สื่อการสอนบนเว็บ เรื่อง เทคนิคการสร้างภาพทางด้านเวชศาสตร์นิวเคลียร์ Web-Based Instruction of Image Reconstruction Techniques in Nuclear Medicine

##plugins.themes.bootstrap3.article.main##

Patsuree Cheebsumon Yudthaphon Vichianin ์Natee Ina

Abstract

     เทคโนโลยีด้านการศึกษามีบทบาทที่ช่วยให้การจัดการสอนเป็นไปตามสิ่งที่มุ่งหวังอย่างมีประสิทธิภาพ การบรรยายเนื้อหาของการ
สร้างภาพทางด้านเวชศาสตร์นิวเคลียร์เป็นหัวข้อที่ยากต่อการทำความเข้าใจของนิสิตสาขาวิชารังสีเทคนิค งานวิจัยนี้ใช้กระบวนการวิจัยและพัฒนาที่สัมพันธ์กับเป้าหมายของการเรียนรู้ ดังนั้น งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาสื่อการสอนบนเว็บ เรื่อง เทคนิคการสร้างภาพทางด้านเวชศาสตร์นิวเคลียร์ 2) ประเมินผลการพัฒนาสื่อการสอนโดยผู้เชี่ยวชาญ กลุ่มทดลองใช้ และ 3) ทดสอบความรู้เกี่ยวกับการสร้างภาพทางด้านเวชศาสตร์นิวเคลียร์ และศึกษาความพึงพอใจต่อสื่อการสอนของกลุ่มตัวอย่าง เมื่อเรียบเรียงเนื้อหาเป็นที่เรียบร้อย ทำการประเมินความถูกต้องของเนื้อหาโดยผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 3 คน จากนั้นดำเนินการสร้างสื่อการสอนบนเว็บและนำไปทดลองกับกลุ่มทดลองใช้ จำนวน 20 คน ปรับปรุงสื่อการสอนตามข้อเสนอแนะ จากนั้นประเมินการออกแบบโดยผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 3 คน นอกจากนี้ เปรียบเทียบค่าคะแนนทดสอบก่อนและหลังการเรียนรู้จากสื่อ และประเมินความพึงพอใจต่อสื่อการสอนโดยกลุ่มตัวอย่างแบบสุ่ม จำนวน 45 คน ผลการศึกษา พบว่า สื่อการสอนที่พัฒนาขึ้นมีเนื้อหาเกี่ยวกับหลักการสร้างภาพของแต่ละอัลกอรึทึมที่สนใจทางด้านเวชศาสตร์นิวเคลียร์ มีการแสดงภาพที่เกิดขึ้นจากการเลือกใช้พารามิเตอร์ที่แตกต่างกัน สามารถนำเสนอเนื้อหาได้ทั้งบนเครื่องคอมพิวเตอร์ และสมาร์ทโฟน สามารถปรับขนาดหน้าจอที่ใช้แบบอัตโนมัติอย่างเหมาะสม สำหรับผลประเมินการพัฒนาสื่อการสอน พบว่า ค่าเฉลี่ยความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหาทั้งฉบับโดยผู้เชี่ยวชาญ เท่ากับ 0.89 และค่าเฉลี่ยความพึงพอใจต่อสื่อการสอนของกลุ่มทดลองใช้ที่มีค่ามากกว่า 3.93 นอกจากนี้ ค่าเฉลี่ยโดยรวมของการประเมินด้านการออกแบบและนำเสนอ เท่ากับ 3.90 ± 0.77 และด้านการเข้าถึงและให้ข้อมูลมีค่าเฉลี่ยโดยรวม เท่ากับ 4.05 ± 0.80 สำหรับค่าเฉลี่ยคะแนนทดสอบหลังการเรียนรู้จากสื่อของกลุ่มตัวอย่าง มีค่าที่สูงกว่าค่าเฉลี่ยก่อนการเรียนรู้ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.001) และผลการประเมินความพึงพอใจต่อสื่อการสอนที่มีค่าเฉลี่ยโดยรวมด้านการนำเสนอ เท่ากับ 3.74 ± 0.73 และค่าเฉลี่ยโดยรวมด้านเนื้อหาและการใช้งาน เท่ากับ 3.67 ± 0.79 ที่อยู่ในระดับพึงพอใจมาก โดยสรุป กลุ่มตัวอย่างมีความพึงพอใจต่อสื่อการสอนในระดับดี และมีค่าเฉลี่ยหลังการเรียนรู้ที่สูงกว่าค่าเฉลี่ยก่อนการเรียนรู้ ทั้งนี้ สื่อการสอนบนเว็บนี้สามารถช่วยให้เกิดความเข้าใจทฤษฎีง่ายขึ้น และนำมาใช้เป็นสื่อการเรียนรู้หนึ่งที่ทำให้เกิดการเรียนรู้ด้วยตนเอง


คำสำคัญ: สื่อการสอนบนเว็บ  เทคนิคการสร้างภาพ  เวชศาสตร์นิวเคลียร์


     Educational technology is helping achieve a major goal of the course. In nuclear medicine, learning in theoretical explanation of image reconstruction is hard for radiological technology students. Design and development research was achieved a goal related to learning. The aims of this study were 1) to develop the web-based instruction of image reconstruction techniques in nuclear medicine 2) to evaluate the effectiveness of web-based instruction using experts and try-out, and 3) testing knowledge of image reconstruction techniques and user’s opinion on this instruction were assessed. Three experts were evaluated after contents were completed. Twenty of try-out group were assessed before 3 design experts were performed, respectively. Learning scores before and after were compared in 45 subjects, and also user’s opinions were evaluated. The results showed that web-based instruction consist of foundational interested algorithms in nuclear medicine, and images were reconstructed using various parameters. The instruction could see and automatically control the screen of the devices over desktop computer and smartphone. An average of content validity for scale was 0.89. An average satisfaction score of try-out was more than 3.93. In addition, average satisfaction score of design and presentation was 3.90 ± 0.77, and satisfaction score of access and information was 4.05 ± 0.80, respectively. Higher values of learning scores after were found (p < 0.001). All user satisfaction scores had a good level. An average user satisfaction score of presentation was 3.74 ± 0.73, and user satisfaction score of content and application was 3.67 ± 0.79, respectively. In conclusion, there were a good level of user satisfaction, and higher value of learning scores after. Web-based instruction help to better understand the foundational theory. This could be used to provide learning material, and to enable self-learning.


Keywords: Web-Based Instruction, Image Reconstruction Technique, Nuclear Medicine

References

Bruyant, P. P. (2002). Analytic and Iterative Reconstruction Algorithms in SPECT. The Journal of Nuclear Medicine, 43(10), 1343-1358.

Chailapo, T., Poksupphiboon, A., & Sopa, P. (2016). Online Learning Media Development: Design for Interactive Media Production. The Journal of Social Communication Innovation, 4(2), 134-143.

Office of the National Education Commission. (2010). National Education Act, B.E. 2542 (Issue 2) B.E. 2545 and (Issue 3) B.E. 2553. Bangkok: Office of the National Education Commission.

Ranade, M. D. (2006). Development of CAI Presentations for Science Teaching and Overview of Research Findings. International Journal of Science and Mathematics Education, 4(4), 763-789.

Vandenberghe, S., D’Asseler, Y., Van de Walle, R., Kauppinen, T., Koole, M., Bouwens, L., Van Laere, K., Lemahieu, I., & Dierckx, R. A. (2001). Iterative Reconstruction Algorithms in Nuclear Medicine. Computerized Medical Imaging and Graphics, 25(2), 105-111.

Section
Research Articles

##plugins.themes.bootstrap3.article.details##

How to Cite
CHEEBSUMON, Patsuree; VICHIANIN, Yudthaphon; INA, ์Natee. สื่อการสอนบนเว็บ เรื่อง เทคนิคการสร้างภาพทางด้านเวชศาสตร์นิวเคลียร์. Journal of Community Development Research (Humanities and Social Sciences), [S.l.], v. 11, n. 4, p. 86-91, dec. 2018. ISSN 2985-0231. Available at: <https://www.journal.nu.ac.th/JCDR/article/view/Vol-11-No-4-2018-86-91>. Date accessed: 26 apr. 2024. doi: https://doi.org/10.14456/jcdr-hs.2018.24.