Causal Relationship Model of the Factors Effecting Research Productivity of Instructors of Rajamangala University of Technology Lanna / รูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยที่ส่งผลต่อผลิตภาพการวิจัยของอาจารย์มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา

##plugins.themes.bootstrap3.article.main##

Wiroj Mongkolthep, Chamnan Panawong, Pak วิโรจน์ มงคลเทพ, ชำนาญ ปาณาวงษ์, ปกรณ์ ประจันบาน และเอื้อมพร หลินเจริญ

Abstract

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลิตภาพการวิจัยและปัจจัยที่ส่งผลต่อผลิตภาพการวิจัยของอาจารย์มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา และเพื่อพัฒนารูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยที่ส่งผลต่อผลิตภาพการวิจัยของอาจารย์มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ อาจารย์มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา จำนวน 455 คน สุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นภูมิ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติพื้นฐาน และการวิเคราะห์ความสัมพันธ์โครงสร้างเชิงเส้นด้วยโปรแกรม SPSS และโปรแกรม LISREL ผลการวิจัย พบว่า

1.  ผลิตภาพการวิจัยของอาจารย์มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนาในรอบสามปีที่ผ่านมา มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 1.15 เรื่องต่อปี และมีค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.90 เรื่องต่อปี
2.  ปัจจัยที่ส่งผลต่อผลิตภาพการวิจัยของอาจารย์มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ประกอบด้วย 4 ปัจจัย ได้แก่ 1) ปัจจัยส่วนบุคคลภายนอก ประกอบด้วย เพศ อายุ ระดับการศึกษา ภาระงาน ประสบการณ์ในการทำงาน และประสบการณ์ในการทำวิจัย 2) ปัจจัยส่วนบุคคลภายใน ประกอบด้วย ลักษณะนิสัยที่เอื้อต่อการทำวิจัย แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ในการทำวิจัย และการรับรู้ความสามารถของตนในการทำวิจัย 3) ปัจจัยสมรรถนะการวิจัย ประกอบด้วย ความรู้ในการวิจัย ทักษะในการทำวิจัย และเจตคติต่อการทำวิจัย และ 4) ปัจจัยสภาพแวดล้อมในการวิจัย ประกอบด้วย การสนับสนุนของหน่วยงานและผู้บริหาร เงินทุนสนับสนุนการวิจัย เวลาในการทำวิจัย วัสดุอุปกรณ์และสิ่งอำนวยความสะดวก แหล่งค้นคว้าในการทำวิจัย บรรยากาศการวิจัย ผลตอบแทน/รางวัล และความร่วมมือระหว่างนักวิจัย

3.  รูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยที่ส่งผลต่อผลิตภาพการวิจัยของอาจารย์มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนาที่พัฒนาขึ้น มีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ดี (Chi-square = 16.380, df = 55, p-value = 1.0000, GFI = 0.997, AGFI = 0.986, RMSEA = 0.000) ปัจจัยที่มีอิทธิพลรวมต่อผลิตภาพการวิจัยสูงสุด คือ ปัจจัยสมรรถนะการวิจัย รองลงมา คือ ปัจจัยส่วนบุคคลภายใน ปัจจัยส่วนบุคคลภายนอก และปัจจัยสภาพแวดล้อมในการวิจัย ตามลำดับ และตัวแปรในรูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยที่ส่งผลต่อผลิตภาพการวิจัยของอาจารย์มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา สามารถอธิบายความแปรปรวนของผลิตภาพการวิจัยได้ร้อยละ 76.1

 

คำสำคัญ: รูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุ  ผลิตภาพการวิจัย 

 

The purposes of this research were to determine research productivity and the factors effecting research productivity of instructors of Rajamangala University of Technology Lanna, and develop the causal relationship model of the factors effecting research productivity of instructors of Rajamangala University of Technology Lanna. The sample consisted of 455 instructors of Rajamangala University of Technology Lanna, obtained using the stratified random sampling technique. The research instrument was a questionnaire. The data were analyzed by the uses of descriptive statistics and linear structural relationship analysis using SPSS and LISREL. The results were as follows:

1.  The research productivity of instructors of Rajamangala University of Technology Lanna as measured within last three years had a mean of 1.15 and standard deviation of 0.90.

2.  Four factors effecting research productivity of instructors of Rajamangala University of Technology Lanna consisted of 1) the external personal factor consisted of sex, age, education level, working load, working experience and research experience 2) the internal personal factor consisted of research habit, research achievement motivation and research self-efficacy 3) the research capacity factor consisted of research knowledge, research skill and research attitude and 4) the research environmental factors consisted of support of organization and executive, research fund, research time, materials and facilities, research resources, research environment, reward and cooperation of researchers.

3.  The causal relationship model of the factors effecting research productivity of instructors of Rajamangala University of Technology Lanna was fitted with empirical data (c2 = 16.380, df = 55, p-value = 1.0000, GFI = 0.997, AGFI = 0.986, RMSEA = 0.000). The most effecting factor through research productivity is the research capacity factor, followed by the internal personal factor, the external personal factor, and the research environmental factor, respectively. The variables within the causal relationship model of the factors effecting research productivity of instructors of Rajamangala University of Technology Lanna could explain about 76.1 percent of the variance of research productivity.

 

Keywords: Causal Relationship Model, Research Productivity 


Keywords
รูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุ ผลิตภาพการวิจัย Causal Relationship Model, Research Productivity
Section
Research Articles

##plugins.themes.bootstrap3.article.details##

How to Cite
วิโรจน์ มงคลเทพ, ชำนาญ ปาณาวงษ์, ปกรณ์ ประจันบาน และเอื้อมพร หลินเจริญ, Wiroj Mongkolthep, Chamnan Panawong, Pak. Causal Relationship Model of the Factors Effecting Research Productivity of Instructors of Rajamangala University of Technology Lanna / รูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยที่ส่งผลต่อผลิตภาพการวิจัยของอาจารย์มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา. Journal of Community Development Research (Humanities and Social Sciences), [S.l.], v. 8, n. 2, p. 122-134, aug. 2015. ISSN 2985-0231. Available at: <https://www.journal.nu.ac.th/JCDR/article/view/1029>. Date accessed: 26 apr. 2024. doi: https://doi.org/10.14456/jcdr.v8i2.1029.