การวิเคราะห์ความเสี่ยงระดับปฏิบัติการสำหรับธุรกิจขนาดเล็ก กรณีศึกษา Operational Risk Analysis for a Small Sized Business: a Case Study

##plugins.themes.bootstrap3.article.main##

Runchana Sinthavalai Narumon Daowee

Abstract

        การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ความเสี่ยงในระดับปฏิบัติการที่อาจเกิดขึ้นในกรณีศึกษาซึ่งคือธุรกิจขนาดเล็กที่สอนศิลปะให้กับเด็ก ด้วยการประยุกต์ใช้เทคนิคการวิเคราะห์สาเหตุของลักษณะข้อบกพร่องและผลกระทบ (Failure Mode and Effect Analysis, FMEA) ในกระบวนการหลัก 3 กระบวนการของกิจการกรณีศึกษา ได้แก่ กระบวนการสอน กระบวนการขายและกระบวนการสั่งซื้ออุปกรณ์และสินค้า พิจารณาความเสี่ยงหลัก 4 มิติ ได้แก่ มิติความไม่ปลอดภัย มิติการไม่บรรลุวัตถุประสงค์ของงาน มิติทางการเงิน และมิติการทำให้ลูกค้าไม่พึงพอใจ   หลังจากวิเคราะห์ความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นแล้ว จึงทำการเลือกความเสี่ยงที่มีการจัดอันดับสูงสุดจากค่า Risk Priority Number (RPN) 3 ประเด็นของแต่ละกระบวนการและความเสี่ยงที่มีค่าความรุนแรงหากเกิดขึ้นในระดับสูงสุดหรือเท่ากับ 5 จากเกณฑ์การประเมิน  จำนวนรวมทั้งสิ้น 11 ประเด็นเพื่อกำหนดแนวทางดำเนินการลด ป้องกัน หรือรับมือกับความเสี่ยง  แนวทางดังกล่าวได้นำไปทดลองปฏิบัติเป็นเวลา 2 เดือน แล้วจึงทำการประเมินความเสี่ยงอีกครั้งด้วยเทคนิคเดิม เพื่อพิจารณาว่าสามารถลดความเสี่ยงลงได้หรือไม่  โดยผลการประเมินแสดงให้เห็นว่าแนวทางที่กำหนดขึ้นมีแนวโน้มจะลดความเสี่ยงทั้งหมดลงได้จริง กล่าวอีกนัยหนึ่ง การวิจัยนี้จึงทำให้เห็นถึงการนำเทคนิคการวิเคราะห์ความเสี่ยงซึ่งนิยมในภาคอุตสาหกรรมไปใช้กับการดำเนินธุรกิจประเภทบริการ ที่เป็นลักษณะคนดำเนินการเป็นหลัก และเป็นธุรกิจขนาดเล็ก โดยเกิดผลลัพธ์เป็นที่น่าพึงพอใจ


คำสำคัญการวิเคราะห์ความเสี่ยง เทคนิคการวิเคราะห์สาเหตุของลักษณะข้อบกพร่องและผลกระทบ ธุรกิจขนาดเล็ก 


        This research was to analyze the possible operational risks that could be occurred in a child art center, which is a case study. Failure Mode and Effect Analysis (FMEA), which is a technique for assessing the possible risks, was applied in this research. Three main processes were considered; teaching, selling, and purchasing. Four dimensions of risks were assessed; un-safety, failure to achieve the objective, finance and customer dissatisfaction. The critical risks were chosen in order to identify the plans on how to reduce, prevent or handle these risks. Risk Priority Number (RPN) was an indicator to choose the critical risks. Top three RPN risks for each process were chosen including the risks with highest score of severity.  Thus, 11 risks were focused and identified their plans to reduce risks.  Subsequently, the risk assessment was performed again after 2 months implementation for their plans. The comparison between before and after having a plan revealed that all risks were potentially reduced.  In other words, this research showed the application of risk assessment techniques, FMEA which is commonly used in an industrial sector, to the service sector that is labor-intensive and small sized case.


Keywords: Risk assessment, Failure mode and effect analysis, FMEA, Small sized business


Keywords
การวิเคราะห์ความเสี่ยง เทคนิคการวิเคราะห์สาเหตุของลักษณะข้อบกพร่องและผลกระทบ ธุรกิจขนาดเล็ก Risk assessment, Failure mode and effect analysis, FMEA, Small sized business
Section
Research Articles

##plugins.themes.bootstrap3.article.details##

How to Cite
SINTHAVALAI, Runchana; DAOWEE, Narumon. การวิเคราะห์ความเสี่ยงระดับปฏิบัติการสำหรับธุรกิจขนาดเล็ก กรณีศึกษา. Naresuan University Journal: Science and Technology (NUJST), [S.l.], v. 23, n. 1, p. 142-156, apr. 2015. ISSN 2539-553X. Available at: <https://www.journal.nu.ac.th/NUJST/article/view/922>. Date accessed: 16 apr. 2024.