Feasibility Study of Forming Bio-diesel Communities / ความเป็นไปได้ในการสร้างชุมชนไบโอดีเซล

##plugins.themes.bootstrap3.article.main##

Kiatchai Banlupholsakul and Orakoch Ketpirune / เกียรติชัย บรรลุผลสกุล และอรกช เก็จพิรุฬห์

Abstract

บทคัดย่อ

ประเทศไทย เป็นประเทศที่มีการใช้พลังงานเพิ่มสูงขึ้นตลอดมา โดยในปี พ.ศ.2557 มีการใช้พลังงานสูงถึง 75,804 พันตันเทียบเท่าน้ำมันดิบ ทำให้ต้องสูญเสียเงินตราต่างประเทศในการนำเข้าพลังงานสูงถึง 1,306 พันล้านบาท ส่งผลให้เกิดปัญหามลภาวะต่อสิ่งแวดล้อม รวมถึงผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของประชากร หากมีการใช้น้ำมันไบโอดีเซล ผสมในน้ำมันดีเซล หรือทดแทนน้ำมันดีเซลจะช่วยลดความรุนแรงของปัญหาดังกล่าว บทความนี้มีวัตถุประสงค์หลัก เพื่อหาความเป็นไปได้ในการสร้างชุมชนไบโอดีเซล โดยพิจารณาจากพฤติกรรมการใช้น้ำมัน อุปทานของน้ำมันใช้แล้ว การจัดการกับน้ำมันใช้แล้ว และผลกระทบต่อสุขภาพ กรณีศึกษาอำเภอพิชัย จังหวัดอุตรดิตถ์ และอำเภอวัดโบสถ์ จังหวัดพิษณุโลก ผลการศึกษาด้วยสถิติเชิงพรรณนา พบว่า มีความเป็นไปได้ในการสร้างชุมชนไบโอดีเซล โดยในอำเภอพิชัย มีปริมาณน้ำมันใช้แล้วเพียงพอต่อการผลิตไบโอดีเซลเดือนละ 1,717 ลิตร ซึ่งน้อยกว่าอำเภอวัดโบสถ์ ที่มีน้ำมันใช้แล้วเพื่อผลิตไบโอดีเซลเดือนละ 3,554 ลิตร น้ำมันใช้แล้วเหล่านี้ หาได้จากร้านขายของทอด ประเภทอาหารทอด ได้แก่ ปลาทอด ไก่ทอด และหมูทอด และร้านค้าประเภทอาหารว่างทอด ได้แก่ ปาท่องโก๋ทอด ในอำเภอพิชัย และลูกชิ้นทอด ในอำเภอวัดโบสถ์ อย่างไรก็ดี ประชาชนในอำเภอทั้งสองมีความเสี่ยงที่จะบริโภคอาหารที่มีสารโพลาร์เกินกว่าระดับมาตรฐาน ซึ่งเป็นอันตรายต่อสุขภาพ ถึงร้อยละ 3.0-6.4 ของร้านค้าทั้งหมด

 

คำสำคัญ: ความเป็นไปได้  น้ำมันใช้แล้ว  ไบโอดีเซลชุมชน

 

Abstract

The consumption of energy in Thailand has been increasing every time. In 2014, there were 75,804 thousand tons of energy consumed in comparison to raw oil. There were a lot of loss in foreign currencies for importing energy equivalent to 1,306 thousand million Baht which produced water pollution and bad health effect to people. If people could use more mixed diesel with bio-diesel or bio-diesel instead of pure diesel, it could reduce the severity of these problems. The main objective of this research paper was to study the feasibility of forming bio-diesel communities by considering the behavior of cooking oil consumption, the supply of used cooking oil, its management, and effects to health by choosing Phichai district in Uttaradit province, and Wat Both district in Phitsanulok province, as case studies. The descriptive statistics results revealed that there was feasibility of forming bie-diesel community and enough used cooking oil to produce bio-diesel in both districts. Phichit district had 1,717 litres of it per month, which was less than Wat Both district that has 3,554 litres of it per month. This used cooking oil could be found in fried food shops, namely  fried fish, fried chicken, fried pork, and fried snack food, such as Pha Tong Koe in Phichit district and fried meatball in Wat Both district. However, people in both districts have high risk in consuming food that has Polar compound higher than standard level, which is dangerous for their health at 3.0-6.4% of all shops.

 

Keywords: Feasibility, Used Cooking Oil, Community Bio-diesel


Keywords
ความเป็นไปได้ น้ำมันใช้แล้ว ไบโอดีเซลชุมชน Feasibility, Used Cooking Oil, Community Bio-diesel
Section
Research Articles

##plugins.themes.bootstrap3.article.details##

How to Cite
ORAKOCH KETPIRUNE / เกียรติชัย บรรลุผลสกุล และอรกช เก็จพิรุฬห์, Kiatchai Banlupholsakul and. Feasibility Study of Forming Bio-diesel Communities / ความเป็นไปได้ในการสร้างชุมชนไบโอดีเซล. Journal of Community Development Research (Humanities and Social Sciences), [S.l.], v. 9, n. 3, p. 57-66, dec. 2016. ISSN 2985-0231. Available at: <https://www.journal.nu.ac.th/JCDR/article/view/1595>. Date accessed: 27 apr. 2024.