กระแสนิยมไดโนเสาร์ในไทยและแนวทางการส่งเสริมอัตลักษณ์ชุมชน แหล่งขุดค้นไดโนเสาร์ในชุมชนภูกุ้มข้าว จังหวัดกาฬสินธุ์ Dinosaur Trend in Thailand and Dinosaur Discovery Site Communal Identity Formation Process in Phu Kum Khao Community, Kalasin

##plugins.themes.bootstrap3.article.main##

Supparerk Ruckchart

Abstract

     ภูกุ้มข้าว จังหวัดกาฬสินธุ์ เป็นพื้นที่ที่มีการค้นพบซากดึกดำบรรพ์ไดโนเสาร์ที่มีความสมบูรณ์สูง ในปี พ.ศ.2533 การค้นพบดังกล่าวไม่เพียงแต่สร้างความเปลี่ยนแปลงที่สำคัญในวงการวิทยาศาสตร์ แต่สร้างความเปลี่ยนแปลงให้กับชุมชนโดยรอบพื้นที่เป็นอย่างมาก โดยเฉพาะด้านอัตลักษณ์ของชุมชน การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ในการวิจัย คือ เพื่อศึกษากระแสความนิยมไดโนเสาร์ในประเทศไทย และในชุมชนภูกุ้มข้าว และทำการศึกษากระบวนการสร้างอัตลักษณ์เพื่อนำเสนอแนวทางการส่งเสริมอัตลักษณ์ชุมชนแหล่งขุดค้นไดโนเสาร์ โดยทำการวิจัยด้วยการวิเคราะห์เอกสารที่เกี่ยวข้อง การสังเกตพื้นที่ชุมชน การสัมภาษณ์ผู้เกี่ยวข้อง และวิเคราะห์เนื้อหาก่อนจะนำมาสังเคราะห์ข้อเสนอแนะจากข้อมูลที่ค้นพบ ผลการวิจัย พบว่า กระบวนการเกิดอัตลักษณ์ชุมชนแหล่งขุดค้นไดโนเสาร์ได้รับอิทธิพลจากกระแสนิยมไดโนเสาร์ของโลก โดยเฉพาะภาพยนตร์และสื่อโทรทัศน์ อย่างไรก็ตาม ณ เวลาดังกล่าว ชุมชนในพื้นที่ไม่ได้รับกระแสความนิยมเดียวกันเพราะมีข้อจำกัดในการเข้าถึงสื่อจากส่วนกลาง ดังนั้น กระแสนิยมไดโนเสาร์ในชุมชนจึงเป็นอิทธิพลมาจากบุคคลภายนอกที่เข้ามาเยี่ยมชมพื้นที่ขุดค้น หน่วยงานส่วนกลางและองค์กรบริหารส่วนท้องถิ่น รวมถึงสมาชิกชุมชนที่ได้รับการศึกษาเป็นกลุ่มแรกที่มีการปรับตัวและก่อสร้างอัตลักษณ์ชุมชนแหล่งขุดค้นไดโนเสาร์ที่เกิดขึ้นใหม่ โดยในช่วงแรกภาพสะท้อนอัตลักษณ์ชุมชนแหล่งขุดค้นไดโนเสาร์พบปรากฏในรูปแบบการสร้างรูปปั้น ซึ่งส่งผลต่อการนำเสนอภาพสะท้อนของไดโนเสาร์มาผนวกรวมกับอัตลักษณ์ชุมชนในช่วงต่อมา ในระยะยาว พบว่า มีการปรับตัวในลักษณะของการผสมและผสานอัตลักษณ์ใหม่เข้ากับวิถีชีวิตเดิม ข้อเสนอแนะในงานวิจัยนี้สำหรับการพัฒนาอัตลักษณ์ในอนาคต ได้แก่ การสร้างเครือข่ายเพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ การสร้างวิถีชีวิต ความเชื่อและวัฒนธรรมที่เกี่ยวข้องกับไดโนเสาร์โดยการผสานเข้ากับวัฒนธรรมเดิม และการพัฒนานวัตกรรมเกี่ยวกับไดโนเสาร์จากภูมิปัญญาท้องถิ่น


คำสำคัญ: ไดโนเสาร์  อัตลักษณ์  ชุมชน  ภูกุ้มข้าว  กาฬสินธุ์


     Phu Kum Khao, located in Kalasin province in Thailand, is the area where nearly complete dinosaur fossils were found in the 1990s. This discovery not only had a significant effect on science, but also led to a major change in the community around the site; especially, community identity. The objective of this study is to study dinosaur trend in Thailand, in Phu Kum Khao community and analyze the dinosaur discovery site communal identity formation process to develop a suggestion for identity enhancement. The methods use in this study were document research, field observation, interview and content analysis. Prior data were used for suggestion synthesis. The study found that identity formation within the community was influenced by the world’s trend toward increased interest in dinosaurs, especially in movies and media. At the time of the discovery, however, the local people in the area of the site were not following world trends due to the lack of access to mass media; therefore the response in the area was primarily impacted by outsiders who were attracted to the renowned discovery. A new identity was first adopted and formed by the local administrative organization and well-educated community members. In the first period, the reflection of identity adoption was found in the form of dinosaur sculpture building which represent the merge of dinosaur into community identity. In the long term, the integration process can obviously be observed in the mixed and merged forms of identity integration. Suggestions for future dinosaur discovery site communal identity development is to create a network for knowledge exchange, develop dinosaur related belief, culture, along with way of living by blending with the exist culture and develop dinosaur related innovations from indigenous knowledge.


Keywords: Dinosaur, Identity, Community, Phu Kum Khao, Kalasin


Keywords
Dinosaur; Identity; Community Identity
Section
Research Articles

##plugins.themes.bootstrap3.article.details##

How to Cite
RUCKCHART, Supparerk. กระแสนิยมไดโนเสาร์ในไทยและแนวทางการส่งเสริมอัตลักษณ์ชุมชน แหล่งขุดค้นไดโนเสาร์ในชุมชนภูกุ้มข้าว จังหวัดกาฬสินธุ์. Journal of Community Development Research (Humanities and Social Sciences), [S.l.], v. 11, n. 1, p. 99-115, mar. 2018. ISSN 2985-0231. Available at: <https://www.journal.nu.ac.th/JCDR/article/view/1801>. Date accessed: 20 apr. 2024.