การศึกษาความต้องการทางเทคโนโลยีด้านวิศวกรรมของผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ไทย ภายใต้ข้อตกลงเขตการค้าเสรีอาเซียน The Study of Engineering Technology Needs for Thai Auto-part Manufacturers under ASEAN Free Trade Area Agreement

##plugins.themes.bootstrap3.article.main##

Pattrawet Tharawetcharak Choosak Pornsing Thongtang Thonglim Noppadol Amdee

Abstract

     การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความต้องการทางเทคโนโลยีด้านวิศวกรรมสำหรับผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ไทยภายใต้ข้อตกลงเขตการค้าเสรีอาเซียน (ASEAN Free Trade Area: AFTA) โดยการสำรวจกลุ่มผู้ประกอบการผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ขนาดกลางและขนาดย่อมที่อยู่ในลำดับที่ 2 และลำดับที่ 3 ของห่วงโซ่อุตสาหกรรมชิ้นส่วนยานยนต์ไทย และเป็นกลุ่มผู้ผลิตในสามองค์ประกอบได้แก่ กลุ่มระบบห้ามล้อและกันสะเทือน กลุ่มการตกแต่งภายใน และกลุ่มการตกแต่งภายนอก รวมทั้งสิ้น 186 แห่ง การวิจัยครั้งนี้เริ่มจากศึกษาสภาวะการแข่งขันในปัจจุบันของอุตสาหกรรมชิ้นส่วนยานยนต์ไทย และนำองค์ความรู้มาสร้างแบบสอบถามเพื่อทำการวิจัยเชิงสำรวจในการเก็บรวบรวมข้อมูลเชิงลึก และแบบสอบถามถูกประเมินโดยผู้เชี่ยวชาญทางด้านอุตสาหกรรมชิ้นส่วนยานยนต์ ผลการวิจัยพบว่า สถานประกอบการที่ให้การตอบแบบสอบถามกลับมาทั้งหมด 69 แห่ง ซึ่งให้ค่าความเชื่อมั่นในระดับร้อยละ 90 และพบว่าตำแหน่งการปฏิบัติงานของผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่อยู่ในระดับผู้จัดการ ผู้จัดการทั่วไปและกรรมการผู้จัดการ รวมกันถึงร้อยละ 72.5 โดยส่วนใหญ่แล้วสถานประกอบการประสบปัญหาการขาดแคลนแรงงานฝีมือมากถึงร้อยละ 62.3 และสถานประกอบการส่วนใหญ่ร้อยละ 65.2 ไม่มีการเสริมสร้างตราผลิตภัณฑ์เป็นของตนเอง นอกจากนั้นยังพบว่า กลุ่มระบบห้ามล้อและกันสะเทือน และกลุ่มตกแต่งภายใน มีความต้องการทางเทคโนโลยีด้านวิศวกรรมที่เร่งด่วนอย่างมีนัยสำคัญ และกลุ่มตกแต่งภายนอกมีความต้องการทางด้านวิศวกรรมที่ไม่เร่งด่วนอย่างมีนัยสำคัญ โดยลำดับความต้องการทางเทคโนโลยีด้านวิศวกรรมสามารถแบ่งออกเป็น 5 ด้าน ได้แก่ วิศวกรรมแม่พิมพ์ร้อยละ 56.5 วิศวกรรมดิจิทัลร้อยละ 53.6 การขึ้นรูปเหล็กกล้าความเค้นสูงร้อยละ 34.8 การขึ้นรูปชิ้นส่วนอลูมิเนียมร้อนละ 30.4 และพลาสติกวิศวกรรมร้อยละ 27.5 นอกจากนั้น ผลการวิจัยครั้งนี้ยังได้เสนอแนะการบูรณาการความร่วมมือจากภาครัฐ ภาคการศึกษา และภาคเอกชน เพื่อจัดลำดับในการให้ความช่วยเหลือแก่ผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ไทยต่อไป


คำสำคัญ:  ความต้องการทางเทคโนโลยีด้านวิศวกรรม ผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ไทย ผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม เขตการค้าเสรีอาเซียน


     This research aimed to study the engineering technology needs for Thai auto-part manufacturers under ASEAN Free Trade Area (AFTA) agreement.  We surveyed the small and medium enterprises (SMEs) in tier 2 and tier 3 in Thai auto-part industrial chain which fell into 3 main groups (break/suspension system, internal decoration, external decoration), 186 companies.  Then, we established a questionnaire based on what we found in the first step.  The questionnaire was evaluated by experts in Thai auto-part industry.  The results of the study showed that questionnaire was sent back by 69 companies. The majority of manufacturers do not have their own brands, up to 65.2 %, and do lacking of skilled workforce, up to 62.3 %.  Moreover, we found that the group of break/suspension system and internal decoration are needed to improve hastily; whilst the external decoration group is not.  In addition, the researcher found that the 5 core technologies that Thai auto-part manufactures should recognize can be arranged as follows: mold/die engineering 56.3 %, digital engineering 53.6 %, high tensile strength steel forming 34.8 %, aluminum parts forming 30.4 %, and engineering plastics 27.5 %.  This research also recommended the integrated working among government, academic, and private sectors in order to accomplish the mission.


Keywords: Engineering Technology Demands, Thai Auto-part Manufactures, SMEs, ASEAN Free Trade Area

References

Cluster and Program Management Office, National Science and Technology Development Agency, and Thailand Automotive Institute. (2010). Technology roadmap for automotive industry development. N.P.: n.p.

Department of Foreign Trade, Ministry of Commerce. (2012). Rights and trading benefits under The ASEAN Free Trade Agreement manual. N.P.: n.p.

Gaiyawan, Y. (2007). Industrial Management Research. Bangkok: Bangkok Teaching Center.

Grant, R. M. (1991). Porter's ‘competitive advantage of nations’: an assessment. Strategic management journal, 12(7), 535-548.

Manuel, J., & Debrand, P. (2013). The Automobile Industry in Latin America: Assessment of the conditions for sustainable development. Retrieved from http://daigakuin.soka.ac.jp/assets/files/pdf/major/kiyou/24-keizai-05.pdf.

Niammanee, P., & Uttaterawrong, W. (2013). Analysis of factors that affect to supply chain risk in automotive industry. N.P.: n.p.

Policy Research, National Science and Technology Development Agency. (2013). Overview of Thai mold/die industry. N.P.: n.p.

Thailand Automotive Institute, Ministry of Industry Thailand. (2013). Thai automotive industry master plan 2013 - 2016. N.P.: n.p.

Thailand Automotive Institute, Ministry of Industry Thailand. (2015). The situation synopsis of Thai SMEs in auto parts industry. Retrieved from http://www.sme.go.th/th/images/data/SR/download/2015/

Thailand Development Research Institute, TDRI. (2014). Competability improvement project of Thai international trading policy. N.P.: n.p.

Withayathamthat, U. (2007). Thailand and Free Trade Area Agreement. Retrieved from http://www.thaifta. com/thaifta/portals/0/file/pre_tuapr47

Yamane, T. (1967). Statistics, An Introductory Analysis (2nd ed.). New York: Harper and Row.

Keywords
ความต้องการทางเทคโนโลยีด้านวิศวกรรม; ผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ไทย; ผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม; เขตการค้าเสรีอาเซียน; Engineering Technology Demands; Thai Auto-part Manufactures; SMEs; ASEAN Free Trade Area
Section
Research Articles

##plugins.themes.bootstrap3.article.details##

How to Cite
THARAWETCHARAK, Pattrawet et al. การศึกษาความต้องการทางเทคโนโลยีด้านวิศวกรรมของผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ไทย ภายใต้ข้อตกลงเขตการค้าเสรีอาเซียน. Naresuan University Journal: Science and Technology (NUJST), [S.l.], v. 25, n. 3, p. 136-145, july 2017. ISSN 2539-553X. Available at: <https://www.journal.nu.ac.th/NUJST/article/view/1902>. Date accessed: 26 apr. 2024.