%A Muangsiri, Kanokwan %A Maharachpong, Nipa %A Rodjarkpai, Yuvadee %D 2017 %T ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อพฤติกรรมการป้องกันการหกล้มของผู้สูงอายุ จังหวัดชลบุรี %K Elderly, Fall, Belief, Fall Prevention Behavior %X         การวิจัยแบบตัดขวางครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อพฤติกรรมการป้องกันการหกล้มของผู้สูงอายุ จังหวัดชลบุรี กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้สูงอายุ ที่มีอายุ 60 ปีขั้นไป อาศัยอยู่ในจังหวัดชลบุรี จำนวน 370 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์ซึ่งประกอบด้วย 6 ส่วน คือ ข้อมูลส่วนบุคคลและประวัติการหกล้ม ความเชื่อเกี่ยวกับการป้องกันการหกล้ม ทักษะการประเมินสภาพแวดล้อมที่เสี่ยงภายในบ้าน  สภาพแวดล้อมภายในบ้าน การได้รับกำลังใจและการกระตุ้นเตือน และ พฤติกรรมการป้องกันการหกล้ม  วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติการแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน  วิเคราะห์หาความสัมพันธ์ด้วยสถิติไคสแควร์ (Chi-square test)      ผลการศึกษาพบว่าผู้สูงอายุผู้สูงอายุ ร้อยละ 44.1 มีการหกล้มในรอบปีที่ผ่านมา มีพฤติกรรมการป้องกันการหกล้มในระดับสูง ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อพฤติกรรมการป้องกันการหกล้มของผู้สูงอายุ จังหวัดชลบุรี ประกอบด้วย ปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ เพศ (P = 0.01)ความเชื่อเกี่ยวกับการป้องกันการหกล้ม (P >0.01) และความกลัวการหกล้ม (P >0.01)      ผลการศึกษาวิจัยครั้งนี้ ทำให้เข้าใจเกี่ยวกับความเชื่อเกี่ยวกับการป้องกันการหกล้มและพฤติกรรมการป้องกันการหกล้มของผู้สูงอายุซึ่งข้อมูลดังกล่าวสามารถนำไปใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานสำหรับบุคลากรทางด้านสุขภาพ เพื่อส่งเสริมทักษะด้านพฤติกรรมการป้องกันการหกล้มของผู้สูงอายุต่อไป คำสำคัญ :  ผู้สูงอายุ, การหกล้ม, การหกล้ม ของ ผู้สูงอายุ, ความเชื่อเกี่ยวกับการป้องกันการหกล้ม,  พฤติกรรมการป้องกันการหกล้ม      This cross-sectional study aimed to investigate a factor related to the behavior of fall prevention among elderly in Chonburi Province. The samples were 370 elderly aged 60 and above.  An Interviewing questionnaire was used as research tools for data collection. The questionnaire comprised 6 parts: demographic information and history of falls; fall prevention beliefs; skills for assessing risky environment in own home; home environment; encouragement andstimulation from family, and fall prevention behavior. Data were analyzed using descriptive statistics percent, mean, standard deviation and Chi-square test.      The finding showed that approximately 44.1% of elderly fall at least one time in prior year. Fall prevention behavior of elderly was at the highlevel. The factors associated with fall prevention behavior consisted of gender (P = 0.01), their belief in fall prevention (P >0.01), and fear of falling (P>0.01). The findings of this study led to the understanding in fall prevention belief together with fall prevention behavior. Rewrite as this basic information could be used for the health personnel to continually increase the effectiveness of health promotion in fall prevention among elderly.   Keywords: Elderly, Fall, Belief, Elderly fall, Fall Prevention belief, Fall Prevention Behavior %U https://www.journal.nu.ac.th/NUJST/article/view/Factors%20relating%20the%20Behaviop%20of%20Fall%20Prevention%20among%20Elderly%20in%20Chonburi%20Province %J Naresuan University Journal: Science and Technology (NUJST) %0 Journal Article %P 23-33%V 25 %N 4 %@ 2539-553X %8 2017-09-15