พฤติกรรมสุขภาพ การสนับสนุนทางสังคม และความต้องการบริการด้านสุขภาพ ของผู้สูงอายุในอำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก Health Behavior, Social Support and Health Care Service Request of Elderly at MuangPhitsanulok District, Phitsanulok Province

##plugins.themes.bootstrap3.article.main##

Pantitra Singkheaw

Abstract

        ความเป็นมา สถานการณ์ประชากรโลกและประเทศไทยในอนาคตอันใกล้ มีแนวโน้มว่าสัดส่วนประชากรผู้สูงอายุจะเพิ่มมากขึ้น
ซึ่งทำให้ก้าวไปสู่สังคมผู้สูงอายุและสัดส่วนประชากรผู้สูงอายุของจังหวัดพิษณุโลก ในเขตอำเภอเมือง ก็จัดว่าเป็นสังคมผู้สูงอายุ นำมาซึ่งผลกระทบต่อสังคมในวงกว้าง เนื่องจากผู้สูงอายุเป็นวัยที่ต้องการการพึ่งพิงสูง ทำให้เกิดการตื่นตัวทั้งภาครัฐและภาคเอกชน
ในการจัดบริการด้านสุขภาพแก่ผู้สูงอายุ ซึ่งจำเป็นต้องทราบความต้องการของผู้สูงอายุในแต่ละพื้นที่และบริบทที่เกี่ยวข้อง ทั้งพฤติกรรมสุขภาพของผู้สูงอายุและการสนับสนุนทางสังคม เพื่อให้การจัดบริการด้านสุขภาพแก่ผู้สูงอายุเกิดประโยชน์สูงสุด มีความเหมาะสมและตรงกับความต้องการของผู้สูงอายุ          


        วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐาน พฤติกรรมสุขภาพ การสนับสนุนทางสังคมจากครอบครัว และความต้องการบริการด้านสุขภาพของผู้สูงอายุ และศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูลพื้นฐาน พฤติกรรมสุขภาพ การสนับสนุนทางสังคมจากครอบครัวกับความต้องการบริการด้านสุขภาพของผู้สูงอายุในตำบลวัดพริก งิ้วงาม ท่าโพธิ์ วังน้ำคู้ ท่าทอง อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก


        ระเบียบวิจัย การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณเชิงสำรวจ (Quantitative study: Survey research) เพื่อศึกษาหาความสัมพันธ์ (descriptive co-relational study) กำหนดกลุ่มตัวอย่าง 363 คน จากการคำนวณสูตรของเครซี่และมอร์แกน และสุ่มตัวอย่างเชิงช่วงชั้นอย่างมีสัดส่วน (proportional stratified random sampling) ต่อด้วยการสุ่มอย่างง่าย (simple random sampling) โดยใช้เครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสัมภาษณ์ที่ผ่านการทดสอบคุณภาพ ทั้งความตรงของเนื้อหา (content validity) และความเชื่อมั่นของเครื่องมือ (reliability) 


        ผลการวิจัย พบว่า พฤติกรรมด้านสุขภาพ และการสนับสนุนทางสังคมจากครอบครัวในภาพรวมอยู่ในระดับมากถึงมากที่สุด
และผู้สูงอายุมีความต้องการบริการด้านสุขภาพในระดับมาก ส่วนข้อมูลพื้นฐานไม่ว่าจะเป็นเพศ อายุ ระดับการศึกษา สถานภาพ
ลักษณะครอบครัว อาชีพ รายได้ และโรคประจำตัวไม่มีความสัมพันธ์กับความต้องการบริการด้านสุขภาพ (p> 0.05) ส่วนพฤติกรรมสุขภาพบางด้าน ได้แก่ ด้านการบริโภคอาหารและยา ด้านการดูแลอนามัยสิ่งแวดล้อม และด้านการตรวจสุขภาพ มีความสัมพันธ์กับ
ความต้องการบริการด้านสุขภาพ (p< 0.05) สำหรับการสนับสนุนทางสังคมจากครอบครัวในทุกด้าน ได้แก่ ด้านอารมณ์ ด้านการประเมิน ด้านข้อมูลข่าวสาร และด้านสิ่งอำนวยความสะดวกมีความสัมพันธ์กับความต้องการบริการด้านสุขภาพ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p< 0.05)


        สรุป ความสัมพันธ์ของพฤติกรรมสุขภาพบางด้านและการสนับสนุนทางสังคม มีผลต่อความต้องการบริการด้านสุขภาพ ดังนั้น ในการจัดบริการด้านสุขภาพจำเป็นต้องพิจารณาลักษณะและบริบทที่เกี่ยวข้องกับผู้สูงอายุในแต่ละพื้นที่ เพื่อให้การจัดบริการตรงตามความต้องการและเกิดประโยชน์สูงสุด


คำสำคัญ: พฤติกรรมสุขภาพ การสนับสนุนทางสังคม ความต้องการบริการด้านสุขภาพ ของผู้สูงอายุ 


        Background: Population situation over the world and also Thailand in the near future are being trended to increase elder population and step into the aging society. At MuangPhitsanulok district, Phitsanulok province, becoming aging society has affected in wide area because the elderly need high dependency. Therefore, leading to awareness of the health care services for elderly. The public and private sectors provide appropriate health care services to elderly. The real needs of the elderly and the relevant context are importance, such as the health behaviors and social support for providing optimal benefit for the elderly.


        Objectives: To study demographic data, health behaviors, social support and health care service request of elderly, and the relationships between health behaviors, social support and health care service request of elderly at MuangPhitsanulok district, Phitsanulok province. 


        Methods: This quantitative study by survey research was descriptive co-relational study. The proportional stratified random sampling and the simple random sampling were conducted with 363 participants who are aged 60 or above.


        Results: Overall health behaviors and social support were in the high level and the highest level. Health care service request of elderly was in the high level. the demographic data, such as gender, age, level of education, marital status, family type, occupation, income and chronic disease, had no relationship with health care service request of elderly (p<0.05). Some aspects of health behaviors, such as food and drug consumption, environmental health care, and health examination, had relationship with health care service request of elderly (p<0.05). All aspects of social support had relationship with health care service request of the elderly (p<0.05). 


        Conclusion: Some aspects of health behaviors and social support had relationship with health care service request of the elderly. Therefore, providing health care services to the elderly need to consider demographic data, health behaviors, and social support of elderly in each area in order to provide optimal benefit for the elderly. 


Keywords: Health behavior, Social support, Health care service request of the elderly


Keywords
พฤติกรรมสุขภาพ การสนับสนุนทางสังคม ความต้องการบริการด้านสุขภาพ ของผู้สูงอายุ Health behavior, Social support, Health care service request of the elderly
Section
Research Articles

##plugins.themes.bootstrap3.article.details##

How to Cite
SINGKHEAW, Pantitra. พฤติกรรมสุขภาพ การสนับสนุนทางสังคม และความต้องการบริการด้านสุขภาพ ของผู้สูงอายุในอำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก. Naresuan University Journal: Science and Technology (NUJST), [S.l.], v. 23, n. 3, p. 46-59, jan. 2016. ISSN 2539-553X. Available at: <https://www.journal.nu.ac.th/NUJST/article/view/1144>. Date accessed: 24 apr. 2024.