Competency Development Model for Primary School Teachers / รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะตามมาตรฐานการปฏิบัติงานของครูผู้สอนระดับประถมศึกษา

##plugins.themes.bootstrap3.article.main##

Somsak Boonkham Phasai Phawatrungreang and Pakorn Phachanban / สมศักดิ์ บุญขำ, ปราศรัย ประวัติรุ่งเรือง และปกรณ์ ประจันบาน

Abstract

การวิจัยเชิงพัฒนานี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการพัฒนาสมรรถนะตามมาตรฐานการปฏิบัติงานของครูผู้สอนระดับประถมศึกษา โดยมีวิธีดำเนินการวิจัยแบ่งเป็น 4 ขั้นตอน ดังนี้ ขั้นตอนที่ 1 วิเคราะห์และสังเคราะห์องค์ประกอบของรูปแบบการพัฒนาสมรรถนะตามมาตรฐานการปฏิบัติงานของครูผู้สอนระดับประถมศึกษา วิธีการพัฒนาสมรรถนะและกระบวนการพัฒนาสมรรถนะตามมาตรฐานการปฏิบัติงานของครูผู้สอนระดับประถมศึกษา โดยการวิเคราะห์และสังเคราะห์เอกสารที่เกี่ยวข้อง ขั้นตอนที่ 2 สร้างรูปแบบการพัฒนาสมรรถนะตามมาตรฐานการปฏิบัติงานของครูผู้สอนระดับประถมศึกษา โดยนำข้อมูลการวิจัยจากขั้นตอนที่ 1 มาประกอบการยกร่างรูปแบบฯ ตรวจสอบความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของรูปแบบฯ โดยผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 17 คน ขั้นตอนที่ 3 ทดลองใช้รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะตามมาตรฐานการปฏิบัติงานของครูผู้สอนระดับประถมศึกษา ในโรงเรียนที่สมัครใจเข้าร่วมการทดลอง จำนวน 1 โรงเรียน โดยใช้รูปแบบการทดลองกลุ่มเดียวกับครูผู้สอนระดับประถมศึกษา จำนวน 15 คน ศึกษาผลการประเมินสมรรถนะตามมาตรฐานการปฏิบัติงานของครูผู้สอนระดับประถมศึกษาทั้งก่อนการทดลองและหลังการทดลอง (One Group Pre-test Post-test) และขั้นตอนที่ 4 ประเมินความเป็นประโยชน์ของรูปแบบการพัฒนาสมรรถนะตามมาตรฐานการปฏิบัติงานของครูผู้สอนระดับประถมศึกษา
โดยสอบถามความคิดเห็นของครูผู้สอนที่อยู่ในกลุ่มทดลอง จำนวน 15 คน

     ผลการวิจัย พบว่า รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะตามมาตรฐานการปฏิบัติงานของครูผู้สอนระดับประถมศึกษา มีองค์ประกอบสำคัญ 3 องค์ประกอบ คือ องค์ประกอบที่ 1 สมรรถนะตามมาตรฐานการปฏิบัติงานของครูผู้สอน ประกอบด้วย 7 สมรรถนะ ได้แก่ สมรรถนะการพัฒนาตนเอง สมรรถนะการทำงานเป็นทีม สมรรถนะการจัดการเรียนรู้ สมรรถนะการพัฒนาผู้เรียน สมรรถนะการบริหารจัดการ
ชั้นเรียน สมรรถนะการวิเคราะห์และวิจัย และสมรรถนะการทำงานร่วมกับชุมชน องค์ประกอบที่ 2 หลักการพัฒนาสมรรถนะตามมาตรฐานการปฏิบัติงานของครูผู้สอน ประกอบด้วย 5 หลักการ ได้แก่ หลักการมีส่วนร่วมของผู้รับการพัฒนา หลักการเรียนรู้ของผู้ใหญ่ หลักการสนองความต้องการของผู้รับการพัฒนาและสอดคล้องกับนโยบายของสถานศึกษา หลักการความยืดหยุ่นของกระบวนการและวิธีการ
ที่หลากหลาย และหลักการความแตกต่างระหว่างบุคคล และองค์ประกอบที่ 3 กระบวนการพัฒนาสมรรถนะตามมาตรฐานการปฏิบัติงานของครูผู้สอน แบ่งออกเป็น 4 ขั้น คือ ขั้นที่ 1 การสร้างความต้องการในการพัฒนา ขั้นที่ 2 การวางแผนการพัฒนาสมรรถนะ ขั้นที่ 3 การดำเนินการพัฒนาสมรรถนะ และขั้นที่ 4 การประเมินผลการพัฒนา ซึ่งเป็นรูปแบบที่ผู้เชี่ยวชาญให้การรับรองความเหมาะสมและประเมินความเป็นไปได้ โดยผู้เชี่ยวชาญมีความเห็นว่า รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะตามมาตรฐานการปฏิบัติงานของครูผู้สอนระดับประถมศึกษามีความเหมาะสมและความเป็นไปได้อยู่ในระดับมากที่สุด และครูผู้ร่วมการทดลองมีความเห็นว่า การนำรูปแบบการพัฒนาสมรรถนะตามมาตรฐานการปฏิบัติงานของครูผู้สอนระดับประถมศึกษาไปใช้มีความเป็นประโยชน์อยู่ในระดับมากที่สุด

 

คำสำคัญ: การพัฒนาสมรรถนะ  ครูผู้สอนระดับประถมศึกษา  มาตรฐานการปฏิบัติงาน

 

The objective of this research was to development the competency development model for primary school teachers. There are four steps. Step 1: Analysis and synthesis of elements of the model development by the operational performance of the primary teachers. How to development the competencies and competency-based performance standards for primary teachers by analyzing and synthesizing relevant documents. Step 2: Create a competency-based performance standards for primary teachers. The data from the phase 1 study attributed the draft's model. Check the suitability and feasibility of the model by 17 experts. Step 3:
Test the model development ability performance standards of primary teachers. One schools was volunteered to participate in the experiment with 15 primary teachers to study performance evaluation based on the performance of primary school teachers both before and after the experiment. Step 4: Evaluate the performance benefits of a development model on the performance of primary teachers with 15 teachers in the experimented group.

     The results showed the competency development model for primary school teachers. There are three components: Component 1: Competencies development for primary school teachers consist of seven ways: capacity development of oneself, performance teamwork, capacity of learning, capacity development of students, the learning performance and classroom management, performance analysis and research, and performance with the community. Component 2: The competencies of primary school teachers consist of five principles: the contribution of the recipients development, the principles of adult learning, the needs of the recipient to develop and comply with school policy, the flexibility of the process and how to adapt with them, and the differences between individuals, and Component 3: The competencies of primary school teachers, consist of four steps: Step 1: Create a demand for the development of stage. Step 2: Planning the development stage. Step 3: Acting development stage. Step 4:
The evaluation of development. The expert's opinion the competencies development model for primary school teachers are appropriate and feasible. The primary teachers are the opinion that are the most helpful.

 

Keywords: Competencies Development, Primary Teachers, Performance Standards


Keywords
การพัฒนาสมรรถนะ ครูผู้สอนระดับประถมศึกษา มาตรฐานการปฏิบัติงาน Competencies Development, Primary Teachers, Performance Standards
Section
Research Articles

##plugins.themes.bootstrap3.article.details##

How to Cite
AND PAKORN PHACHANBAN / สมศักดิ์ บุญขำ, ปราศรัย ประวัติรุ่งเรือง และปกรณ์ ประจันบาน, Somsak Boonkham Phasai Phawatrungreang. Competency Development Model for Primary School Teachers / รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะตามมาตรฐานการปฏิบัติงานของครูผู้สอนระดับประถมศึกษา. Journal of Community Development Research (Humanities and Social Sciences), [S.l.], v. 8, n. 2, p. 43-57, aug. 2015. ISSN 2985-0231. Available at: <https://www.journal.nu.ac.th/JCDR/article/view/1022>. Date accessed: 26 apr. 2024. doi: https://doi.org/10.14456/jcdr.v8i2.1022.