A Causal Relationship Model of Effectiveness of Mathematics Learning: Meta-Analytic Structural Equation Modeling / โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของประสิทธิผลทางการเรียนคณิตศาสตร์: การวิเคราะห์อภิมานอิงโมเดลสมการโครงสร้างเชิงเส้น

##plugins.themes.bootstrap3.article.main##

ปัทมา ภู่สวาสดิ์ และเอื้อมพร หลินเจริญ / Pattama Pusawat and Aumporn Lincharoen

Abstract

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาผลการวิจัยของปัจจัยด้านนักเรียน ครอบครัว และการเรียนการสอนที่ส่งผลต่อประสิทธิผลทางการเรียนคณิตศาสตร์ และศึกษาความแตกต่างของผลการวิจัยตามคุณลักษณะงานวิจัย 2) คัดเลือกและวิเคราะห์ตัวแปรคุณลักษณะงานวิจัย
ที่ส่งผลต่อค่าเฉลี่ยดัชนีมาตรฐานสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของปัจจัยด้านนักเรียน ครอบครัว และการเรียนการสอนที่มีต่อประสิทธิผลทางการเรียนคณิตศาสตร์ 3) สร้างและตรวจสอบโมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยด้านนักเรียน ครอบครัว และการเรียนการสอนที่ส่งผลต่อประสิทธิผลทางการเรียนคณิตศาสตร์ งานวิจัยที่นำมาสังเคราะห์เป็นงานวิจัยที่ศึกษาปัจจัยด้านนักเรียน ครอบครัว และการเรียนการสอนที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิผลทางการเรียนคณิตศาสตร์ ที่ตีพิมพ์เผยแพร่ในช่วงปี พ.ศ.2546-2556 จากมหาวิทยาลัย 10 แห่ง จำนวน 104 เล่ม ผลการวิจัย ประกอบด้วยค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ 925 ค่า การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณเป็นการวิเคราะห์อภิมาน การตรวจสอบความตรงของโมเดลเป็นการวิเคราะห์ด้วยโปรแกรมลิสเรล ผลการวิจัย มีดังต่อไปนี้

1.  ค่าเฉลี่ยดัชนีมาตรฐานสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของปัจจัยด้านการเรียนการสอน ด้านนักเรียน และด้านครอบครัวที่ส่งผลต่อประสิทธิผลทางการเรียนคณิตศาสตร์ มีค่าเท่ากับ 0.58, 0.39 และ 0.28 ตามลำดับ และผลการศึกษาความแตกต่างของผลการวิจัยตามคุณลักษณะงานวิจัย พบว่า คุณลักษณะงานวิจัยที่แตกต่างกัน ทำให้ค่าเฉลี่ยดัชนีมาตรฐานสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ได้แก่ ปีที่พิมพ์เผยแพร่ สถาบันที่ผลิตงานวิจัย สาขาที่ผลิตงานวิจัย เพศของผู้วิจัย ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลทางการเรียนคณิตศาสตร์ วัตถุประสงค์การวิจัย แหล่งที่มาของกลุ่มตัวอย่าง ระดับการศึกษาของกลุ่มตัวอย่าง แบบแผนการวิจัย ประเภทสมมติฐาน คุณภาพเครื่องมือในภาพรวม ประเภทของเครื่องมือวัดตัวแปรต้น ประเภทของเครื่องมือวัดตัวแปรตาม ชนิดของความเที่ยงของเครื่องมือวัดตัวแปรตาม ค่าความเที่ยงของเครื่องมือวัดตัวแปรต้น ประเภทความตรงของเครื่องมือวัดตัวแปรต้น ประเภทความตรงของเครื่องมือวัดตัวแปรตาม วิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่าง การควบคุมตัวแปรแทรกซ้อน ประเภทของสถิติในการวิเคราะห์ข้อมูล ผลการทดสอบสถิติ ขนาดกลุ่มตัวอย่างรวม และระดับคุณภาพงานวิจัย

2.  ตัวแปรคุณลักษณะงานวิจัยที่มีอิทธิพลทางตรงต่อค่าเฉลี่ยดัชนีมาตรฐานสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์สูงที่สุด ได้แก่ ตัวแปรผลการทดสอบนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01

3.  โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของประสิทธิผลทางการเรียนคณิตศาสตร์ที่พัฒนาขึ้นมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ มีค่า
ไคสแควร์ (Chi-square) เท่ากับ 6.987 ที่มีองศาความเป็นอิสระ (df) เท่ากับ 4 ค่าความน่าจะเป็น (P-value) เท่ากับ 0.136 ดัชนีวัดระดับความกลมกลืน (GFI) เท่ากับ 0.998 ดัชนีวัดระดับความกลมกลืนที่ปรับแก้แล้ว (AGFI) เท่ากับ 0.983 และค่าดัชนีรากที่สองของค่าเฉลี่ยความคลาดเคลื่อนกำลังสองของการประมาณค่า (RMSEA) เท่ากับ 0.028 และตัวแปรในโมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของประสิทธิผลทางการเรียนคณิตศาสตร์ สามารถอธิบายความแปรปรวนของประสิทธิผลทางการเรียนคณิตศาสตร์ได้ร้อยละ 58.90 โดยปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลทางการเรียนคณิตศาสตร์มากที่สุด ได้แก่ ปัจจัยด้านนักเรียน ปัจจัยด้านการเรียนการสอน และปัจจัยด้านครอบครัว ซึ่งมีค่าอิทธิพลทางบวกเท่ากับ 0.62, 0.50 และ 0.05 ตามลำดับ

 

คำสำคัญ: ประสิทธิผลทางการเรียนคณิตศาสตร์  ปัจจัยด้านนักเรียน  ปัจจัยด้านครอบครัว  ปัจจัยด้านการเรียนการสอน  การวิเคราะห์อภิมานอิงโมเดลสมการโครงสร้างเชิงเส้น

Abstract

The purpose of this study were 1) to study research result of student factors, family factors and instruction factors affecting effectiveness of mathematics learning and difference between research result according to research characteristics, 2) to select and analyze research characteristics factors affecting the correlation coefficient standard indices of student factors, family factors and instruction factors affecting effectiveness of mathematics learning, 3) to establish and verify causal relationship model of student factors, family factors and instruction factors on effectiveness of mathematics learning. The samples for research synthesis were 104 research studies related to the effects of student factors, family factors and instruction factors affecting effectiveness of mathematics learning published during 2003-2013, derived from 10 universities. The research outcome comprised 925 correlation coefficients. Quantitative data were analyzed using meta-analysis and the model was validated using LISREL.

The results of the study were as following.

1.  The mean of correlation coefficients of instruction factors, student factors and family factors affecting effectiveness of mathematics learning were 0.58, 0.39 and 0.28, respectively. The difference between research result according to research characteristics found that research characteristics made differences in correlation coefficient standard indices with statistically significant at the level of 0.01 including publishing year, origin of research, fields of research, gender, factors influence on effectiveness of mathematics learning, objectives, sources of samples, education level of samples, research design, types of hypothesis, total tool quality, types of independent variables instruments, types of dependent variables instruments, Type reliability of dependent variables instruments, type reliability of independent variables instruments, types validity of independent variables instruments, sample selection, control of extraneous variables, types of statistical data analysis, statistics test result, sample sizes and research quality.

2.  The research characteristic variable most directly influence on the correlation coefficient standard indices was the variable of statistical significance at the level of 0.01.

3.  The casual relationship model of effectiveness of mathematics learning fitted well with the empirical data with a Chi-square of 6.99, degree of freedom of 4 (df = 4), P-value of 0.136 (P-value = 0.136), GFI = 0.998, AGFI = 0.983, RMSEA = 0.028 and could explained effectiveness of mathematics variance at 58.90%. The factors most effect on effectiveness of mathematics learning included student factors, instruction factors and family factors which have positive influence value of 0.62, 0.50 and 0.05, respectively.

 

Keywords:  Effectiveness of Mathematics Learning, Student Factors, Family Factors, Instruction Factors, Meta-analytic Structural Equation Modeling


Keywords
ประสิทธิผลทางการเรียนคณิตศาสตร์ ปัจจัยด้านนักเรียน ปัจจัยด้านครอบครัว ปัจจัยด้านการเรียนการสอน การวิเคราะห์อภิมานอิงโมเดลสมการโครงสร้างเชิงเส้น Effectiveness of Mathematics Learning, Student Factors, Family Factors, Instruction Factors, Meta-analytic
Section
Research Articles

##plugins.themes.bootstrap3.article.details##

How to Cite
PATTAMA PUSAWAT AND AUMPORN LINCHAROEN, ปัทมา ภู่สวาสดิ์ และเอื้อมพร หลินเจริญ /. A Causal Relationship Model of Effectiveness of Mathematics Learning: Meta-Analytic Structural Equation Modeling / โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของประสิทธิผลทางการเรียนคณิตศาสตร์: การวิเคราะห์อภิมานอิงโมเดลสมการโครงสร้างเชิงเส้น. Journal of Community Development Research (Humanities and Social Sciences), [S.l.], v. 9, n. 3, p. 73-87, dec. 2016. ISSN 2985-0231. Available at: <https://www.journal.nu.ac.th/JCDR/article/view/1597>. Date accessed: 20 apr. 2024.