การวิเคราะห์เชิงโครงข่ายบนระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ เพื่อการขยายพื้นที่ให้บริการของหน่วยบริการการแพทย์ฉุกเฉินช่วงเวลากลางคืน กรณีศึกษาอำเภอเมือง จังหวัดจันทบุรี GIS-Based Network Analysis for the Expansion of Service Areas of Emergency Medical Service Unit during Night Time in Chanthaburi Province

##plugins.themes.bootstrap3.article.main##

Issaree Hongsiritham Thitirat Panbamrungkij

Abstract

     สถิติการใช้บริการหน่วยปฏิบัติการการแพทย์ฉุกเฉินมีจำนวนเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในช่วง 10 ปีที่ผ่านมาถึงปัจจุบัน โดยเฉพาะช่วงเวลากลางคืน ดังนั้น การวิเคราะห์พื้นที่ให้บริการหน่วยปฏิบัติการการแพทย์ฉุกเฉิน เพื่อเข้าถึงผู้ป่วยวิกฤตช่วงเวลากลางคืนได้อย่างทันท่วงทีจึงมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการช่วยเหลือชีวิตของมนุษย์ การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพื้นที่เขตการให้บริการ โดยหน่วยบริการการแพทย์ฉุกเฉินของโรงพยาบาลและมูลนิธิอาสากู้ภัยในจังหวัดจันทบุรี จากการวิเคราะห์เชิงโครงข่ายบนระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ ทำให้ได้เห็นพื้นที่ที่ได้รับบริการภายในระยะเวลา 10 นาที ภายใต้ข้อกำหนดสถาบันการแพทย์ฉุกเฉิน (สพฉ.) จากนั้นจึงวิเคราะห์หาพื้นที่ทางเลือกของการขยายหน่วยปฏิบัติการการแพทย์ฉุกเฉินแห่งใหม่ให้ครอบคลุมพื้นที่ที่อยู่นอกขอบเขตการให้บริการในปัจจุบันให้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ โดยใช้เทคนิคการวิเคราะห์หาที่ตั้งและการจัดสรร ภายใต้เส้นทางการเข้าถึงทางถนนซึ่งการวิเคราะห์ดังกล่าว มีค่าน้ำหนักของพื้นที่ทางเลือกจากจำนวนประชากรต่อครัวเรือนและจำนวนสถิติผู้ป่วยฉุกเฉินจำแนกรายตำบล ผลการศึกษา พบว่า พื้นที่ทางเลือกที่ดีที่สุดและสามารถเพิ่มพื้นที่ให้บริการมากที่สุดอยู่บริเวณตำบลบางกะจะ ครอบคลุมพื้นที่ศึกษา จำนวน 1,078 หลังคาเรือน คิดเป็นร้อยละ 37.82 ของข้อมูลที่อยู่นอกเขตพื้นที่ให้บริการทั้งหมด และหากเพิ่มหน่วยการบริการมากถึง 3 แห่ง จะครอบคลุมพื้นที่ศึกษาจำนวน 2,299 หลังคาเรือน คิดเป็นร้อยละ 89.1 ของข้อมูลที่อยู่นอกเขตบริการทั้งหมด นอกจากนี้ยังเสนอพื้นที่ทางเลือกที่เหมาะสมที่สุดในการเพิ่มพื้นที่ให้บริการของแต่ละตำบล ซึ่งทำให้ครอบคลุมพื้นที่บริการมากกว่าร้อยละ 90 โดยผลการวิเคราะห์สามารถนำไปใช้เป็นแนวทางพัฒนาระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉินและเป็นแนวทางในการขยายขอบเขตพื้นที่ให้บริการของหน่วยปฏิบัติการการแพทย์ฉุกเฉินในอนาคตเพื่อให้บริการของประชาชนได้อย่างทั่วถึงและมีประสิทธิภาพ


คำสำคัญระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉิน  พื้นที่ให้บริการ  การวิเคราะห์เชิงโครงข่าย การวิเคราะห์ที่ตั้งและการจัดสรร  จันทบุรี  ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์


     The use of emergency medical service has been significantly increasing during the last 10 years, particularly at nighttime. An analysis of the service area of the emergency medical service (EMS) in order to effectively improve timely patient access is thus essential for saving human life. The present study aims to study the service areas, which consist of hospitals and volunteer rescue services in Chanthaburi province. By using the ArcGIS-based Network Analysis, the areas which need emergency medical service can be identified within 10 minutes, which is in compliance with the regulations of the National Institute for Emergency Medicine (NIEM). In addition, the location-allocation analysis technique is employed to find alternative EMS units to expand the service to cover as many as possible areas where the service is still unavailable. The alternative service units are weighed by the number of people per household and the statistics of emergency cases in each sub-district. The results suggest that the new most optimized service unit to cover most houses should be located in Bang Ka Cha sub-district. It can cover 1,078 households outside existing service areas, which accounts for 37.82 percent of all inaccessible houses. However, the data also show that if the 3 new most optimized service units are established, they will cover more than 80 percent of all households outside the actual service areas. Moreover, we offer new optimized service units for each sub-district which can cover at approximately 90 percent of the service areas. Therefore, this study provides a method to improve the operational system of the EMS and to extend the service areas so that people will surely benefit from the effective service of the emergency medical centers.


Keywords:  Emergence Medical Service System, Service Area, Network Analysis, Location-Allocation Analysis, Chanthaburi, Geographic Information System


Keywords
Emergence Medical Service System; Service Area; Network Analysis; Location-Allocation Analysis; Chanthaburi
Section
Research Articles

##plugins.themes.bootstrap3.article.details##

How to Cite
HONGSIRITHAM, Issaree; PANBAMRUNGKIJ, Thitirat. การวิเคราะห์เชิงโครงข่ายบนระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ เพื่อการขยายพื้นที่ให้บริการของหน่วยบริการการแพทย์ฉุกเฉินช่วงเวลากลางคืน กรณีศึกษาอำเภอเมือง จังหวัดจันทบุรี. Journal of Community Development Research (Humanities and Social Sciences), [S.l.], v. 11, n. 1, p. 116-128, mar. 2018. ISSN 2985-0231. Available at: <https://www.journal.nu.ac.th/JCDR/article/view/1791>. Date accessed: 29 mar. 2024.