อิทธิพลของฮอร์โมนปั้นเม็ดสูตรผสมที่มีต่อการเพิ่มผลผลิตพริกขี้หนู

##plugins.themes.bootstrap3.article.main##

กมลชนก ห่วงมี วิภาวรรณ สายคำยศ ภูมิศักดิ์ อินทนนท์

Abstract

       การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอิทธิพลของฮอร์โมนปั้นเม็ดสูตรผสมที่มีต่อการเพิ่มผลผลิตพริกขี้หนูและเป็นแนวทาง ในการ ลด ละ เลิก ในการใช้ปุ๋ยเคมีให้น้อยลง ทำการทดลองในกระถางเบอร์12 วางแผนการทดลองแบบ CRD จำนวน 5 กรรมวิธีๆ ละ 3 ซ้ำปลูกพริกแบบเพาะเมล็ดกระถางละ 1 ต้น ประกอบด้วย T0 ไม่ใส่ปุ๋ย (Control), T1 ใส่ปุ๋ยเคมี(15‐15‐15), T2 ใส่ฮอร์โมน ปั้นเม็ดสูตรผสม-1(Ho‐1), T3 ใส่ฮอร์โมนปั้นเม็ดสูตรผสม-2(Ho‐2) และ T4 ใส่ฮอร์โมนปั้นเม็ดสูตรผสม-3(Ho‐3) ใส่ปุ๋ยทุก ชนิดในอัตรา 300 กรัม/กระถางโดยใช้พริกขี้หนูพันธุ์พิจิตร เป็นพืชทดสอบที่คณะเกษตรศาสตร์ฯ มหาวิทยาลัยนเรศวร ระหว่าง ธันวาคม 2555 ถึงพฤษภาคม 2556 ทำการบันทึกข้อมูลได้แก่การรวบรวมสภาพแวดล้อมบริเวณสถานที่ทดลอง วิเคราะห์คุณสมบัติ ของดินก่อนและหลังการทดลอง วิเคราะห์ธาตุอาหารหลัก N‐P‐K ในฮอร์โมนปั้นเม็ดสูตรผสม บันทึกการเจริญเติบโต ผลผลิต และองค์ประกอบผลผลิตวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติโดยANOVA เปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยโดยDMRT ที่ระดับความเชื่อมั่น 95 %

       ผลการศึกษาการเจริญเติบโตทางด้านความสูงและขนาดลำต้นพบว่ากรรมวิธี T2(Ho‐1) แสดงผลออกมาสูงสุด ส่วนจำนวนกิ่งและจำนวนใบแสดงผลสูงสุดในกรรมวิธี T3(Ho‐2) ผลผลิตและองค์ประกอบผลผลิตในทุกรายการที่บันทึก เช่น จำนวนดอก/ต้น จำนวนผลสดรวม/ต้น จำนวนผลสุกรวม/ต้น น้ำหนักผลสด/ผล น้ำหนักผลสดรวม/ต้น น้ำหนักผลแห้ง/ผล น้ำหนักผลแห้งรวม/ต้น พบว่ากรรมวิธีT3 (Ho‐2) แสดงผลออกมาสูงสุดแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญยิ่งกับกรรมวิธีอื่นๆ โดยพบว่า กลุ่มของฮอร์โมนปั้นเม็ดสูตรผสมทั้ง 3 สูตรให้ผลผลิตและองค์ประกอบผลผลิตสูงกว่าปุ๋ยเคมี(T1) และสูงกว่ากรรมวิธีไม่ใส่ปุ๋ย (T0) ทั้งนี้เพราะ T3(Ho‐2) มีองค์ประกอบแบบสมดุลมีธาตุอาหารครบทั้งธาตุอาหารหลัก ธาตุอาหารรอง และธาตุอาหารเสริมใน ระดับสูง มีสารสร้างภูมิคุ้มกันให้กับพืช สารปรับสภาพดิน และจุลินทรีย์ที่เป็นปะโยชน์ (EM) จำนวนมาก จึงสรุปได้ว่า T3(Ho‐2) มีความเหมาะสมมากที่สุดและสามารถใช้ทดแทนปุ๋ยเคมีได้อย่างมีประสิทธิภาพ

 

      This research is aimsed to study the effects of chemical and granular organic fertilizer with multi hormone mixed formula for improvement of yields of capsicum. It is also the alternative ways for farmer to reduce the chemical fertilizers for growing capsicum. The experiment was conducted in the pots sized No.12(10Kg soil). The experiment design was Completely Randomized Design (CRD) with 4 types of fertilizers and 3 replications in the trial treatments. The treatments consisted of T0 (Control), T1 (chemical fertilizers15‐15‐15), T2 (Ho‐1), T3(Ho‐2) and T4(Ho‐3) totally 15 pots plant. According to the treatments added the fertilizer at the rate of 300g per pot. Capsicum Pichit variety was planted for the test plant. Data collection were collected micro climate at the experiment site at Faculty of Agriculture, Natural Resources and Environment, Naresuan University. soil analysis of some properties was done before and after the experiment, analysis of macronutrients N P K of the chemical and granular organic fertilizer with multi hormone mixed formula used in the trial. Plant growth information were recorded in every 15 days, in cludine of the yields and yield components in every 5 days during December 2012 to May 2013. The data statistical analysis by Analysis of Variance (ANOVA) comparison of the average means by Duncan’s new multiple range test (DMRT) at level of confidence 95 %

      The results showed that the growth of capsicum in the height and trunk size was found highest values in T2(Ho‐1). The number of branches and number of leaves was found the highest values in T3(Ho‐2). The yield components such as the number of flowers, the total number of fresh fruits per plant, total number of ripe fruits per plant, average fresh weight of ripe fruit, total weight of ripe fruit per plant, average dry weight per fruit and the total dry weight per plant etc. were found the highest values in T3(Ho‐2). More data analysed were found that all the chemical and granular organic fertilizer with multi hormone mixed formula group (T2, T3 and T4) showed higher values in yields and yield components than that in the chemical treatment (T1) and the control (To). The performance of T3(Ho‐2) in the highest yields is due to the Ho‐2 contained of higher levels of major nutrients with in balance and also concludes of the secondary nutrients and micronutrients, plant tolerances substance, soil amendment, effectives microorganism that is beneficial to the plant growths and yields than the chemical fertilizer. Finally, It can be concluded that T3(Ho‐2) is the most effective way for farmer to replace the chemical fertilizer for capsicum production.


Keywords
พริก; ฮอร์โมนปั้นเม็ดสูตรผสม; การจัดการปุ๋ย; capsicum, chemical and granular organic fertilizer with multi hormones mixed formula, fertilizer management
Section
Humanities and Social Sciences

##plugins.themes.bootstrap3.article.details##

How to Cite
ห่วงมี, กมลชนก; สายคำยศ, วิภาวรรณ; อินทนนท์, ภูมิศักดิ์. อิทธิพลของฮอร์โมนปั้นเม็ดสูตรผสมที่มีต่อการเพิ่มผลผลิตพริกขี้หนู. Journal of Community Development Research (Humanities and Social Sciences), [S.l.], v. 5, n. 2, p. 125-139, nov. 2013. ISSN 2985-0231. Available at: <https://www.journal.nu.ac.th/JCDR/article/view/415>. Date accessed: 27 apr. 2024.