ประสิทธิผลของโปรแกรมป้องกันพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศของเด็กวัยรุ่นชาย Effectiveness of Risky Sexual Behavior Prevention Program among Adolescent Boys

##plugins.themes.bootstrap3.article.main##

Worawan Tipwareerom, Sureeporn Suwanna -osod and Taweesak Khumlue / รวรรวณ์ ทิพย์วารีรมย์, สุรีภรณ์ สุวรรณโอสถ และทวีศักดิ์ คำลือ

Abstract

อายุเฉลี่ยของการมีเพศสัมพันธ์ของวัยรุ่นไทยลดลงทุกปี ส่งผลต่อปัญหาสาธารณสุขของประเทศ เช่น การติดเชื้อโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ และการตั้งครรภ์วัยรุ่น การศึกษานี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลองเพื่อทดสอบประสิทธิผลของโปรแกรมป้องกันพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศในเด็กวัยรุ่นชาย โดยใช้กรอบแนวคิดของ Information-Motivation-Behavioral skills Model (IMB model) ในนักเรียนชายชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 และบิดามารดา/ผู้ปกครอง กลุ่มทดลอง 49 คู่ และกลุ่มควบคุม 49 คู่ ในโรงเรียนมัธยมศึกษา 2 แห่ง จังหวัดพิษณุโลก โดยวิธีสุ่มอย่างง่าย ประเมินผล 3 ครั้ง คือ หลังการทดลอง, 1 เดือน และ 2 เดือน หลังการทดลอง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา Repeated measure one way ANOVA และ Independent t-test


ผลการทดลอง ระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมของเด็กชาย พบว่า ความรู้เรื่องโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ การดื่มสุรา และพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.05) และลดอิทธิพลของเพื่อนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.05) และทักษะการใช้ถุงยางอนามัยเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.001) กลุ่มบิดามารดา/ผู้ปกครองที่เข้าร่วมโปรแกรม พบว่าหลังทดลอง
ความสะดวกใจในการพูดคุยเรื่องเพศกับบุตรชายของกลุ่มทดลองเพิ่มขึ้นมากกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.05)


โปรแกรมป้องกันพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศของเด็กวัยรุ่นชาย สามารถพัฒนาความรู้ในเรื่องโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ทักษะในการใช้ถุงยางอนามัยในกลุ่มเด็กชาย และเพิ่มความสะดวกใจในการพูดคุยสื่อสารเรื่องเพศกับบุตรชายในกลุ่มบิดามารดา/ผู้ปกครองได้ บุคลากรด้านสาธารณสุขสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการจัดกิจกรรมเพื่อป้องกันพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศสำหรับเด็กวัยรุ่นชายในชุมชนต่อไป


 


คำสำคัญ: การป้องกันพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศ  เด็กวัยรุ่นชาย  IMB Model โปรแกรมป้องกัน


 


The average age of sexual intercourse among adolescences was decreased every year. Its effected health problems such as Sexually Transmitted Infections (STIs) rate and teenage pregnancy. This was a quasi-experimental study and the objective of this study was to evaluate the effectiveness of a risky sexual behavior (RSB) prevention program among adolescent boys immediately, after the program and at one and two month. The Information-Motivation-Behavioral skills (IMB) model program was carried out among 49 boys and 49 parents/guardians in the invention group and 49 boys and 49 parents/guardians in the control group in 2 high school, Phitsanulok province by using simple random sampling. Repeated measured ANOVA and Independent t-teat were employed to analyze the program’s effectiveness.


After the program while comparing mean score between the intervention group and the control group of boys, the mean score of STIs’ s knowledge, alcohol drinking and risky sexual behaviours increased significantly (p<0.05). The mean score of peer pressure decreased significantly (p<0.05) and condom used skills increased significantly (p<0.001). The parents/guardians who completed the prevention program improved their mean scores of felt more comfort to talk about sex with their son increased significantly (p<0.05) while comparing between the intervention group and the control group.


Risky sexual behaviour prevention program had an overall effect on STIs‘s knowledge and condom used skills among adolescences. Parents/guardians felt comfort to talk about sex with their son. These results provided evidence for applicability of the effectiveness of a risky sexual behavior prevention program among boys for other health services.


 


Keywords: Risky sexual behavior prevention,  Adolescent boys, IMB model, Prevention program


Keywords
การป้องกันพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศ เด็กวัยรุ่นชาย IMB Model โปรแกรมป้องกัน Risky sexual behavior prevention, Adolescent boys, IMB model, Prevention program
Section
Health and Sciences

##plugins.themes.bootstrap3.article.details##

How to Cite
-OSOD AND TAWEESAK KHUMLUE / รวรรวณ์ ทิพย์วารีรมย์, สุรีภรณ์ สุวรรณโอสถ และทวีศักดิ์ คำลือ, Worawan Tipwareerom, Sureeporn Suwanna. ประสิทธิผลของโปรแกรมป้องกันพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศของเด็กวัยรุ่นชาย. Naresuan University Journal: Science and Technology (NUJST), [S.l.], v. 21, n. 3, p. 1-14, sep. 2014. ISSN 2539-553X. Available at: <https://www.journal.nu.ac.th/NUJST/article/view/532>. Date accessed: 27 apr. 2024.