TY - JOUR AU - Kampongpee, Watsakorn AU - Parnichparinchai, Teamjan PY - 2017 TI - การพัฒนาตัวชี้วัดความเป็นพลเมืองของนิสิตระดับปริญญาตรี / A Development of Citizenship Indicators of Undergraduate Students JF - Journal of Community Development Research (Humanities and Social Sciences); Vol 10 No 4 (2560): October-December 2017 KW - Indicators, Citizenship, Undergraduate Students N2 -      การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาองค์ประกอบและตัวชี้วัดความเป็นพลเมืองของนิสิตระดับปริญญาตรี กลุ่มตัวอย่างได้แก่ นิสิตระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยนเรศวร ชั้นปีที่ 1–4 ปีการศึกษา 2558 จำนวน 400 คน ที่ได้จากการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถามคุณลักษณะความเป็นพลเมืองของนิสิตระดับปริญญาตรี โดยมีลักษณะเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการแจกแจงความถี่ คำนวณค่ามัธยฐาน ค่าพิสัยระหว่างควอไทล์ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ และทำการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันอันดับสองด้วยโปรแกรมลิสเรล เพื่อตรวจสอบความตรงเชิงโครงสร้างขององค์ประกอบ และตัวชี้วัดความเป็นพลเมืองของนิสิตระดับปริญญาตรี      ผลการวิจัย พบว่า องค์ประกอบและตัวชี้วัดความเป็นพลเมืองของนิสิตระดับปริญญาตรี มี 7 องค์ประกอบ 23 ตัวชี้วัด ได้แก่ องค์ประกอบที่ 1 มีอิสรภาพและพึ่งตนเอง ประกอบด้วย 3 ตัวชี้วัด องค์ประกอบที่ 2 มีความเท่าเทียมกัน ประกอบด้วย 2 ตัวชี้วัด องค์ประกอบที่ 3 ยอมรับความแตกต่าง ประกอบด้วย 2 ตัวชี้วัด องค์ประกอบที่ 4 เคารพสิทธิของตนเองและผู้อื่น ประกอบด้วย 3 ตัวชี้วัด องค์ประกอบที่ 5 รับผิดชอบต่อสังคม ประกอบด้วย 5 ตัวชี้วัด องค์ประกอบที่ 6 เข้าใจระบอบประชาธิปไตยและมีส่วนร่วม ประกอบด้วย 4 ตัวชี้วัด องค์ประกอบที่ 7 มีคุณธรรม จริยธรรม ประกอบด้วย 4 ตัวชี้วัด โมเดลองค์ประกอบและตัวชี้วัดความเป็นพลเมืองของนิสิตระดับปริญญาตรี ที่พัฒนาขึ้นสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ดี มีค่าสถิติวัดระดับความกลมกลืนระหว่างโมเดลกับข้อมูลเชิงประจักษ์ ดังนี้ ค่าสถิติไคสแควร์ เท่ากับ 142.01 (P = 0.60076) ที่องศาอิสระ เท่ากับ 147 ค่าดัชนีวัดระดับความกลมกลืน (GFI) เท่ากับ 0.97 ค่าดัชนีวัดระดับความกลมกลืนที่ปรับแก้แล้ว (AGFI) เท่ากับ 0.94 ค่าดัชนีรากของกำลังสองเฉลี่ยของเศษ (RMR) เท่ากับ 0.0084 และค่าดัชนีรากที่สองเฉลี่ยของความคลาดเคลื่อนในการประมาณค่า (RMSEA) เท่ากับ 0.000 โมเดลองค์ประกอบและตัวชี้วัดความเป็นพลเมืองของนิสิตระดับปริญญาตรีภายหลังการปรับไม่ต่างจากโมเดลสมมติฐาน และโมเดลองค์ประกอบและตัวชี้วัดความเป็นพลเมืองของนิสิตระดับปริญญาตรีมีค่าน้ำหนักองค์ประกอบและตัวชี้วัดความเป็นพลเมืองของนิสิตระดับปริญญาตรี มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 แสดงว่า โมเดลองค์ประกอบและตัวชี้วัดความเป็นพลเมืองของนิสิตระดับปริญญาตรีมีความตรงเชิงโครงสร้าง โดยมีน้ำหนักความสำคัญเรียงตามลำดับจากมากไปน้อยได้แก่ เคารพสิทธิของตนเองและผู้อื่น รับผิดชอบต่อสังคม มีคุณธรรม จริยธรรม เข้าใจระบอบประชาธิปไตยและมีส่วนร่วม ยอมรับความแตกต่าง มีความเท่าเทียมกัน มีอิสรภาพและพึ่งตนเอง มีค่าน้ำหนักองค์ประกอบ 1.03, 1.00, 0.98, 0.87, 0.85, 0.80 และ 0.70 ตามลำดับ      The purpose of this research was to develop the factors and the indicators of citizenship of undergraduate students. The samples were 400 first to fourth year undergraduate students of Naresuan University, in the academic year 2015. They were selected by using multi-stage random sampling. The research instrument was a questionnaire, based on Likert’s five-rating scale, focusing on the qualities of citizenships of undergraduate students. The data were analyzed by using the frequency distributions, median, interquartile range, percentage, mean, standard deviation and coefficient of correlation by statistical package and second order confirmatory factor analysis by LISREL program in order to check the construct validity and the indicators validity of citizenship of undergraduate students.      It was found that the factors and the indicators of citizenship of undergraduate students can be divided into 7 factors and 23 indicators. The first factor was Freedom and Self-Reliance, consisting of 3 indicators. The second factor was Equality, consisting of 2 indicators. The third factor was Acceptance of Difference, consisting of 2 indicators. The forth factor was Respect for Self and Others’ Right, consisting of 3 indicators. The fifth factor was Responsibility for the society, consisting of 5 indicators. The sixth factor was Understanding Democracy and Taking part in a Democracy, consisting of 4 indicators. The last factor was Having Morality and Ethics, consisting of 4 indicators. The results also showed that the developed model of the factors and the indicators of citizenship of undergraduate students was harmonious with the empirical data. The chi square was 142.01 (P =0.60076), P at Degree of Freedom was equal to 147, the Goodness of Fit Index: GFI was 0.97, Adjusted Goodness of Fit Index (AGFI) was 0.94, Root of Mean Square Residuals (RMR) was 0.0084 and Root Mean Square Error of Approximation (RMSEA) was at 0.000. Statistical analysis results thus confirmed the research hypotheses. This means the model of the factors and the indicators of citizenship of undergraduate students had statistical significance for the factors and indicators weights at .01. This shows that the model had the construct validity. The important weights in descending order were Respect for Self and Others’ Right, Responsibility for the society, Having Morality and Ethics, Understanding Democracy and Taking part in a Democracy, Acceptance of Difference, Equality, Freedom and Self-Reliance, and at 1.03, 1.00, 0.98, 0.87, 0.85, 0.80 and 0.70, respectively. UR - https://www.journal.nu.ac.th/JCDR/article/view/1579