โรคลูปัสในหญิงตั้งครรภ์ Systemic lupus erythematosus in pregnancy

##plugins.themes.bootstrap3.article.main##

Patapong Towiwat / ปฐพงศ์ โตวิวัฒน์

Abstract

โรคลูปัสเป็นโรคที่เกิดจากความผิดปกติ ทางพันธุกรรม สิ่งแวดล้อมและระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย ซึ่งหนึ่งในปัจจัยที่ก่อให้เกิดการกำเริบของโรค คือ การตั้งครรภ์ ในปัจจุบันโรคลูปัสในหญิงตั้งครรภ์นั้นยังคงเป็นปัญหาสำคัญของการดูแลผู้ป่วย หากผู้ป่วยโรคลูปัสมีการวางแผนการตั้งครรภ์ที่ถูกต้องและได้รับคำอธิบายจากแพทย์ผู้ดูแลเป็นอย่างดีจะทำให้การตั้งครรภ์นั้นปลอดภัย แต่อย่างไรก็ตามหากมีการตั้งครรภ์โดยไม่มีการวางแผนอย่างเหมาะสม ผู้ป่วยโรคลูปัสที่ตั้งครรภ์มีโอกาสที่จะเกิดการกำเริบของโรคลูปัสและส่งผลร้ายต่อมารดาและทารก รวมทั้งส่งผลกระทบทางจิตใจต่อบุคคลรอบข้าง และพบว่า หากผู้ป่วยโรคลูปัสมีอาการของโรคสงบเป็นเวลาอย่างน้อย 6 เดือน ร่วมกับได้รับยาต้านมาลาเรียอย่างต่อเนื่องตลอดการตั้งครรภ์ จะช่วยลดการกำเริบของตัวโรคได้ ขณะเดียวกันจะมีผู้ป่วยโรคลูปัสที่ตั้งครรภ์บางส่วนเกิดการกำเริบของโรค ซึ่งอาการแสดงบางอย่างในการกำเริบของโรคลูปัสในหญิงตั้งครรภ์มีลักษณะคล้ายกับการเปลี่ยนแปลงทางสรีรวิทยาของระบบอวัยวะต่างๆในหญิงตั้งครรภ์ปกติ และภาวะแทรกซ้อนของการตั้งครรภ์ ดังนั้น แพทย์ผู้ดูแลจึงจำเป็นต้องมีความรู้และความเข้าใจในการแยกอาการกำเริบของโรคกับการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว รวมทั้งเลือกการส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการ และเลือกใช้ยาได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม เพื่อควบคุมอาการของโรคลูปัสที่กำเริบ เพื่อให้เกิดความปลอดภัยทั้งกับมารดาและทารก



คำสำคัญ: โรคลูปัส, โรคลูปัสในผู้หญิงตั้งครรภ์



Systemic lupus erytematosus (SLE) is an autoantibody-mediated systemic autoimmune disease, predominantly affecting young females. Its features are remission and flare up. It is precipitated by environment factor, infection and genetic associations. Women with SLE face significant risks when embarking on a pregnancy. For pregnancy in SLE, the patient and doctor should plan and manage for the treatment together prior to conception. Their diseases increase a lupus flare in mild to moderate severity in second to third trimester and it cannot be predicted. When SLE remission about 6 months before conception, mother decreases risks for flare up and safety for pregnancy. Because its clinicals resemble physiologic change in normal pregnancy, it is challenge for diagnosis and management. However, the correlation between pregnancy and SLE activity can lead to complications for both mother and fetus. Therapeutic options are limited during pregnancy as maternal benefit and fetal risk. Corticosteroids, hydroxychloroquine and azathioprine are safe to use in pregnancy, with no adverse fetal effect. Cyclophosphamide is reserved for severe lupus complications.



Keywords: Systemic lupus erytematosus, lupus in pregnancy


Keywords
โรคลูปัส, โรคลูปัสในผู้หญิงตั้งครรภ์ Systemic lupus erytematosus, lupus in pregnancy
Section
Review Articles

##plugins.themes.bootstrap3.article.details##

How to Cite
ปฐพงศ์ โตวิวัฒน์, Patapong Towiwat /. โรคลูปัสในหญิงตั้งครรภ์. Naresuan University Journal: Science and Technology (NUJST), [S.l.], v. 21, n. 2, p. 111-125, july 2014. ISSN 2539-553X. Available at: <https://www.journal.nu.ac.th/NUJST/article/view/493>. Date accessed: 24 apr. 2024.