%A / Tarongwit Thongsain and Watanachai Monying, ธรงวิทย์ ทองเสี่ยน และวัฒนชัย หมั่นยิ่ง %D 2017 %T การศึกษานิเวศวิทยาวัฒนธรรมเชิงอนุรักษ์ในผลงานของคำพูน บุญทวี/A Study of Conservative Cultural Ecology in the Works of Khamphun Boonthawee %K นิเวศวิทยาวัฒนธรรม; อนุรักษ์ วิถีชีวิต; Cultural Ecology; Conservation; Livelihoods %X      งานวิจัยนี้ มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษานิเวศวิทยาวัฒนธรรมเชิงอนุรักษ์ในผลงานของคำพูน บุญทวี ให้เป็นที่รู้จักในวงวรรณกรรมของไทยให้กว้างขวางยิ่งขึ้น โดยการศึกษาครั้งนี้ มุ่งศึกษาในด้านนิเวศวิทยา และด้านวัฒนธรรมเชิงอนุรักษ์ในผลงานของคำพูน บุญทวี จำนวน 48 เล่ม ซึ่งแบ่งเป็น รวมเรื่องสั้น จำนวน 13 เล่ม นวนิยาย จำนวน 20 เล่ม และสารคดี จำนวน 15 เล่ม      ผลการวิจัย พบว่า ในส่วนของรวมเรื่องสั้น จำนวน 13 เล่ม พบว่า คำพูน บุญทวี มักเสนอภาพชาวอีสานและสังคมร่วมสมัยเป็นหลัก กล่าวคือ ชาวอีสานที่มุ่งหน้าเข้ามาแสวงโชคในเมืองหลวง อาศัยความอดทนเป็นเกณฑ์ตัดสินเรื่องค่าใช้จ่าย มีความสงบเสงี่ยมเจียมตนไม่ฟุ้งเฟ้อเห่อตามวัตถุนิยม แต่กระนั้นยังมีชาวอีสานจำนวนไม่น้อยที่ต้องพบชะตาชีวิตให้ดิ้นรนสู่การเป็นอาชญากรอย่างไม่รู้ตัว ในส่วนของนวนิยาย จำนวน 20 เล่ม พบว่า คำพูน บุญทวี มักเสนอภาพคนอีสานไม่แตกต่างกับรวมเรื่องสั้นมากนัก หากแต่ในส่วนของนวนิยายมีรายละเอียดในเรื่องคติความเชื่อดั้งเดิมของชาวอีสาน ตลอดจนขนบธรรมเนียมวิถีชีวิตของชาวอีสานอย่างเป็นกิจจะลักษณะ ดังจะเห็นได้จาก ความเชื่อในความศักดิ์สิทธิ์ของธรรมชาติ พบว่า ชาวอีสานเชื่อในเรื่องสิ่งศักดิ์สิทธิ์และอำนาจเหนือธรรมชาติที่ปรากฏในบทประพันธ์ของคำพูน บุญทวี นั่นคือ ภาพตัวแทนของชาวอีสาน ในการเชื่อและศรัทธาต่อเรื่องดังกล่าวอย่างแยกไม่ออกกับวิถีชีวิต โดยเฉพาะที่ปรากฏในฉากของทุ่งกุลาร้องไห้นั้น ชาวอีสานตั้งแต่โบราณสืบต่อถึงปัจจุบันถือเป็นเรื่องที่ชวนหวาดกลัวอย่างยิ่ง ทั้งนี้ เพราะความเชื่อที่สืบต่อกันมาว่า ในทุ่งกุลาร้องไห้นั้นเดิมทีมีเมืองเก่าตั้งอยู่ก่อน หากแต่ผู้ปกครองไม่ตั้งมั่นในศีลธรรมจรรยา ส่งผลให้เกิดเรื่องร้ายแรงจนถึงขั้นเมืองจมอยู่ใต้น้ำ และในส่วนของสารคดี จำนวน 15 เล่ม พบว่า คำพูน บุญทวี จงใจนำเสนอเรื่องเกี่ยวกับอาหารวิถีชีวิตคนอีสานพลัดถิ่นจำนวนมากที่เข้ามาแสวงโชคในเมืองหลวง เช่น “ฟ้าสั่งให้เกิดมาสู้” “ลูกอีสานต้องปฏิวัติ” “ลูกอีสานพเนจร (เล่ม 1)” “ลูกอีสานพเนจร (เล่ม 2)” หรือการที่คนอีสานออกไปแสวงโชคในต่างประเทศ เช่น เรื่อง “สีเด๋อย่ำเยอรมัน” “ลูกอีสานขี่เรือบิน” “คำพูนกลัวตาย” รวมทั้งยังมีเกร็ดประวัติศาสตร์ของคนอีสาน เช่น “เล่าขานตำนานผีภาคอีสาน” “เกร็ดประวัติศาสตร์อีสาน ผีบ้า ผีบุญ” “ยาคูขี้หอม” “สัตว์และแมลงที่คนอีสานกิน” “ผักพื้นบ้านอีสาน” “ตำนานคนเลี้ยงช้างจากชมพูทวีปถึงคนกุยหรือส่วย” และเรื่อง “คำให้การของคนคุก” “เพชฌฆาตผู้ฆ่าคนไม่ผิดกฎหมาย” โดยสองเรื่องหลังคำพูน บุญทวี ได้ข้อมูลจากตอนที่ตัวเองเป็นผู้คุมนักโทษ      This research aims to study the conservative cultural ecology in the works of Khamphun Boonthawee so that this concept becomes better known in the circle of Thai literature. This study focuses on the ecological and conservative cultural aspects in 48 works by Khamphun Boonthawee, divided into 13 short stories, 20 novels, and 15 documentaries.      The findings reveal that regarding the 13 short stories, Khamphun Boonthawee mainly presents the image of modern Northeastern people and society. In other words, the Northeastern people who journey into the capital city are patient in their spending, humble and non-materialistic. However, a number of Northeastern people end up being criminals unknowingly. Regarding the 20 novels, Khamphun Boonthawee presents the image of the Northeastern people that is not different from the short stories. Nevertheless, the novels feature details relating to traditional beliefs as well as customs and ways of life of the Northeastern people. This can be seen in their belief in the sacredness of nature.      The Northeastern people’s beliefs in sacred beings and supernatural power are reflected in Khamphun Boonthawee’s works. These beliefs represent the Northeastern people and are indistinguishable from their ways of life. The supernatural power depicted in the setting of Thoog Kula Rong Hai, in particular, is believed by Northeastern people of all generations from the old days up to the present day to be utterly frightening. It is believed that Thoong Kula Rong Hai used to be the location of an ancient city whose ruler was unethical. As a result, the city met its doom and sank into water. Regarding the 15 documentaries, Khamphun Boonthawee deliberately presents the local dishes cooked by many Northeastern migrants in Bangkok in such works as “Heaven Orders to Fight,” “Northeastern People Are for a Revolution,” “A Wandering Northeastern Child (Volume 1),” and “A Wandering Northeastern Child (Volume 2).” In such works as “Four Awkward People in Germany,” “A Northeastern Boy Takes the Plane,” and “Khamphun is Afraid of Death,” the lives of Northeastern people who seek a better fortune abroad are presented. Furthermore, historical trivia of the Northeastern people are presented in works such as “The Legends of Northeastern Ghosts,” “Historical Tales of the Northeast: Phee Ba, Phee Boon,” “Ya Khoo Khee Hom,” “Animals and Insects Eaten by Northeastern People,” “Local Vegetables of the Northeast,” “The Legend of an Indian Mahout to Gui or Suay People,” “A Statement of A Prisoner,” and “A Legal Killer.” The last two works are autobiographical related to the information the writer gained while working as a jailer. %U https://www.journal.nu.ac.th/JCDR/article/view/1953 %J Journal of Community Development Research (Humanities and Social Sciences) %0 Journal Article %P 124-138%V 10 %N 3 %@ 2985-0231 %8 2017-08-07