การศึกษาอัตลักษณ์ของเครื่องเงินบ้านวัวลายเพื่อใช้ในการออกแบบเครื่องประดับเงินตามความชอบของกลุ่มลูกค้าชาวจีนในแหล่งท่องเที่ยวล้านนา/The Study of Design Identity of Ban Wualai Lanna Silver Jewelry to Meet the Needs of Chinese Tourists in Lanna Tourist Place

##plugins.themes.bootstrap3.article.main##

สมลักษณ์ วรรณฤมล กีเยลาโรว่า, ดรณ์ สุทธิภิบาล, เขมรัฐ จันทร์คำ, สุนิษา แสนศรี, ประภัสสร ประดุจพงษ์เพชร์ และเฉลิมรัฐ วาวง

Abstract

     โครงการวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอัตลักษณ์ของเครื่องเงินบ้านวัวลาย จังหวัดเชียงใหม่ และศึกษาพฤติกรรมผู้บริโภคของกลุ่มนักท่องเที่ยวชาวจีน เพื่อนำมาพัฒนาเป็นเครื่องประดับเงินที่ชาวจีนชื่นชอบ และยังคงอัตลักษณ์ของเครื่องเงินบ้านวัวลาย เพื่อเป็นการรักษาภูมิปัญญาท้องถิ่น และเพื่อเพิ่มช่องทางการพัฒนาผลิตภัณฑ์ โดยได้ทำการศึกษาประวัติความเป็นมาของเครื่องเงินบ้านวัวลาย และได้ลงพื้นที่เก็บข้อมูลพื้นฐานที่สำคัญเกี่ยวกับเครื่องเงิน และเครื่องประดับเงินบ้านวัวลาย ซึ่งได้รับความร่วมมืออย่างดีจากผู้ประกอบการวิสาหกิจชุมชนเครื่องเงินบ้านวัวลาย และคลัสเตอร์เครื่องเงินบ้านวัวลาย โดยได้เก็บรวบรวมข้อมูลที่สำคัญ ได้แก่ รูปแบบลักษณะเฉพาะตัว และอัตลักษณ์ของเครื่องประดับเงินบ้านวัวลาย อีกทั้งได้มีการสำรวจความนิยมชื่นชอบเครื่องประดับเงินของกลุ่มเป้าหมาย คือ นักท่องเที่ยวชาวจีนที่มาท่องเที่ยวในจังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 100 คน ซึ่งอยู่ในช่วงอายุ 20-35 ปี นอกจากนี้ วัตถุประสงค์ที่สองในการศึกษา คือ การศึกษาเกี่ยวกับกระบวนการผลิตเครื่องเงินบ้านวัวลาย โดยมีการสัมภาษณ์ช่างฝีมือ และพ่อครูแม่ครูในชุมชนบ้านวัวลาย รวมทั้งช่างขึ้นรูปและช่างสลักดุนลาย คณะผู้วิจัยได้นำผลจากการลงพื้นที่เก็บข้อมูลดังกล่าว มาทำการวิเคราะห์หาปัจจัยที่สำคัญที่มีผลต่อรูปแบบงานออกแบบเครื่องประดับเงินที่นักท่องเที่ยวชาวจีนชื่นชอบ โดยนักออกแบบของโครงการวิจัย ได้ทำการออกแบบเซตเครื่องประดับเงินตามผลการเก็บข้อมูลและผลการสำรวจความชื่นชอบเครื่องประดับของกลุ่มเป้าหมาย รวมจำนวน 13 เซต จากนั้นคณะผู้วิจัยได้ทำการประเมินเซตเครื่องประดับที่ออกแบบขึ้นใหม่ โดยสัมภาษณ์ความคิดเห็นของนักท่องเที่ยวชาวจีนในแหล่งท่องเที่ยวในจังหวัดเชียงใหม่ และได้คัดเลือกเซตเครื่องประดับที่ได้รับคะแนนความนิยมสูงสุดจำนวน 5 อันดับแรก มาพัฒนาเป็นต้นแบบในการออกแบบเครื่องประดับเงินบ้านวัวลาย และผลิตเป็นชิ้นงานจริง เพื่อเป็นแนวทางในการในการพัฒนาผลิตภัณฑ์เครื่องประดับเงินให้แก่วิสาหกิจชุมชนเครื่องเงินบ้านวัวลาย
     ผลการวิจัยการศึกษาอัตลักษณ์ของเครื่องเงินบ้านวัวลาย พบว่า นอกจากกระบวนการผลิตที่มีความเฉพาะตัว ยังมีส่วนของลวดลายที่อยู่บนเครื่องเงินที่บ่งบอกถึงอัตลักษณ์ของเครื่องเงินบ้านวัวลาย จากการเก็บข้อมูล พบว่า สามารถแบ่งลวดลายออกเป็นจำนวน 9 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มลวดลายดอกกระถิน กลุ่มลวดลายแส้ กลุ่มลวดลายพุทธประวัติ กลุ่มลวดลายวรรณคดีไทย กลุ่มลวดลายวิถีชีวิตไทย กลุ่มลวดลายพม่า กลุ่มลวดลายช้าง กลุ่มลวดลายสิบสองราศี และกลุ่มลวดลายดอกพิกุล และจากผลการทำแบบสอบถามกลุ่มนักท่องเที่ยวชาวจีน พบว่า กลุ่มลวดลายที่ชาวจีนชื่นชอบ คือ กลุ่มลวดลายช้าง โดยคิดเป็นร้อยละ 52 รองลงมา คือ กลุ่มลวดลายกระถิน คิดเป็นร้อยละ 11 อีกทั้งนักท่องเที่ยวชาวจีนนิยมเครื่องประดับที่มีขนาดเล็ก สีสันสดใส และมีความร่วมสมัย

     This research project aims to study and classify the design identity of Baan Wualai Lanna silverware in Chiang Mai and to study silver-jewelry purchasing decision making of the Chinese tourists in Lanna tourist places to meet their needs in jewelry products brought to market. This should be achieved while still maintaining the design identity of Baan Wualai Lanna silverware in order to conserve the local wisdom. Moreover, this research aims to increase the opportunities in product development. To achieve the research objectives, the study of history, product characters, and production process of Baan Wualai Lanna silverware was conducted. The research team established a good collaboration with Baan Wualai silverware community, which enabled efficient collection of data and information in the target area. The important information obtained from this study includes product characters and design identity of Baan Wualai silverware. Moreover, we have surveyed the appreciation of the products by the target group, a group of 100 Chinese tourists in Lanna tourist places whose age ranges from 20 to 35 years old, and who were interested in the purchase of silver jewelry products. The second research objective is to study Baan Wualai silverware production. We have interviewed the Baan Wualai craftsmen, model-makers, and cravers to achieve this goal. The research team then analyzed this data and information to identify the important factors in silver jewelry design characters that the target group favors. Ultimately, the designers of the research team had designed 13 sets of silver jewelry according to the data collected during the survey of the jewelry. After that, the research team had evaluated the new sets of designed jewelry by surveying the opinions of Chinese tourists in Lanna tourist places. Then they selected the top five jewelry sets, based on evaluation, to be the silver jewelry prototypes of Baan Wualai, as well as to produce real products to be the guidelines of silver jewelry product development for Baan Wualai silverware community enterprise.
     The results of the study of the identity of Baan Wualai silverware show that not only does the production of Baan Wualai silverware utilizes specific techniques, but it also contains specific motifs and patterns on the silverware, which indicates their own identity. Based on the data collection, the motifs and patterns appearing on Bann Wualai silverware can be divided into 9 different groups: the group of Dok-Kra-Tin patterns, the group of Sae patterns, the group of history of the Buddha, the group of Thai literature, the group of Thai traditional life, the group of Burmese traditional styles, the group of elephant patterns, the group of twelve signs of the zodiac, and the group of Dok-Phi-Kul patterns. Furthermore, the surveys of the opinions of Chinese tourists indicate that the most favorite pattern is the group of elephant patterns, which received 52%, the second pattern is Dok-Kra-Tin patterns obtaining 11%. Finally, the Chinese tourists prefer the silver jewelry with small size, which is also colorful, and contemporary.

References

Department of Industrial Promotion. (2015). Baan Wualai Silver Cluster. Retrieved from www.dip.go. th/ Portals/0/cluster/วัวลายหมู่บ้านวัฒนธรรม.pdf

Department of Tourism. (2014). Summary of Tourism Situation in 2014. Retrieved from Database of Department of Tourism.

Export-Import Bank of Thailand. (2006). Gems and Jewelry Market in China. Retrieved from http://www.exim.go.th/doc/research/article/9068.pdf

Kasikorn Research Center. (2015). Gemstone Jewelry Business. Retrieved from http://www.kasikornresearch.com

Khuntanan, P. (2000). Lanna Heritage Local Wisdom: 500 Years Wat Si Suphan. Chiang Mai: Viangphing Publishing.

Manopan, J. (2013). The Development of Contemporary Silver Jewelry Pattern as Art Stucco Wat Chula Manee. (Master’s thesis). Naresuan University, Phitsanulok.

Monphrom, R. (2012). The Development of Design Product for Terra-Cotta Souvenir from Baan Mon Pottery and Craft Group, Tambon BaanKaeng, Ampur Muang, Nakhon-Sawan Province. (Master’s thesis). Naresuan University, Phitsanulok.

Poosuwan, K. (2013). Focused on Chinese Tourists. Retrieved from https://www.bot.or.th/Thai/MonetaryPolicy/ArticleAndResearch/FAQ/FAQ_89.pdf

Pralahan, M. (2014). Baan Wua Lai Silverware of Wat Muen Sarn and Wat Sri Suphan Communities in Chiang Mai. (Bachelor’s thesis). Silpakorn University, Nakhon Pathom.

Silpjaru, T. (2014). Research and Statistical Analysis with SPSS and AMOS (15th ed.). Bangkok: Business R&D.

Thai Business Information Center. (2014). Gemstone Jewelry market in china. Retrieved from http://thai
bicusa.com

Wannatung, W., & Soodsang, N. (2011). Development of Silver Jewelry Format and Identity for Hill Tribe Lee–sor (Lee-su) Community, See Dong Yen Village, Maetang District, Chaingmai Province. Art and Architecture Journal Naresuan University, 2(2), 68-80.

Yamane, T. (1967). Statistics: An Introductory Analysis (2nd ed.). New York: Harper and Row.

Keywords
อัตลักษณ์; บ้านวัวลาย; การออกแบบเครื่องประดับ; เครื่องประดับเงิน; Identity; Baan Wualai; Jewelry Design; Silverware
Section
Research Articles

##plugins.themes.bootstrap3.article.details##

How to Cite
ดรณ์ สุทธิภิบาล, เขมรัฐ จันทร์คำ, สุนิษา แสนศรี, ประภัสสร ประดุจพงษ์เพชร์ และเฉลิมรัฐ วาวง, สมลักษณ์ วรรณฤมล กีเยลาโรว่า,. การศึกษาอัตลักษณ์ของเครื่องเงินบ้านวัวลายเพื่อใช้ในการออกแบบเครื่องประดับเงินตามความชอบของกลุ่มลูกค้าชาวจีนในแหล่งท่องเที่ยวล้านนา/The Study of Design Identity of Ban Wualai Lanna Silver Jewelry to Meet the Needs of Chinese Tourists in Lanna Tourist Place. Journal of Community Development Research (Humanities and Social Sciences), [S.l.], v. 10, n. 3, p. 114-123, aug. 2017. ISSN 2985-0231. Available at: <https://www.journal.nu.ac.th/JCDR/article/view/1952>. Date accessed: 28 mar. 2024.