การสร้างมูลค่าเพิ่มของผลิตภัณฑ์จากภูมิปัญญาท้องถิ่นไทย: กรณีศึกษา ผ้าทอลายโบราณ / Creating Value Added Products from Local Wisdom: A Case Study of the Ancient Cloth

##plugins.themes.bootstrap3.article.main##

Sujinda Chemsripong Piyawan Petmee

Abstract

     ปัจจุบันนี้ ผลิตภัณฑ์จากภูมิปัญญาท้องถิ่นนับวันจะสูญหายไป เนื่องจากไม่มีผู้สืบทอด และไม่เป็นที่นิยมของคนรุ่นหลัง ทำให้ลดการผลิตลง ประกอบกับมีการเปลี่ยนแปลงในกระบวนการผลิตจากการทอมือเป็นทอด้วยเครื่องจักร ทำให้ปริมาณการผลิตผ้าทอมีมากขึ้นและเร็วขึ้น ทำให้ราคาผ้าทอที่ผลิตโดยเครื่องจักรมีราคาถูกกว่าผ้าทอมือ ผู้บริโภคส่วนใหญ่หันไปใช้ผลิตภัณฑ์ผ้าทอที่ผลิตโดยเครื่องจักรแทนส่งผลถึงการผลิตแบบดั้งเดิม ดังนั้น การพัฒนาผลิตภัณฑ์จากภูมิปัญญาท้องถิ่นให้กลับมานิยมอีกครั้ง จำเป็นต้องทำการสร้างผลิตภัณฑ์เหล่านี้ให้เกิดการยอมรับ ตระหนักถึงคุณค่าและมูลค่าของผลิตภัณฑ์มากขึ้น จึงทำให้เกิดการอนุรักษ์ผลิตภัณฑ์ที่เกิดจากภูมิปัญญาท้องถิ่นให้คงอยู่กับชุมชน และทำให้ชุมชนมีรายได้เพิ่มขึ้น วัตถุประสงค์ของการศึกษานี้ เพื่อค้นหาเอกลักษณ์และการสื่อความหมายของลวดลายผ้าทอลายโบราณ และเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มโดยการพัฒนาผลิตภัณฑ์จากผ้าทอลายโบราณสู่เชิงพาณิชย์ โดยทำการศึกษาเชิงคุณภาพโดยใช้กลุ่มประชากร กลุ่มทอผ้าบ้านภูผักไซ่ ตำบลหินฮาว อำเภอหล่มเก่า จังหวัดเพชรบูรณ์ จำนวน 25 ครัวเรือน ผลการวิจัย พบว่า เอกลักษณ์ของลวดลายผ้าไทยโบราณของกลุ่มบ้านภูผักไซ่นั้น เป็นผ้าซิ่นหัวแดงตีนก่าน มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว มีลายจำนวน 12 ลายบนผืนเดียวกัน ได้แก่ ลายนาค ลายหงษ์ ลายหมากจับ (เดี่ยว/คู่) ลายตุ้ม ลายขอ ลายหอประสาท ลายเอี่ยว ลายขาเปีย ลายเฟี่ยง (คว่ำ/หงาย) ลายคั่น ลายดอกแก้ว ลายดอกผักแว่น เรียกว่า ลายหมี่ครัว และแนวทางในการสร้างมูลค่าเพิ่มสู่เชิงพาณิชย์เน้น การสร้างคุณค่าทางด้านผลิตภัณฑ์ จาก 5 แนวทาง คือ การปรับลดจำนวนลวดลายบนผืนผ้าลง การพัฒนาลายเดียวให้เป็นลายใหม่ จนได้พัฒนาเป็น ลายดอกผักแว่น และลายหอปราสาทเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ คือ ลายภูผาไชย และลายดอกผักไซ่ และได้ทดลองนำผลิตภัณฑ์ใหม่ คือ ลายผ้าที่ได้พัฒนาจากลายโบราณเดิม พัฒนาเป็นหมอนอิง โซฟา ที่ใส่ไอแพท เป็นต้น และการสร้างโลโก้ให้กับผลิตภัณฑ์ผ้าทอเพื่อสร้างการจดจำ


     At present, products derived from local wisdom are incessantly decreasing in number. The lack of those to continue the traditions as well as the lack of the products’ appeal to younger generations has resulted in the decline in production. On top of that, the shift of the production process from manual to industrial procedure yields a greater number of textiles in a shorter period. Machine-woven textiles, then, become less expensive than handwoven ones, thus encouraging the majority of consumers to opt for the former and affecting the production of the latter. The rejuvenation of the popularity of the traditional products, therefore, needs to create acceptance and awareness of the products’ cultural and monetary values in order to bring about the preservation of the local wisdom shown in the products and the higher income of the community members. The objectives of this study are to find the uniqueness and expression of meaning of the ancient textile patterns and to create added value through commercializing textiles featuring ancient patterns. This qualitative study takes as its population 25 households of Ban Phu Phak Sai Weaving Group in Hin Hao Sub-district, Lom Kao District, Phetchabun province. The research findings reveal that the unique pattern of the ancient Thai textile produced by the members of Ban Phu Phak Sai Weavig Group is Phasin (sarong) Hua Daeng Teen Kan, which features 12 different patterns on the same fabric: Naga pattern, Hong pattern, Mak Jab pattern (single/pair), Toom pattern, Khor pattern, Hor Prasart pattern, Eaw pattern, Kha Pia pattern, Fiang pattern (down/up), Khan pattern, Dok Kaew pattern, and Dok Phak Waen or Mee Krua pattern. The guideline for commercialization focuses on 5 methods to enhance the value of the products: reduce the number of different patterns on a fabric, develop an existing pattern into a new pattern, hence turning Dok Phak Waen pattern and Hor Prasart pattern into new products called Phu Pha Chai pattern and Dok Phak Sai pattern respectively, develop the new products into cushions, sofas, iPad cases, etc., and create a logo for the textile products to render them more memorable.


Keywords
มูลค่าเพิ่ม; ผ้าทอลายโบราณ; ภูมิปัญญาท้องถิ่น; กลุ่มทอผ้าบ้านภูผักไซ่
Section
Research Articles

##plugins.themes.bootstrap3.article.details##

How to Cite
CHEMSRIPONG, Sujinda; PETMEE, Piyawan. การสร้างมูลค่าเพิ่มของผลิตภัณฑ์จากภูมิปัญญาท้องถิ่นไทย: กรณีศึกษา ผ้าทอลายโบราณ / Creating Value Added Products from Local Wisdom: A Case Study of the Ancient Cloth. Journal of Community Development Research (Humanities and Social Sciences), [S.l.], v. 10, n. 4, p. 62-85, dec. 2017. ISSN 2985-0231. Available at: <https://www.journal.nu.ac.th/JCDR/article/view/1669>. Date accessed: 15 oct. 2024.