%A Kirati Poomphakwaen / จุไรรัตน์ อาจแก้ว และกีรติ ภูมิผักแว่น, Jurairat ardkaew and %D 2016 %T Modeling incidence rates of childhood diarrhea in upper Northeastern Thailand / ตัวแบบอัตราอุบัติการณ์โรคอุจจาระร่วงในเด็ก ในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนของประเทศไทย %K อุบัติการณ์โรคอุจจาระร่วง โรคอุจจาระร่วงในเด็ก เด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี ตัวแบบอัตราอุบัติการณ์ ตัวแบบการถดถอยเชิงเส้นของลอกการิทึม diarrhea incidence, childhood diarrhea, children aged less than 5 years old, modeling incidence rates, log-transformed linear re %X บทคัดย่อ      การวิจัยนี้ ประยุกต์ใช้วิธีการทางสถิติสำหรับการสร้างตัวแบบเชิงเวลาและเชิงพื้นที่ของอุบัติการณ์โรคอุจจาระร่วงในเด็ก ในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนของประเทศไทย โดยใช้ข้อมูลจากระบบเฝ้าระวังโรคด้วยบัตรรายงาน 506 สำนักระบาดวิทยา กระทรวงสาธารณสุข ในปี พ.ศ. 2542-2553 ของเจ็ดจังหวัด ประกอบด้วย เลย หนองบัวลำภู อุดรธานี หนองคาย สกลนคร นครพนม และมุกดาหาร และใช้ข้อมูลจำนวนประชากรจากสำมะโนประชากรประเทศไทย ปี พ.ศ. 2543             การวิเคราะห์ตัวแบบของอุบัติการณ์โรคอุจจาระร่วงในเด็ก ศึกษาจากเจ็ดจังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน โดยสร้างตัวแบบการถดถอยเชิงเส้นของลอการิทึมของอุบัติการณ์การเกิดโรค โดยมีตัวแปร ไตรมาส ปี และอำเภอ เป็นตัวแปรต้น จากการตรวจสอบกราฟของเศษเหลือ พบว่าตัวแบบที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้เหมาะสมกับข้อมูล ผลการวิจัยพบว่า อิทธิพลของฤดูกาลมีผลให้อุบัติการณ์โรคอุจจาระร่วงสูงในสองไตรมาสแรกของปี และในปี พ.ศ. 2542 2543 2547 2549 2550 และ 2553 เกิดอุบัติการณ์โรคอุจจาระร่วงสูงกว่าค่าเฉลี่ยในรอบ 12 ปี โดยอุบัติการณ์โรคอุจจาระร่วงมีแนวโน้มลดลงจากปี พ.ศ. 2542-2546 แต่มีอัตราเพิ่มขึ้นในปี พ.ศ.2547 และค่อนข้างคงที่ถึงปี พ.ศ. 2550 แต่มีแนวโน้มลดลงอีกในปี พ.ศ. 2551 และกลับสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องจนถึงปี พ.ศ. 2553 อำเภอที่มีอุบัติการณ์โรคอุจจาระร่วงสูงมีจำนวน 37 อำเภอเมื่อเปรียบเทียบกับค่าเฉลี่ยรวมของทั้ง 94 อำเภอ และอำเภอที่มีอุบัติการณ์โรคอุจจาระร่วงสูงเป็น 3 อันดับแรก คือ อำเภอภูกระดึง จังหวัดเลย  อำเภอภูเรือ จังหวัดเลย และ อำเภอสังคม จังหวัดหนองคาย ตามลำดับ ส่วนอำเภอที่มีอุบัติการณ์โรคอุจจาระร่วงต่ำสุด คือ อำเภอสว่างแดนดิน จังหวัดสกลนคร      ตัวแบบในการศึกษาครั้งนี้ให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์กับการวางนโยบายและแผนทางด้านสาธารณสุข รวมถึงสามารถใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานเพื่อช่วยในการสร้างโปรแกรมการป้องกันการเกิดโรคในเขตพื้นที่ที่มีอุบัติการณ์สูงในช่วงไตรมาสแรกและไตรมาสที่สองของปีได้อย่างมีประสิทธิภาพ   คำสำคัญ : อุบัติการณ์โรคอุจจาระร่วง โรคอุจจาระร่วงในเด็ก เด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี ตัวแบบอัตราอุบัติการณ์  ตัวแบบการถดถอยเชิงเส้นของลอกการิทึม     Abstract      This research develops statistical methods to describe the temporal and spatial model of childhood diarrhea in the upper Northeastern Thailand. The data was obtained from National Notifiable Disease Surveillance (Report#506), Bureau of Epidemiology, Ministry of Public Health, from 1999 to 2010, covering the province of Loei, Nongbua LumPhu, Udon Thani, Nong Khai, Sakon Nakhon, Nakhon Phanom, and Mukdahan. The demographic data was obtained from the 2000 Population and Housing census of Thailand. The analysis of childhood diarrhea incidence in the seven provinces was performed. Factors including quarterly season, year and district were fitted in the log-transformed linear regression model. According to the residuals plot, the model fitted reasonably well. Diarrhea incidences were substantially higher in the first two quarters of the year. The incidence rates were higher than the 12-year average in 1999, 2000, 2005, 2007, 2008 and 2010. They gradually decreased from 1999 to 2003, rebounded in 2004, stayed constant until 2007, dropped sharply in 2008 and gradually increased until 2010. The rates were high in 37 districts compared to the overall mean of 94 districts. The three highest incidence rates occurred in Phukradung District and Phurue District of Loei, and Sangkom District of Nongkai, respectively. The lowest one was in Sawang Dandin, Sakonnakon. The model provides useful information for public health planning and policy implementation. It also provides basic information for health authorities to help establish effective prevention programs in specific areas where the disease incidence is relatively high during the first two quarters of the year.   Keywords: diarrhea incidence, childhood diarrhea, children aged less than 5 years old, modeling incidence rates, log-transformed linear regression model %U https://www.journal.nu.ac.th/NUJST/article/view/1546 %J Naresuan University Journal: Science and Technology (NUJST) %0 Journal Article %P 86-98%V 24 %N 3 %@ 2539-553X %8 2016-10-01