A Development of Household Accounting for Personal Financial Planning of Sanlomjoy Community, Suthep Sub-district, Muang District, Chiang Mai / การพัฒนาบัญชีครัวเรือนเพื่อการวางแผนการเงินส่วนบุคคลของชุมชนบ้านสันลมจอย ตำบลสุเทพ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่

##plugins.themes.bootstrap3.article.main##

Nisara Janjaroensuk / นิศรา จันทร์เจริญสุข

Abstract

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาและทบทวนบทเรียนการจัดทาบัญชีครัวเรือนของชุมชน 2) เพื่อพัฒนาบัญชีครัวเรือนที่มีความเหมาะสมกับชุมชน และ 3) เพื่อพัฒนาการวางแผนการเงินส่วนบุคคลของชุมชนบ้านสันลมจอย ตาบลสุเทพ อาเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ รูปแบบการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้นาชุมชน ผู้นาคุ้มบ้าน และสมาชิกคุ้มบ้าน บ้านสันลมจอย ตาบล สุเทพ อาเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ จานวน 54 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย การสัมภาษณ์ การสังเกต และการสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลสรุปเขียนบรรยายเชิงพรรณา ผลการวิจัย พบว่า 1. ประชาชนในชุมชนเคยจัดทาบัญชีครัวเรือนมาก่อนโดยได้รับการสนับสนุนสมุดบัญชีครัวเรือนจากหน่วยงานภาครัฐ แต่ดาเนินการไม่ประสบผลสาเร็จเพราะขาดการให้ความรู้ ให้คาแนะนา และสมุดบัญชีครัวเรือนที่ได้รับมีรายละเอียดมากยากต่อการบันทึก รวมทั้งผลจากการบันทึกบัญชีครัวเรือนไม่ได้นามาคิดวิเคราะห์ประเมินสถานการณ์ทางการเงินเพื่อวางแผนการเงินส่วนบุคคลได้ 2. การพัฒนาสมุดบัญชีครัวเรือนที่มีความเหมาะสมกับชุมชนบ้านสันลมจอย สามารถช่วยแก้ไขปัญหาการจัดทาบัญชีครัวเรือนของชุมชนได้ โดยสมุดบัญชีของชุมชนบ้านสันลมจอยจะต้องมีรายการการใช้จ่ายที่สอดคล้องกับชีวิตประจาวัน บันทึกข้อมูลง่าย สะดวก พร้อมทั้งมีแบบสรุปการทาบัญชีในแต่ละเดือน 3. การพัฒนาการวางแผนทางการเงินส่วนบุคคล สามารถดาเนินการตามกระบวนการวางแผนการเงินส่วนบุคคล 5 ขั้นตอน คือ 1) การรวบรวมข้อมูลจากการจัดทาบัญชีครัวเรือน มาวิเคราะห์เพื่อการรับรู้สถานการณ์ทางการเงินของครัวเรือนในปัจจุบัน 2) การกาหนดเป้าหมายทางการเงินที่ครัวเรือนต้องปฏิบัติ คือ การเพิ่มรายได้ ลดรายจ่าย ลดหนี้ ปลดหนี้และเพิ่มเงินออม 3) การกาหนดทางเลือกที่แต่ละครัวเรือนสามารถปฏิบัติให้บรรลุเป้าหมายทางการเงินได้ คือ การการหารายได้เสริม การประหยัดค่าใช้จ่าย การสร้างวินัยในการชาระหนี้ และการเพิ่มวินัยในการออม 4) การปฏิบัติตามทางเลือกที่กาหนดไว้ และ 5) การติดตามผล ดังนั้น การนาบัญชีครัวเรือนมาใช้เป็นเครื่องมือสาหรับการวางแผนการเงินส่วนบุคคลจะเสริมสร้างความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจแก่ครัวเรือน ส่งผลให้หมู่บ้านสันลมจอยเป็นหมู่บ้านนาร่องในการใช้บัญชีครัวเรือน เพื่อการแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบอย่างยั่งยืนประสบความสาเร็จ และยังคงรักษาความเป็นหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบเฉลิมพระเกียรติ 84 พรรษาระดับ “พออยู่ พอกิน” ได้


คำสำคัญ: บัญชีครัวเรือน การวางแผนการเงินส่วนบุคคล

The purposes of this research were to study and review the experience in household accounting of Sanlomjoy Community, Suthep District, Chiangmai, construct suitable household accounting for the community, and develop a personal financial plan for people in the community. The 54 subjects of this qualitative research were community leaders, village leaders, and community members. The data were collected by using an interview schedule, an observation form, and focus-group. A content analysis was used to analyze the data. The results revealed that the government sector used to encourage the people to keep household accounts, but they were not successful because of the lack of knowledge and advice. In addition, the account book had too many 

details to record, and the records in the household accounts were not analyzed for personal financial planning. The results indicated that the development of suitable household account books could solve the people’s problems of keeping household accounts because they contained the list of expenditure in compliance with their daily life, were easy and convenient to record, and included a monthly sum. The results suggested a five-step personal financial plan: 1) collecting household accounting information for an analysis in order to know the current family’s financial situation; 2) setting the financial goals for the family to practice to increase income and savings and reduce expenditure and debts; 3) identify the alternatives for each family to accomplish the financial goals, that is, finding extra income, reducing expenditure, having discipline for paying debts, and increasing discipline for savings; 4) following the set alternatives; and 5) doing a follow-up. Therefore, the use of household accounting as a tool for personal financial planning could promote the family’s economic strength, which resulted in making Sanlomjoy Community pilot community in the use of household accounting to solve the problems of non-system debts successfully and sustainably. Furthermore, it could keep its name as the model of sufficiency economy village of the celebration for the King’s 84th birthday.


Keywords: Household Accounting, Personal Financial Planning


Keywords
บัญชีครัวเรือน การวางแผนการเงินส่วนบุคคล Household Accounting, Personal Financial Planning
Section
Research Articles

##plugins.themes.bootstrap3.article.details##

How to Cite
นิศรา จันทร์เจริญสุข, Nisara Janjaroensuk /. A Development of Household Accounting for Personal Financial Planning of Sanlomjoy Community, Suthep Sub-district, Muang District, Chiang Mai / การพัฒนาบัญชีครัวเรือนเพื่อการวางแผนการเงินส่วนบุคคลของชุมชนบ้านสันลมจอย ตำบลสุเทพ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่. Journal of Community Development Research (Humanities and Social Sciences), [S.l.], v. 6, n. 2, p. 63-74, dec. 2014. ISSN 2985-0231. Available at: <https://www.journal.nu.ac.th/JCDR/article/view/607>. Date accessed: 29 apr. 2024.