Basic concept of Indicators for information quality / แนวคิดพื้นฐานของตัวชี้วัดคุณภาพสารสนเทศ

##plugins.themes.bootstrap3.article.main##

Sawitree Jujia and Surasak Mungsing / สาวิตรี จูเจี่ย และสุรศักดิ์ มังสิงห์

Abstract

บทคัดย่อ

ตัวชี้วัดคุณภาพของสารสนเทศที่มีการพัฒนากระบวนการวัดและการออกแบบ ได้มีการนำไปประยุกต์ใช้ในการวัดคุณภาพที่หลากหลาย ปัจจุบันมีผู้ให้ความสนใจเรื่องของคุณภาพมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นในส่วนของการบริหารจัดการคุณภาพ การควบคุมคุณภาพ และการพัฒนาโมเดลในด้านคุณภาพ บทความนี้นำเสนอผลการสำรวจและรวบรวมตัวชี้วัดคุณภาพของสารสนเทศ ที่สามารถนำไปใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาคุณภาพของสารสนเทศด้านอื่นๆได้ การนำเสนอข้อมูลตัวชี้วัดคุณภาพของสารสนเทศในบทความนี้ ได้ข้อมูลจากการรวบรวมเอกสาร งานวิจัยและบทความต่างๆ ที่กล่าวถึงคุณภาพของสารสนเทศ เพื่อการนำไปใช้ในการออกแบบกรอบคุณภาพและตัวชี้วัดคุณภาพให้มีประสิทธิภาพและมีความหลากหลายมากยิ่งขึ้น จากการศึกษา พบว่า ตัวชี้วัดคุณภาพสารสนเทศที่ถูกกล่าวถึง มีทั้งสิ้น 45 ตัวชี้วัด ซึ่งตัวชี้วัดที่มีความถี่สูงสุด 9 ลำดับแรก ได้แก่ความสามารถในการเข้าถึงได้  (Accessibility) ความทันต่อการใช้งานหรือทันเวลา (Timeliness) ความเกี่ยวข้องกัน (Relevancy) ความสมบูรณ์ (Completeness) ความสอดคล้อง (Consistency) ความแม่นยำของข้อมูล (Accuracy)  เข้าใจง่าย (Ease of Understanding) น่าเชื่อถือ (Believability) และตรงตามวัตถุประสงค์ (Objectivity) ตามลำดับ

 

คำสำคัญ: ตัวชี้วัดคุณภาพ  คุณภาพของสารสนเทศ  มิติคุณภาพ 

 

Abstract

     Indicators for information quality with developed measuring process and design has been applied to variety of quality measurement applications. Nowadays, people are more interested in the quality whether it is in terms of quality management, quality control, and quality development models. This article presents the results of the survey and compilation of information quality metrics, which can be used to guide the development of information quality.  Other indicators of information quality presented in this article were a compilation of information from documents, and research articles related to the quality of information, which to be used as a framework design for effective and more diverse quality-metrics development. The study found that the quality indicators of information was mentioned a total of 45 indicators. Nine quality indicators that have the highest frequency were accessibility, timeliness, relevancy, completeness, consistency, accuracy, ease of understanding, believability, and objectivity, respectively.

 

Keywords: Quality indicators, Quality of information, Quality dimension


Keywords
ตัวชี้วัดคุณภาพ คุณภาพของสารสนเทศ มิติคุณภาพ Quality indicators, Quality of information, Quality dimension
Section
Review Articles

##plugins.themes.bootstrap3.article.details##

How to Cite
สาวิตรี จูเจี่ย และสุรศักดิ์ มังสิงห์, Sawitree Jujia and Surasak Mungsing /. Basic concept of Indicators for information quality / แนวคิดพื้นฐานของตัวชี้วัดคุณภาพสารสนเทศ. Naresuan University Journal: Science and Technology (NUJST), [S.l.], v. 24, n. 3, p. 1-13, oct. 2016. ISSN 2539-553X. Available at: <https://www.journal.nu.ac.th/NUJST/article/view/1538>. Date accessed: 25 apr. 2024.