ผลการใช้อินโฟกราฟิกร่วมกับกระบวนการเรียนแบบสืบเสาะ ที่มีต่อความสามารถด้านการคิดวิเคราะห์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 / Effect of Using Infographics with Inquiry Based Learning on Critical Thinking Ability of Students in Grade 6

##plugins.themes.bootstrap3.article.main##

ปาณิสรา ศิลาพล และกอบสุข คงมนัส / Panisara Silapol and Kobsook Kongmanus

Abstract

     ข้อมูลกราฟิกหรืออินโฟกราฟิก เป็นตัวแทนของภาพกราฟิกของสารสนเทศ ข้อมูลหรือความรู้ ที่จะนำเสนอข้อมูลอย่างรวดเร็วและชัดเจน อินโฟกราฟิกถูกใช้ในการสื่อสารเพื่อเข้าถึงเนื้อหาได้อย่างรวดเร็ว ง่ายต่อการนำเสนอข้อมูลจำนวนมากเพื่อที่จะเห็นรูปแบบของข้อมูล และความสัมพันธ์ของข้อมูลทั้งหมด เมื่อนำอินโฟกราฟิกมาใช้ร่วมกับกระบวนการจัดการเรียนการสอนแบบสืบเสาะผู้เรียนจะเกิดผลการเรียนรู้ที่แสดงให้เห็นถึงความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของแต่ละบุคคลผ่านผลงานอินโฟกราฟิกที่ได้สร้างขึ้น จุดมุ่งหมายของการวิจัยครั้งนี้ คือ 1) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถด้านการคิดวิเคราะห์ก่อนและหลังการใช้อินโฟกราฟิก (Infographics) ร่วมกับกระบวนการเรียนแบบสืบเสาะที่มีต่อความสามารถด้านการคิดวิเคราะห์ เรื่อง การเปลี่ยนแปลงของโลก ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 2) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถด้านการคิดวิเคราะห์จากการใช้อินโฟกราฟิก (Infographics) ร่วมกับกระบวนการเรียนแบบสืบเสาะ เรื่อง การเปลี่ยนแปลงของโลก ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 กับกระบวนการเรียนแบบปกติ 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของผู้เรียนจากการใช้อินโฟกราฟิก (Infographics) ร่วมกับกระบวนการเรียนแบบสืบเสาะ ที่มีต่อความสามารถด้านการคิดวิเคราะห์ เรื่อง การเปลี่ยนแปลงของโลก ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนอนุบาลคลองลาน จังหวัดกำแพงเพชร ที่กำลังศึกษาอยู่ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2558 จำนวน 60 คน ได้มาโดยการสุ่มอย่างง่าย ด้วยวิธีการจับฉลากเลือกกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนโดยใช้อินโฟกราฟิกร่วมกับกระบวนการเรียนแบบสืบเสาะ 2) แบบทดสอบวัดความสามารถด้านการคิดวิเคราะห์ และ 3) แบบสอบถามความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย () ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และการทดสอบค่าที (t-test dependent และ t–test independent) ผลการศึกษา พบว่า 1) ความสามารถด้านการคิดวิเคราะห์หลังเรียนด้วยอินโฟกราฟิก (Infographics) ร่วมกับกระบวนการเรียนแบบสืบเสาะ ที่มีต่อความสามารถด้านการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษา ปีที่ 6 สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) ความสามารถด้านการคิดวิเคราะห์จากการใช้อินโฟกราฟิก (Infographics) ร่วมกับกระบวนการเรียนแบบสืบเสาะ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 สูงกว่ากระบวนการเรียนแบบปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) ความพึงพอใจของผู้เรียนจากการใช้อินโฟกราฟิก (Infographics) ร่วมกับกระบวนการเรียนแบบสืบเสาะที่มีต่อความสามารถด้านการคิดวิเคราะห์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 พบว่า โดยภาพรวมมีความพึงพอใจ อยู่ในระดับมาก (= 4.10, S.D. = 0.46)

     Information graphics or infographics are graphic visual representations of information, data or knowledge intended to present information quickly and clearly. People use infographics to quickly communicate a message to simplify the presentation of large amounts of data and to see data patterns and relationships. Infographics with inquiry based learning to achieve the learning outcomes that demonstrate the critical thinking ability through individual infographic was created. The research objectives were: 1) to compare the critical thinking ability before and after learning by Infographic with Inquiry-Based Learning of students in grade 6, 2) to compare the critical thinking ability between learning by Infographic with Inquiry-Based Learning of students in grade 6 with the conventional teaching method, and 3) to study satisfaction of the students learned towards Infographic with Inquiry-Based Learning of students in grade 6. The sample group in this research consisted of 60 grade 6 students studying in the second semester of the 2015 academic year at Anubankhonglan School, Kamphaeng Phet province. The research instruments were lesson plans, critical thinking ability test, and satisfaction questionnaire. The statistic used to analyze the data were mean, standard division, t-test dependent and t-test independent. The result were concluded as follow: 1) The critical thinking ability of post–learning by Infographic with Inquiry-Based Learning of students in grade 6 was higher than pre-learning at the .05 level of significance, 2) The critical thinking ability of learning by Infographic with Inquiry-Based Learning of students in grade 6 was higher than the conventional teaching at the .05 level of significance, 3) The satisfaction of the students after using Infographic with Inquiry-Based Learning of students in grade 6 were totally at high level (= 4.10, S.D. = 0.46).

References

Saitong, P. (2014). Infographic Animation Design for Instruction. Art and Architecture Journal Naresuan University, 5(2), 119-135.

Songarjin, S. (2008). The results of learning management by an inquiry process on the analytical thinking abilities, abilities in problem in problem solving and learning achievements in science of prathomsuksa six students. (Master’s thesis). Thaksin University, Songkhla.

Srisaard, B. (2013). Basic research (9th ed.). Bangkok: Suveeriyasarn.

Suwanchol, C. (2014). Flipped classroom Concept map with social media and Infographics for The 21st Century Learning. Retrieved from http://www.vcharkarn.com/ varticle/500242

Tesana, J. (2015). Infographics Design. Retrieved from http://www.learningstudio.info

The Institute for the Promotion of Teaching Science and Technology. (2003). Organizing Science Education in Basic Education Curriculum. Bangkok: Printing Guru Council of LAT Phrao.

Tuckman, B. (1999). Conducting Educational Research (5th ed.). U.S.A.: Harcourt Brace & Company.

Vanichvasin, P. (2015). Potentials of using infographics in enhancing the quality of learning. Panyapiwat Journal, 7(Special Issue), 227-249.

Keywords
อินโฟกราฟิก กระบวนการเรียนแบบสืบเสาะ ความสามารถในการคิดวิเคราะห์; Infographics, Inquiry–Based Learning, Critical Thinking Ability
Section
Research Articles

##plugins.themes.bootstrap3.article.details##

How to Cite
/ PANISARA SILAPOL AND KOBSOOK KONGMANUS, ปาณิสรา ศิลาพล และกอบสุข คงมนัส. ผลการใช้อินโฟกราฟิกร่วมกับกระบวนการเรียนแบบสืบเสาะ ที่มีต่อความสามารถด้านการคิดวิเคราะห์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 / Effect of Using Infographics with Inquiry Based Learning on Critical Thinking Ability of Students in Grade 6. Journal of Community Development Research (Humanities and Social Sciences), [S.l.], v. 10, n. 2, p. 185-194, june 2017. ISSN 2985-0231. Available at: <https://www.journal.nu.ac.th/JCDR/article/view/1831>. Date accessed: 29 mar. 2024.