A Study of Earthquake and Volcanoes’ Concept of Grade XII Students / การศึกษาแนวคิด เรื่อง แผ่นดินไหวและภูเขาไฟระเบิด ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6

##plugins.themes.bootstrap3.article.main##

Somruedee Makpiean, Ratana Sananmuang and Sirinapa Kijkuakul / สมฤดี มากเพียร รัตนา สนั่นเมือง และสิรินภา กิจเกื้อกูล

Abstract

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มุ่งสำรวจแนวคิด เรื่อง แผ่นดินไหวและภูเขาไฟระเบิด ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา เขต 39 จังหวัดพิษณุโลก กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียน จำนวน 30 คน แบ่งเป็นแผนการเรียนวิทยาศาสตร์ จำนวน 15 คน และแผนการเรียนที่ไม่เน้นวิทยาศาสตร์ จำนวน 15 คน โดยการสุ่มแบบกลุ่มสองขั้นตอน มาจากโรงเรียนขนาดใหญ่พิเศษ จำนวน 10 คน โรงเรียนขนาดกลาง จำนวน 10 คน และโรงเรียนขนาดเล็ก จำนวน 10 คน เครื่องมือวิจัย ได้แก่ แบบสำรวจแนวคิดและแบบสัมภาษณ์ประกอบภาพตัวอย่างในการสำรวจ เรื่อง แผ่นดินไหวและภูเขาไฟระเบิด ได้แบ่งเป็นแนวคิดเป็น 6 แนวคิดย่อย ได้แก่ 1. การแบ่งโครงสร้างโลก 2. กระบวนการเปลี่ยนแปลงทางธรณีภาคของโลก 3. กระบวนการเกิดภูเขา รอยเลื่อน รอยคดโค้ง แผ่นดินไหว ภูเขาไฟระเบิด 4. ปรากฏการณ์ทางธรณีวิทยา 5. โครงสร้างทางธรณีวิทยา 6. ประโยชน์ของข้อมูลทางธรณีวิทยา จากนั้นก็นำแนวคิดที่ได้จากการสำรวจมาวิเคราะห์เชิงเนื้อหาแล้วจัดจำแนกเป็น 5 กลุ่ม ได้แก่ แนวคิดเชิงวิทยาศาสตร์หรือแนวคิดที่ถูกต้อง (SU) แนวคิดเชิงวิทยาศาสตร์บางส่วนหรือแนวคิดถูกต้องบางส่วน (PU) แนวคิดทางวิทยาศาสตร์บางส่วนผนวกแนวคิดที่คลาดเคลื่อนบางส่วน (PU/MU) แนวคิดที่คลาดเคลื่อนหรือไม่มีแนวคิดวิทยาศาสตร์หรือแนวคิดที่ไม่ถูกต้อง (SM) ไม่มีแนวคิดหรือไม่ตอบคำถาม (NU) ผลการวิจัย ตอนที่ 1 พบว่า นักเรียนส่วนใหญ่ มีแนวคิดวิทยาศาสตร์บางส่วนผนวกแนวคิดที่คลาดเคลื่อนบางส่วน (PU/MU) เกี่ยวกับแผ่นดินไหวและภูเขาไฟระเบิด และพบว่า นักเรียนมีแนวคิดเชิงวิทยาศาสตร์หรือแนวคิดที่ถูกต้อง (SU) เกี่ยวกับกระบวนการเปลี่ยนแปลงทางธรณีภาคของโลกมากที่สุด (ร้อยละ 16.66) ตอนที่ 2 เมื่อวิเคราะห์แนวคิดของนักเรียนแบ่งตามสายการเรียน พบว่า นักเรียนสายการเรียนวิทยาศาสตร์มีแนวคิดเชิงวิทยาศาสตร์หรือแนวคิดที่ถูกต้อง(SU) เกี่ยวกับประโยชน์ของข้อมูลทางธรณีวิทยา มากกว่านักเรียนสายการเรียนที่ไม่เน้นวิทยาศาสตร์ แต่นักเรียนสายการเรียนที่ไม่เน้นวิทยาศาสตร์ มีแนวคิดเชิงวิทยาศาสตร์หรือแนวคิดที่ถูกต้อง (SU) เกี่ยวกับกระบวนการเปลี่ยนแปลงทางธรณีภาคของโลกมากกว่านักเรียนสายการเรียนวิทยาศาสตร์ ตอนที่ 3 เมื่อวิเคราะห์แนวคิดของนักเรียนแบ่งตามขนาดของโรงเรียน พบว่า นักเรียนในโรงเรียนขนาดใหญ่พิเศษ นักเรียนโรงเรียนขนาดกลาง และนักเรียนโรงเรียนขนาดเล็ก มีความเข้าใจแนวคิด เรื่อง แผ่นดินไหวและภูเขาไฟระเบิด คล้ายกัน ซึ่งนักเรียนส่วนใหญ่มีความเข้าใจแบบมีแนวคิดวิทยาศาสตร์บางส่วน ผนวกแนวคิดที่คลาดเคลื่อนบางส่วน (PU/MU)

 

คำสำคัญ: แนวคิด  นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6  แผ่นดินไหว  ภูเขาไฟ

 

Abstract

The main research objective is to explore Grade 12 students’ understandings of the earthquake and volcanos in Parmary Education Service Area office 39 in Phitsanulok province. Research samples are 15 science students and 15 non-science student, 30 students in total. Each 10 of these students were selected from the extra-large school, the medium school and the small school by two-stage clusten sampling. The research instrument are questionnaire and interview about instance. The understanding of the earthquake and volcanos is divided in 6 sub-understandings, the Earth’s structure, the Earth’s lithosphere, the original of mountains, faults, earthquake and volcanos, the geological effects, the geological structures and the benefits from geological data. Then, the students understandings were analyzed and sorted to 5 groups of understandings i.e. Scientific Understanding (SU), Partial Understanding (PU), Partial Understanding and Misconception (PU/MU, Misconception, Scientific Misconception (SM) and Without Answer, No Conception, No Understanding (NU).

In the first part of research results, most students had Partial Understanding and Misconception (PU/MU) about the earthquake and volcanos. They had Scientific Understanding (SU) about the Earth’s lithosphere (16.66%). In the second part of research results, science students had Scientific Understanding (SU) about the benefits from geological data more than non-science students, but non-science students had Scientific Understanding (SU) about the earth's lithosphere more than science students. In the third part of research results, students were selected from the extra-large school, the medium school and the small school, student in all understood of the earthquake and volcanos, similarly. Mostly, the students understood Partial Understanding and Misconception (PU/MU).

 

Keywords: Understanding, Grade XII Student, Earthquake, Volcanos


Keywords
แนวคิด นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 แผ่นดินไหว ภูเขาไฟ Understanding, Grade XII Student, Earthquake, Volcanos
Section
Research Articles

##plugins.themes.bootstrap3.article.details##

How to Cite
AND SIRINAPA KIJKUAKUL / สมฤดี มากเพียร รัตนา สนั่นเมือง และสิรินภา กิจเกื้อกูล, Somruedee Makpiean, Ratana Sananmuang. A Study of Earthquake and Volcanoes’ Concept of Grade XII Students / การศึกษาแนวคิด เรื่อง แผ่นดินไหวและภูเขาไฟระเบิด ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6. Journal of Community Development Research (Humanities and Social Sciences), [S.l.], v. 9, n. 2, p. 128-142, aug. 2016. ISSN 2985-0231. Available at: <https://www.journal.nu.ac.th/JCDR/article/view/1443>. Date accessed: 27 apr. 2024.