The guideline for the appropriate development of strategies to raise the standards of natural attractions in Chiang Mai: A case study of Doi Inthanon National Park / แนวทางในการพัฒนากลยุทธ์ที่เหมาะสมเพื่อการยกระดับมาตรฐานแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติในจังหวัดเชียงใหม่ กรณีศึกษาอุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์
##plugins.themes.bootstrap3.article.main##
Abstract
แผนการพัฒนาการท่องเที่ยวแห่งชาติ พ.ศ. 2555-2559 ได้กาหนดยุทธศาสตร์การพัฒนา 5 ยุทธศาสตร์ ได้แก่ การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและสิ่งอานวยความสะดวก การพัฒนาและฟื้นฟูแหล่งท่องเที่ยวให้เกิดความยั่งยืน การพัฒนาสินค้า บริการและปัจจัยสนับสนุนการท่องเที่ยว การสร้างความเชื่อมั่นและส่งเสริมการท่องเที่ยวเที่ยวและการส่งเสริมกระบวนการมีส่วนร่วมของภาครัฐ ในการพัฒนาการท่องเที่ยวเที่ยวจึงจาเป็นต้องพัฒนา กลยุทธ์ที่เหมาะสมเพื่อการยกระดับมาตรฐานแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ เพื่อที่จะทาให้แหล่งท่องเที่ยวเน้นได้รับความนิยมและสามารถรองรับกับความต้องการของนักท่องเที่ยวได้ ดังนั้น การวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์การประเมินตามมาตรฐานการท่องเที่ยวจากนักท่องเที่ยว เพื่อสร้างกลยุทธ์ระดับปฏิบัติการในการยกระดับมาตรฐานแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติของอุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ ซึ่งเป็นแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติในจังหวัดเชียงใหม่ ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักท่องเที่ยวชาวไทยและต่างประเทศที่มาท่องเที่ยวในจังหวัดเชียงใหม่ การเลือกกลุ่มตัวอย่างใช้สูตรของยามาเน่ (Yamane, 1970) โดยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย (Simple Random Sampling) จานวน 400 คน และใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือ ในการรวบรวมข้อมูลเชิงปริมาณ ส่วนข้อมูลเชิงคุณภาพ โดยใช้เครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูลจากการสัมภาษณ์แบบเจาะลึกต่อกลุ่มผู้นาทางความคิด โดยการเข้าร่วมอบรมเชิงปฏิบัติการร่วมกับคณะผู้วิจัย และใช้การวิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาสและอุปสรรค โดยใช้กิจกรรม “Appreciation – Influence – Control” หรือ AIC ผลการวิจัย พบว่า การประเมินระดับความเป็นมาตรฐานของอุทยานแห่งชาติดอย อินทนนท์ ประกอบด้วย 5 มิติ ได้แก่ 1) ลักษณะทางกายภาพของแหล่งท่องเที่ยว 2) การรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม 3) เศรษฐกิจและสังคม 4) คุณค่าทางการเรียนรู้และการศึกษา และ 5) การบริหารการจัดการเพื่อการยกระดับมาตรฐานแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ ในภาพรวมของการประประเมินมาตรฐานคุณภาพแหล่งท่องเที่ยว อยู่ในระดับค่อนข้างมาก โดยแนวทางในการพัฒนากลยุทธ์ที่เหมาะสมเพื่อการยกระดับมาตรฐานแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติในจังหวัดเชียงใหม่ ควรมุ่งเน้นการสร้างกลยุทธ์ปฏิบัติการ ได้แก่ การจัดการเพื่ออนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและระบบนิเวศน์ การบริการจัดการเพื่อการท่องเที่ยว การอนุรักษ์สภาพแวดล้อมทางธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม การพัฒนาบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับการให้บริการแหล่งท่องเที่ยว การสร้างคุณภาพร้านอาหาร และการปรับปรุงภูมิทัศน์ เพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนามาตรฐานการท่องเที่ยวแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติในจังหวัดเชียงใหม่เพื่อความยั่งยืน
คำสำคัญ: แนวทางการพัฒนา การพัฒนากลยุทธ์ ระดับมาตรฐานแหล่งท่องเที่ยว ดอยอินทนนนท์ เชียงใหม่
The National Tourism Development Plan for year 2012 -2016 has set up five strategic development strategies which are the development of infrastructure and facilities, the development and rehabilitation of sustainable tourism, the development of products, services and resources for tourism, creating confidence and promote tourism, and promote the participation of the public sector. To develop tourism, it is important to have appropriate strategies to raise standards of natural attractions in order to make
the natural attractions become a popular tourist destination and be able to meet the needs of tourists. Therefore, this research aims to analyze the assessment according to tourism standard from tourists to create a strategic operation in order to raise the standard of the natural attractions of Doi Inthanon National Park, Chiang Mai. Population and sample are 400 Thai and foreign tourists who come to Chiang Mai. The questionnaire is used to collect quantitative data and Yamane's Simple Random Sampling formula (Yamane, 1970) is used to select the population and sample. Qualitative data collect from in-depth interviews with a group of opinion leaders by attending the workshop in collaboration with the researchers and the analysis of strengths, weakness, opportunities and threats via "Appreciation - Influence - Control" or AIC activities. The results of the study showed that to evaluate the level of tourism standard of Doi Inthanon National Park consist of five dimensions which are 1) The physical characteristic of tourist attractions, 2) Environmental quality management, 3) Economic and social, 4) The value of learning and education and 5) Administration managed to raise the standard of natural attractions in the overall assessment on the quality is relatively quite high level. Regarding to the guideline for the appropriate development of strategies to raise the standards of natural attractions in Chiang Mai, it is important to concentrate on creating operating strategies which including conservation and ecosystem management, services management for tourism, conservation of the natural environment, the training for staff who related to tourism services, create quality restaurant and landscape improvement as a guideline to develop a sustainable natural attraction in Chiang Mai.
Keywords: Guideline for Development, Development of Strategy, Tourism standard, Doi Inthanon, Chiang Mai