Mangrove Self-reliance Community Plan from Applying Participatory Rural Appraisals Tools in Hua Khao Community, Singhanakorn District, Songkhla Province / แผนอนุรักษ์และจัดการป่าชายเลนด้วยตนเองจากการใช้เครื่องมือประเมินชนบท แบบมีส่วนร่วมของชุมชนตำบลหัวเขา อำเภอสิงหนคร จังหวัดสงขลา

##plugins.themes.bootstrap3.article.main##

Pilaiwan Prapruit and Pornpimon Chuaduangpui / พิไลวรรณ ประพฤติ และ พรพิมล เชื้อดวงผุย

Abstract

บทคัดย่อ

     การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ศักยภาพชุมชนในการบริหารจัดการป่าชายเลน และจัดทำเป้าประสงค์ในยุทธศาสตร์การพึ่งพาตนเองในแผนชุมชน โดยใช้เครื่องมือประเมินชนบทแบบมีส่วนร่วม และแบบสอบถามเชิงโครงสร้างกับกลุ่มตัวอย่าง 360 ครัวเรือน
ผลการศึกษาประวัติของชุมชนที่เกี่ยวข้องกับป่าชายเลน พบว่า สามารถแบ่งได้เป็น 3 ช่วงเวลา ได้แก่ (1) ช่วงการใช้ประโยชน์ป่าชายเลนแบบดั้งเดิม (อดีต-พ.ศ.2536) (2) ช่วงความเสื่อมโทรมของป่าชายเลน (พ.ศ.2537-2539) และ (3) ช่วงความตื่นตัวในกระแสการอนุรักษ์ป่าชายเลน (พ.ศ.2540-ปัจจุบัน) ความคิดเห็นเกี่ยวกับประโยชน์ของป่าชายเลนชุมชน พบว่า สมาชิกชุมชนร้อยละ 98.3 เห็นประโยชน์ของป่า-ชายเลนในการเป็นที่อยู่อาศัย เพาะพันธุ์ และอนุบาลสัตว์น้ำ ร้อยละ 85 เห็นว่า ป่าชายเลนช่วยรักษาสมดุลของระบบนิเวศทะเลสาบสงขลา ร้อยละ 80 เห็นว่า ป่าชายเลนเป็นที่กำบังลมพายุและลดการกัดเซาะชายฝั่ง ร้อยละ 79.7 เห็นว่า ป่าชายเลนเป็นแหล่งรายได้จากการทำประมง และร้อยละ 65.3 เห็นว่า ป่าชายเลนเป็นแหล่งเรียนรู้ของชุมชน รายได้ของครัวเรือนที่มาจากป่าชายเลน พบว่า สมาชิกส่วนใหญ่ร้อยละ 50.6 มีรายได้จากป่าชายเลนต่ำกว่า 10,000 บาทต่อครัวเรือนต่อเดือน และร้อยละ 39.7 มีรายได้จากป่าชายเลน 10,000-20,000 บาทต่อครัวเรือนต่อเดือน การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมและศักยภาพของชุมชน (SWOT Analysis) พบว่า ชุมชนมีจุดแข็งและโอกาสในด้านการจัดการทรัพยากรป่าไม้ ทรัพยากรประมง องค์ความรู้และภูมิปัญญาที่โดดเด่น การวิเคราะห์เพื่อกำหนดยุทธ์ศาสตร์ (TOWS Matrix) พบว่า เป้าประสงค์ในยุทธศาสตร์การพึ่งพาตนเอง ได้แก่ การปรับโครงสร้างกลุ่มองค์กรให้ชัดเจน การเพิ่มพูนความรู้แก่คณะกรรมการกลุ่ม การขับเคลื่อนกิจกรรมกลุ่มการสร้างความร่วมมือในการดำเนินงานกับสมาชิกในชุมชน การสร้างความรู้ในการอนุรักษ์ป่าชายเลนแก่สมาชิกชุมชน การเพิ่มความหลากหลายของพันธุ์พืชในป่าชายเลน การส่งเสริมกิจกรรมกลุ่ม การลดการพึ่งพาทรัพยากรประมงจากธรรมชาติที่มากเกินไป การเสริมสร้างการมีส่วนร่วมของสมาชิกในชุมชน การต่อยอดภูมิปัญญาสู่สถาบันการศึกษา การสอดแทรกเอกลักษณ์ชุมชนในผลิตภัณฑ์ของชุมชน และการส่งเสริมทัศนคติที่ดีในการรวมตัวเป็นกลุ่มอาชีพ

 

คำสำคัญ: การอนุรักษ์ป่าชายเลน  แผนชุมชนด้วยตนเอง  ชุมชนหัวเขา  อำเภอสิงหนคร  การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมและศักยภาพ

การวิเคราะห์เพื่อกำหนดยุทธศาสตร์

 

Abstract

     The research aimed to analyze the potential of local communities to manage their mangrove forests, and to develop self-reliance strategic goals in the Community Plan. Tools used to evaluate the community were Participatory Rural Appraisal and structured questionnaire with a sample group of 360 households. The results reviewed that the community’s past with respect to the mangrove forest were divided into three periods, as follows: (1) period of traditional ways of using the mangrove forest (from the distant past-1993); (2) period of degradation of the mangrove forest (1994-1996); and (3) period of awareness of mangrove forest conservation (1997-present). Community members’ attitudes about the benefits of the mangrove forest were summarized as follows: 98.3% agreed that the mangrove forest was the habitat, breeding and nursery ground for aquatic animals, 85% agreed that the mangrove forest helped to maintain the balance of Songkhla Lake’s ecosystem, 80% agreed that the mangrove forest was a wind and wave barrier and reduced coastal erosion, 79.7% agreed that the mangrove forest was a source of fishery income and 65.3% agree that the mangrove forest was a community learning center. Regarding income, 50.6% of households earned less than 10,000 baht per month. 39.7% of households earned between 10,000 and 20,000 baht per month. A SWOT Analysis of the environment and the community’s potential revealed that the community’s opportunities and strengths the management relied on forest and fishing resources as well as utilizing its indigenous knowledge and folk wisdom. The self-reliance strategic goals were to clarify the group’s organizational structure, to increase the board members’ knowledge, to stimulate the local group’s activities, to build cooperation among community members in operation, to build mangrove forest conservation knowledge for community members, to increase biodiversity in the mangrove forest, to support the group’s activities, to reduce excess dependence on natural fishery resources, to strengthen participation of community members, to incorporate the local wisdom into education institutions, to insert the community identity in the community’s products, and to promote the positive attitudes of community members in forming occupation groups.

 

Keywords: Mangrove Conservation, Self-Reliance Community Plan, Hua Khao Community, Singhanakorn District, SWOT, TOWS

 


Keywords
การอนุรักษ์ป่าชายเลน แผนชุมชนด้วยตนเอง ชุมชนหัวเขา อำเภอสิงหนคร การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมและศักยภาพ การวิเคราะห์เพื่อกำหนดยุทธศาสตร์ Mangrove Conservation, Self-Reliance Community Plan, Hua Khao Community, Singhanakorn District, SWOT, TOWS
Section
Research Articles

##plugins.themes.bootstrap3.article.details##

How to Cite
CHUADUANGPUI / พิไลวรรณ ประพฤติ และ พรพิมล เชื้อดวงผุย, Pilaiwan Prapruit and Pornpimon. Mangrove Self-reliance Community Plan from Applying Participatory Rural Appraisals Tools in Hua Khao Community, Singhanakorn District, Songkhla Province / แผนอนุรักษ์และจัดการป่าชายเลนด้วยตนเองจากการใช้เครื่องมือประเมินชนบท แบบมีส่วนร่วมของชุมชนตำบลหัวเขา อำเภอสิงหนคร จังหวัดสงขลา. Journal of Community Development Research (Humanities and Social Sciences), [S.l.], v. 9, n. 1, p. 149-162, apr. 2016. ISSN 2985-0231. Available at: <https://www.journal.nu.ac.th/JCDR/article/view/1300>. Date accessed: 19 apr. 2024.