วิธีการแก้ค่าโปรไฟล์หนึ่งมิติของปริมาณรังสีจากภาพพอร์ทัลในพื้นที่ลำรังสีแบบสมมาตรสำหรับรังสีโฟตอน 6 เมกะโวลต์ 1D Beam Profile Correction Method of Portal Image Dosimetry in Symmetric Square Field for 6 MV Photon Beams

##plugins.themes.bootstrap3.article.main##

Nipon Saiyo Sangutid Thongsawat Patsuree Cheebsumon

Abstract

        งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อหาค่าแก้โปรไฟล์แบบ 1 มิติ ของลำรังสีโฟตอนพลังงาน 6 เมกะโวลต์ ของการวัดปริมาณรังสีจากอุปกรณ์รับภาพอิเล็กทรอนิกส์ในพื้นที่ฉายแบบสมมาตร ที่มีผลทำให้การตอบสนองของรังสีตามระยะทางจากกึ่งกลางของลำรังสีที่ได้จากการวัดรังสีด้วยอุปกรณ์รับภาพอิเล็กทรอนิกส์มีค่าใกล้เคียงกับปริมาณรังสีจากการคำนวณสำหรับใช้ในอุปกรณ์รับภาพอิเล็กทรอนิกส์ ตามเกณฑ์การยอมรับค่าแกมมาร้อยละ 2 ในระยะ 2 มิลลิเมตร และร้อยละ 3 ในระยะ 3 มิลลิเมตร โดยทำการทดสอบวัดปริมาณรังสีด้วยอุปกรณ์รับภาพอิเล็กทรอนิกส์ในพื้นที่ฉายแบบสมมาตรขนาดตั้งแต่ 5x5 ถึง 25x25 ตารางเซนติเมตร ทั้งในการประยุกต์ใช้โปรไฟล์ที่ทำการแก้ค่าด้วยวิธีแบบ 1 มิติ (Corrected profile) และไม่แก้ค่า (Uncorrected profile) ให้กับอุปกรณ์รับภาพอิเล็กทรอนิกส์ ผลการทดลองพบว่า การแก้ค่าโปรไฟล์ของลำรังสีแบบหนึ่งมิติ ให้ค่าร้อยละการเพิ่มขึ้นของอัตราการผ่านค่าแกมมาในการวัดปริมาณรังสีของอุปกรณ์รับภาพอิเล็กทรอนิกส์ ตั้งแต่ -0.32 ถึง +95.47 ตามเกณฑ์การยอมรับร้อยละ 2 ในระยะ 2 มิลลิเมตร และตั้งแต่ +0.31 ถึง+46.75   ตามเกณฑ์การยอมรับร้อยละ 3 ในระยะ 3 มิลลิเมตร ตามลำดับ โดยสรุปการประยุกต์ใช้วิธีการแก้ค่าโปรไฟล์ของลำรังสีแบบหนึ่งมิติในอุปกรณ์รับภาพอิเล็กทรอนิกส์ สามารถช่วยเพิ่มความถูกต้องในการวัดปริมาณรังสีของอุปกรณ์รับภาพอิเล็กทรอนิกส์ได้


คำสำคัญ: อุปกรณ์รับภาพอิเล็กทรอนิกส์ การแก้ค่าโปรไฟล์ของลำรังสีแบบหนึ่งมิติ ปริมาณรังสีของภาพพอร์ทัล


        The aim of this study was to determine the one dimensional profile correction values of EPID dosimetry for various symmetric field sizes in 6 MV photon beam when considered to gamma criteria of 2%, 2 mm, and 3%, 3mm respectively.  Several symmetry field sizes, range 5x5 to 25x25 cm2, were applied to 1D profile correction in EPID and measured, including uncorrected profile data. The results showed that the percent improving after applied profile correction was -0.32  to +95.47 in gamma criteria 2%, 2 mm, and +0.31 to +46.75 ingamma criteria 3%, 3 mm, respectively. In conclusion, EPID portal dose after applied to 1D profile correction would assist to improve the accuracy of portal dosimetry. 


Keywords: Electronic portal imaging device, 1D beam profile correction, Portal imagedosimetry

References

Bailey, D. W., Kumaraswamy, L., Bakhtiari, M., & Podgorsak, M. B. (2013). A two-dimensional matrix correction for off-axis portal dose prediction errors. Medical physics, 40(5), 051704.

Bailey, D. W., Kumaraswamy, L., & Podgorsak, M. B. (2009). An effective correction algorithm for off-axis portal dosimetry errors. Medical physics, 36(9), 4089-4094.

Greer, P. B. (2005). Correction of pixel sensitivity variation and off-axis response for amorphous silicon EPID dosimetry. Medical physics, 32(12), 3558-3568.

Hobson, M. A., & Davis, S. D. (2015). Comparison between an in-house 1D profile correction method and a 2D correction provided in Varian’s PDPC Package for improving the accuracy of portal dosimetry images. Journal of Applied Clinical Medical Physics,16(2).

Van Esch, A., Huyskens, D. P., Hirschi, L., & Baltes, C. (2013). Optimized Varian aSi portal dosimetry: development of datasets for collective use. Journal of Applied Clinical Medical Physics, 14(6).

Keywords
อุปกรณ์รับภาพอิเล็กทรอนิกส์ การแก้ค่าโปรไฟล์ของลำรังสีแบบหนึ่งมิติ ปริมาณรังสีของภาพพอร์ทัล Electronic portal imaging device, 1D beam profile correction, Portal imagedosimetry
Section
Research Articles

##plugins.themes.bootstrap3.article.details##

How to Cite
SAIYO, Nipon; THONGSAWAT, Sangutid; CHEEBSUMON, Patsuree. วิธีการแก้ค่าโปรไฟล์หนึ่งมิติของปริมาณรังสีจากภาพพอร์ทัลในพื้นที่ลำรังสีแบบสมมาตรสำหรับรังสีโฟตอน 6 เมกะโวลต์. Naresuan University Journal: Science and Technology (NUJST), [S.l.], v. 24, n. 2, p. 72-79, may 2016. ISSN 2539-553X. Available at: <https://www.journal.nu.ac.th/NUJST/article/view/1324>. Date accessed: 26 apr. 2024.