาม ผลการวิจัย พบว่า
     1. สภาพบริบทการบริหารจัดการศึกษาของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในบริบทสังคมพหุวัฒนธรรม จังหวัดพะเยา ด้านหลักสูตร พบว่ามีหลักสูตรทางด้านอาชีพและได้รับการส่งเสริม สนับสนุนจากชุมชน และหน่วยงานต่างๆ ความหลากหลายทางวัฒนธรรมทำให้มีโอกาสที่จะเกิดหลักสูตรทางการศึกษาใหม่ๆ เพิ่มมากขึ้น การติดตามประเมินผลการใช้หลักสูตรไม่ต่อเนื่อง ด้านการเรียนการสอน พบว่า มีการจัดหลักสูตรทวิศึกษามาใช้ในการเรียนการสอนโดยความร่วมมือกับสถาบันการศึกษาทางด้านอาชีพ ชุมชน และหน่วยงานต่างๆ โดยยึดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง มีหน่วยงานทั้งภาครัฐ เอกชน สมาคมศิษย์เก่าให้การสนับสนุน โดยเฉพาะการสร้างเสริมอาชีพให้กับนักเรียน ครอบครัวนักเรียนมีฐานะค่อนข้างยากจน พ่อแม่เสียชีวิต และหย่าร้าง ทำให้ผู้เรียนขาดแรงผลักดัน ความหลากหลายทางวัฒนธรรมทำให้มีความยากลำบากด้านการสื่อสาร ด้านบุคลากร พบว่า บุคลากรส่วนใหญ่เป็นคนในพื้นที่ มีความโอบอ้อมอารี มีคุณธรรม จริยธรรม ประพฤติตนเป็นแบบอย่างที่ดี มีโอกาสศึกษาด้านภาษา และวัฒนธรรมของชาติพันธุ์ต่างๆ เพิ่มขึ้น แต่มีไม่เพียงพอ และยังขาดความมั่นคงในอาชีพในกลุ่มที่เป็นอัตราจ้าง และพนักงาน การสรรหา บรรจุแต่งตั้ง บางครั้งต้องรอตำแหน่งซึ่งไม่ทันกับการเรียนการสอน ด้านการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองและชุมชน พบว่า คณะกรรมการสถานศึกษามีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา ปกครอง และชุมชนมีโอกาสทำกิจกรรมต่างๆ ร่วมกัน ชุมชนโดยรอบโรงเรียนให้ความร่วมมือและมีผู้นำชุมชนที่เข้มแข็ง ผู้ปกครองส่วนใหญ่ฐานะยากจน ประกอบอาชีพเกษตรกรรม และรับจ้าง จึงไม่ค่อยมีเวลาในการดูแลบุตรหลานและร่วมกิจกรรมของโรงเรียน มีภูมิลำเนาอยู่นอกพื้นที่และห่างไกลจากโรงเรียนทำให้มีความลำบากในการติดต่อสื่อสาร ประสานงาน ด้านหอพักนักเรียน พบว่า นักเรียนได้ทำกิจกรรมร่วมกัน มีการพัฒนาบริเวณโดยรอบอาคารหอพัก และส่งเสริมพัฒนาการในด้านต่างๆ ของนักเรียน ได้รับการสนับสนุนสิ่งอำนวยความสะดวกที่จำเป็นสำหรับการพักอาศัย และการเรียนจากหน่วยงานต่างๆ บุคลากรประจำหอพักไม่เพียงพอกับจำนวนนักเรียนหอพักเพื่อให้การดูแลนักเรียนเป็นไปอย่างทั่วถึงงบประมาณที่สนับสนุนจากภาครัฐ หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องยังไม่เพียงพอต่อการให้บริการหอพักแก่นักเรียนได้อย่างมีคุณภาพ
     2. กลยุทธ์การบริหารจัดการศึกษาของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในบริบทสังคมพหุวัฒนธรรม จังหวัดพะเยา ประกอบด้วย 5 กลยุทธ์ ได้แก่ กลยุทธ์ที่ 1 การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาให้สอดคล้องกับบริบท กลยุทธ์ที่ 2 การพัฒนากระบวนการเรียนการสอนให้ได้ตามมาตรฐาน กลยุทธ์ที่ 3 การพัฒนาบุคลากรให้มีคุณภาพ กลยุทธ์ที่ 4 การส่งเสริมการมีส่วนร่วมของผู้ปกครอง และชุมชนในการจัดการศึกษา และกลยุทธ์ที่ 5 การพัฒนาการให้บริการหอพักนักเรียน
     3. ผลการประเมินกลยุทธ์การบริหารจัดการศึกษาของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในบริบทสังคมพหุวัฒนธรรม จังหวัดพะเยา พบว่า มีความเป็นไปได้ และความเป็นประโยชน์อยู่ในระดับมาก


คำสำคัญ: กลยุทธ์การบริหารจัดการศึกษาของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน  สังคมพหุวัฒนธรรม


     This research aims to develop the educational administration strategies of basic education schools in the context of multicultural society in Phayao Province under the Office of the Secondary Education Region 36. The objectives of the research were: to study the context of educational administration of basic education schools in the context of multicultural society in Phayao province; to create educational administration strategies of basic education schools in the context of the multicultural society in Phayao province; and to evaluate the educational administration strategies of basic education schools in the context of multicultural society in Phayao Province under the Office of the Secondary Education Region 36. The research results were as follows:
     1. Regarding the context of educational administration of basic education schools in multicultural society in Phayao province, it was found that the curriculum was vocational and promoted by the community. Multiculturalism provided opportunities for new educational curricula for carpenters, mechanics, electricians, building contractors and beauticians, but the evaluation of curriculum use was not progressing. In teaching and learning, the dual curriculum was developed in collaboration with educational institutes, vocational schools, communities and other organizations, based on the philosophy of sufficiency economy. The schools were supported by government agencies, private organizations and alumni associations to create a career for students. Student families were rarely poor; parents died or divorced and cultural diversity made it difficult for human communication. It was found that most local people were honest, having ethics and behaving as a good example. An individual had an opportunity to study language and culture of the various ethnic groups, but courses were not enough in schools. There was a lack of security in the careers of staff in the payroll group. The schools sometimes had to wait for the position of staff, which was not in line with the teaching. The participation of parents and the school committees were involved in the educational administration. The community had opportunities to do activities together. The one around the school cooperated with strong community leaders. Most parents were poor farmers or hired laborers so they rarely had time to care for their children and join school activities. The students’ houses were far from the area of the school, it was difficult for them to communicate with other students. In dormitories, the students did activities together and developed the surrounding area of ​​the dormitory building. They were supported with facilities needed for the residence. Dormitory staff were not sufficient to accommodate the number of boarding students, and the budget supported by the government was not enough to provide dormitories to students.
     2. The educational administration of basic education schools in multicultural society in Phayao Province consists of five strategies: Strategy 1, development of school curriculum in accordance with the context; Strategy 2, development of teaching and learning process according to the standard; Strategy 3, personnel development quality; Strategy 4, parental promotion and community involvement in education; and Strategy 5, development of student dormitory services.
     3. The results from the evaluation of educational administration strategies were feasible, and the benefits were very high.


Keywords: Educational Administration Strategies, Multicultural Society

References

Banks, J. A. (2001). An Introduction to Multicultural Education (3rd ed.). Boston: Allyn and Bacon.

Chaitheeranuwatsiri, M. (2000). Dormitory with the Development of Higher Education Students, Department of Permanent Secretary (Research report). Bangkok: Ministry of University Affairs.

Cleesuntorn, A. (2009). Teacher Encyclopedia, Multicultural Education. Bangkok: Office of the Welfare Promotion Commission for Teachers and Education Personnel.

Decharin, P. (2010). Strategic Planning and Formulating. Bangkok: Chulalongkorn University Printing House.

Inrak, C. (2014). Educational Management in Multicultural Society for Mountain Students of Primary School at Northern Marginal Area. Silpakorn Educational Research Journal, 6(1), 7-14.

Kajornsil, S. (1995). The New Dimension of Student Affairs 2: Student Development. Bangkok: Kasetsart University.

Kaotiean, U. (2006). Strategic Planning (3rd ed.). Bangkok: Chulalongkorn University Printing House.

Lopusan, K. (2009). Dormitory Management of the Private and Government Schools in Chiang Mai Educational Service Area 6 Viewed by the Dormitorial Students. (Master’s thesis). Chiang Mai Rajabhat University, Chiang Mai.

Office of the Education Council. (2016). (Draft) National Education Plan Framework (2017-2031). Retrieved from http://backoffice.onec.go.th/uploaded/Outstand/2016-EdPlan60-74.pdf

Office of the National Economic and Social Development Board. (2015). Direction of National Economic and Social Development Board No. 12 (2017-2021). Retrieved from http://www.sukhothai.go.th/mainredcross/
7I.pdf

Phagaphasvivat, S. (2003). Strategic Management. Bangkok: Amarin Printing & Publishing.

Pitiyanuwat, S. (1988). Forms and Activities to Enrich the Atmosphere and Living in the University of Chulalongkorn University Students. Bangkok: Chulalongkorn University.

Pongsapich, A. (1998). Culture, Religion and Ethnic: Analyze Thai Society Anthropology (5th ed.). Bangkok: Chulalongkorn University Printing House.

Sangsuwan, U. (2003). Management of Basic School Curriculum in Accordance with the Highland (tribal) Community Service Area of Baan Huay Mae Liam School, Muang District, Chiang Rai Province (Research report). Bangkok: The Thailand Research Fund (TRF).

Sleeter, C. E., & Grant, C. A. (1993). Making Choices for Multicultural Education (2nd ed.). New York: Merrill.

Social Development Center Unit 31, Phayao Province. (2014). History of Phayao Province. Retrieved from http://www.phayao.go.th/au/

Section
Research Articles

##plugins.themes.bootstrap3.article.details##

How to Cite
BURANACHART, Santi. กลยุทธ์การบริหารจัดการศึกษาของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ในบริบทสังคมพหุวัฒนธรรม จังหวัดพะเยา. Journal of Community Development Research (Humanities and Social Sciences), [S.l.], v. 11, n. 4, p. 27-41, dec. 2018. ISSN 2985-0231. Available at: <https://www.journal.nu.ac.th/JCDR/article/view/Vol-11-No-4-2018-27-41>. Date accessed: 11 sep. 2024. doi: https://doi.org/10.14456/jcdr-hs.2018.18.