A Non-Alcoholic Religious Ceremony: A Case Study of Grand Litter Parade in Lamphun Province ‘The Only One in the World’ งานบุญไร้แอลกอฮอล์ กรณีศึกษางานประเพณีแค่หลวง จังหวัดลำพูนหนึ่งเดียวในโลก

##plugins.themes.bootstrap3.article.main##

Tipat Sottiwan Kittipong Klinjan Thammasorn Morawan Wiwanda Siricheewanan

Abstract

     การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนการขับเคลื่อนโครงการแค่หลวงปลอดเหล้า อำเภอบ้านโฮ่ง จังหวัดลำพูน วิธีการวิจัยดำเนินการตามแนวทางการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยใช้แบบจำลองการประเมิน CIPP Model เป็นกรอบการศึกษา ผู้ให้ข้อมูลหลัก ได้แก่ ผู้ริเริ่มโครงการแค่หลวงปลอดเหล้า 3 คน ผู้แทนเครือข่ายเด็กและเยาวชนอำเภอบ้านโฮ่ง 10 คน คนต้นแบบเลิกเหล้าตลอดชีวิต 5 คน ผู้แทนเครือข่ายองค์กรงดเหล้า อำเภอบ้านโฮ่ง ผู้แทนศูนย์ประสานความร่วมมือเพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาเหล้า บุหรี่ และอุบัติเหตุ จังหวัดลำพูน 2 คน ประชาชนที่เข้าร่วมโครงการแค่หลวงปลอดเหล้า 5 ตำบล 56 คน ทำการรวบรวมข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์เจาะลึกกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ควบคู่ไปกับการจัดสนทนากลุ่ม และใช้การวิเคราะห์ข้อมูลแบบสร้างข้อสรุป
     ผลการศึกษา พบว่า อำเภอบ้านโฮ่งได้เข้าร่วมเป็นอำเภอต้นแบบรณรงค์งดเหล้า จึงได้นำประเพณีแห่แค่หลวงซึ่งเป็นประเพณีสำคัญในเทศกาลลอยกระทงมาเป็นต้นแบบงานบุญประเพณีที่ปลอดเหล้า โดยอาศัยการมีส่วนร่วมของคนในชุมชน การได้รับการสนับสนุนด้านงบประมาณ มาตรการและกิจกรรมรณรงค์ การประชาสัมพันธ์เป็นปัจจัยการขับเคลื่อน ซึ่งกระบวนการขับเคลื่อนโครงการแค่หลวงปลอดเหล้า อำเภอบ้านโฮ่ง จังหวัดลำพูน ประกอบด้วย 1) การรับทราบปัญหาและมีความตระหนักร่วมในผลของการดื่ม 2) การทำให้เกิดการมีส่วนร่วมซึ่งจะทำให้เกิดเครือข่ายการรณรงค์งดเหล้า 3) การดำเนินกิจกรรมในการณรงค์งดเหล้าของอำเภอบ้านโฮ่ง 4) การเกิดสำนึกร่วมของคนในชุมชนในการธำรงไว้ซึ่งประเพณีเก่าแก่ที่เป็นหนึ่งเดียวในโลก ทั้งนี้ผลของการจัดโครงการแค่หลวงปลอดเหล้าในระดับพื้นที่ทำให้ประชาชนได้รับความรู้เกี่ยวกับโทษของเหล้าทั้งในด้านสุขภาพและความสิ้นเปลือง ความรู้ด้านกฎหมายเกี่ยวกับเหล้าและสุรา มีผู้ที่ต้องการเลิกเหล้าเพิ่มขึ้น เกิดแนวคิดการจัดงานบุญประเพณีโดยไม่รับสปอนเซอร์ที่เป็นธุรกิจแอลกอฮอล์ สร้างแบบอย่างในการจัดงานบุญประเพณีปลอดเหล้าให้แก่พื้นที่อื่น การนำผลการวิจัยไปใช้ ควรนำกระบวนการขับเคลื่อนโครงการแค่หลวงปลอดเหล้าไปใช้กับพื้นที่ที่มีงานบุญประเพณีที่สำคัญของประเทศ โดยพิจารณาถึง 1) การเลือกพื้นที่ขยายผลที่มีหน่วยงานราชการ/องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่ให้การสนับสนุนในการรณรงค์งดเหล้าในงานบุญ 2) ด้านการจัดกิจกรรมปลอดเหล้าที่หลากหลายแก่เด็กและเยาวชน 3) การบูรณาการการทำงานหน่วยงานที่มีการทำงานรณรงค์ในกลุ่มสาระเดียวกัน เช่น การรณรงค์งดสูบบุหรี่หรือสารเสพติด การบำบัดผู้ติดสุรา เป็นต้น


คำสำคัญ: แอลกอฮอล์ ประเพณี แค่หลวง จังหวัดลำพูน


     The purpose of this research was to study the driving process of the non-alcoholic tradition of the Grand Litter Parade Festival in Ban Hong District, Lampoon Province. The research employed qualitative methods with CIPP Model as a study frame. The key informants were three launchers of Non-alcohol of Kae Luang Project, 10 representatives of children and youth, five prototypes of life-time alcohol drinking termination, two representatives of Ban Hong abstaining from alcohol network–Lampoon Cooperation for Liquor, Cigarette and Accident Protection Center, and 56 of people in eight Sub-Districts participating in Non-alcohol Kae Luang Project. The in-depth interviews and focus group discussions were data collection methods. The study found that the driving process of the event included: 1) Acknowledgment of the problem recognition about drinking and community awareness for the effect of drinking. 2) Community participation in drinking solution leads to the creation Ban Hong stop drink network. 3) Community Operation and Evaluation of Ban Hong District Office in the Campaign to Be against Drinking Alcohol. 4) The realization of the people in the community about maintaining the old religious tradition which is the only one in the world. The result information from the study will be applicable to informing the driving process of non-alcoholic tradition festivals or events to other areas by: 1) Identifying areas with supporting non-alcoholic tradition festivals or events from government agencies; 2) Choosing a variety of non-alcoholic activities for children and youth; and 3) Integrating the information into the holding of similar activities such as stop smoking campaigns and alcoholism treatment programs.


Keywords: Alcoholic, Ceremony, Grand Litter Parade Festival, Lampoon Province

References

Academic Network for Community Happiness Observation and Research, Assumption University. (2011). Evaluation of the Campaign to Stop Drinking Alcohol in 2010 Buddhist Lent: Case Study of People Aged 15 Years and Over in Bangkok Metropolitan Area and in 20 Provinces Nationwide. Bangkok: Academic Network For Community Happiness Observation and Research, Assumption University.

Information and Communication Group, Office of Lamphun. (n.d.). History of Lamphun. Retrieved from http://www.lamphun.go.th/officialwebsite/2013/?page_id=276

Office Lamphun Cultural, Ministry of Culture. (n.d.). Grand Litter Parade. Retrieved from http://province.m-culture.go.th/lamphun/office/kaihong.html

Wongyai, S. (2004). Wichakarn ngan Khae-Luang. Lamphun: Committee on Information, Banhong Silapron School, Banhong District, Lamphun Province.

Section
Research Articles

##plugins.themes.bootstrap3.article.details##

How to Cite
SOTTIWAN, Tipat et al. A Non-Alcoholic Religious Ceremony: A Case Study of Grand Litter Parade in Lamphun Province ‘The Only One in the World’. Journal of Community Development Research (Humanities and Social Sciences), [S.l.], v. 11, n. 3, p. 81-90, sep. 2018. ISSN 2985-0231. Available at: <https://www.journal.nu.ac.th/JCDR/article/view/Vol-11-No-3-2018-81-90>. Date accessed: 20 apr. 2024. doi: https://doi.org/10.14456/jcdr-hs.2018.6.