%A Boonyanuphap, Jaruntorn %A Pansak, Wanwisa %A Maosew, Kanchaya %D 2018 %T การวิเคราะห์ต้นทุนและผลตอบแทนเชิงสิ่งแวดล้อมของมาตรการอนุรักษ์ดินและน้ำในสวนยางพาราบริเวณพื้นที่ลาดชันของจังหวัดน่าน %K %X      การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ต้นทุนและผลตอบแทนทางเศรษฐศาสตร์สิ่งแวดล้อมของระบบการเพาะปลูกพืชเศรษฐกิจเชิงอนุรักษ์บนพื้นที่ลาดชันในเขตพื้นที่บ้านดู่พงษ์ หมู่ 2 ตำบลดู่พงษ์ อำเภอสันติสุข จังหวัดน่าน คณะวิจัยและตัวแทนของเกษตรกรในพื้นที่ศึกษาได้ร่วมกันออกแบบมาตรการการเพาะปลูกพืชเศรษฐกิจเชิงอนุรักษ์บนพื้นที่สูงชันจำนวน 5 มาตรการ ทั้งนี้ จากการสอบถามเกษตรกรกลุ่มเป้าหมายจำนวน 103 ราย เพื่อใช้ในการวิเคราะห์ต้นทุนและผลตอบแทนทางเศรษฐศาสตร์สิ่งแวดล้อมของมาตรการการเพาะปลูกพืช ทำให้ได้มูลค่าปัจจุบันสุทธิภายใต้ระยะเวลาดำเนินการ 20 ปี ซึ่งการวิเคราะห์ดังกล่าวเป็นการคาดการณ์ภายใต้สถานการณ์ที่ระบบดังกล่าวอยู่ในระหว่างการดำเนินมาตรการที่ยังไม่เสร็จสิ้นในพื้นที่ศึกษา การศึกษาครั้งนี้ได้ดำเนินการวิเคราะห์เชิงเปรียบเทียบทางการเงินระหว่างระบบการเพาะปลูกพืชเศรษฐกิจบนพื้นที่ลาดชันแต่ละระบบ พร้อมทั้งดำเนินการวิเคราะห์ผลตอบแทนทางอ้อมที่ได้จากการเพาะปลูกพืชเศรษฐกิจเชิงอนุรักษ์ควบคู่กันด้วย จากการศึกษาพบว่า การปลูกยางพาราร่วมกับการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ (มาตรการ T4) ให้มูลค่าปัจจุบันสุทธิสูงที่สุดไร่ละ 42,456.41 บาทต่อปี รองลงมาได้แก่ การปลูกยางพาราโดยไม่มีการกำจัดวัชพืช (ระบบ T5) การปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์แบบไม่ไถพรวนดินบนพื้นที่ลาดชัน (มาตรการควบคุม: CT) การปลูกยางพาราโดยไม่มีการทำขั้นบันไดดิน (มาตรการ T3) และการปลูกยางพาราระหว่างขั้นบันไดดิน (มาตรการ T2) โดยมีมูลค่าปัจจุบันสุทธิไร่ละ 34,522.08 21,319.58 17,294.50 และ 16,407.70 บาทต่อปี ตามลำดับ นอกจากนี้ มาตรการ T4 เป็นระบบที่มีประสิทธิภาพในการลดการชะล้างพังทลายของดินมากกว่ามาตรการอื่น การประมาณการด้วยอุปกรณ์ Gerlach troughs พบว่า มาตรการ T4 ทำให้เกิดมูลค่าของผลตอบแทนจากการลดการชะล้างพังทลายตลอดระยะเวลาดำเนินการ 20 ปี เท่ากับ 14,175.53 บาทต่อไร่ ในทางตรงกันข้าม การปลูกยางพาราเพียงอย่างเดียวโดยปราศจากการปลูกพืชร่วมหรือการใช้วัสดุหรือพืชคลุมดิน (มาตรการ T2 หรือ T3) ทำให้เกิดการสูญเสียหน้าดินและเกิดการสูญเสียธาตุอาหารหลักในดินสูงกว่าการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์แบบไม่ไถพรวนดินบนพื้นที่ลาดชัน (CT) โดยเฉพาะในช่วงระยะเริ่มต้น 1-5 ปี ของการปลูกยางพารา คำสำคัญ : การวิเคราะห์ต้นทุนและผลตอบแทน, ไร่ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์, สวนยางพารา, ระบบอนุรักษ์ดินและน้ำ      This study aims to conduct economics and environmental cost–benefit analysis of conservation economic cropping system on slopping area in DuPhong village, DuPhong Sub-District, Suntisook District, Nan Province. Cooperative design of 5 measures for conservative economic cropping on the sloping land was done by researchers and representatives of local farmers. 103 respondents of the target were asked to collect the information used to analyze the economic environment costs and benefits of conservation economic cropping systems, thereafter the net present value under the period of 20 years were obtained. In this study, cost-benefit analysis was conducted during the implementation of conservative economic cropping systems. Furthermore, comparative financial analysis was conducted for all conservation economic cropping measures. Indirect benefits gainted from conservation economic cropping measures was also considered. The study found that the rubber tree intercropped with maize (Measure T4) provided the highest net present value of 42,456.4 Baht/Rai/year followed by no-weeding rubber tree plantation (Measure T5), no-tillage maize planting on the sloping area (Contril system: CT), rubber tree plantation without terracing (Measure T3), and rubber tree plantation with terracing (Measure T2) with the net present values of 34,522.1 21,319.6 17,294.5 and 16,407.7 Baht/Rai/year, respectively. Measure T4 shows an effective soil erosion reduction, which was estimated by Gerlach troughs, resulting in more benefit value gained from erosion control than other systems of 14,175.53 Baht/Rai/year. On the contrary, the Para rubber plantation without either intercropping or mulching (Measure T2 or T3) can contribute soil and nutrients losses, which is higher than no-tillage maize planting on sloping land (CT) particulare in 1-5 yares of the begining state of planting Para rubber. Keywords : Cost-benefit analysis, Maize field, Para rubber plantation, Soil and water conservation system %U https://www.journal.nu.ac.th/NUJST/article/view/Vol-26-No-3-2018-80-97 %J Naresuan University Journal: Science and Technology (NUJST) %0 Journal Article %R 10.14456/nujst.2018.12 %P 80-97%V 26 %N 3 %@ 2539-553X %8 2018-09-24