TY - JOUR AU - Sapbamrer, Ratana AU - Hongsibsong, Surat AU - Sittitoon, Nalin PY - 2018 TI - การศึกษาผลกระทบทางสุขภาพจากการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช: กรณีศึกษาในเกษตรกรปลูกกระเทียม จังหวัดพะเยา JF - Naresuan University Journal: Science and Technology (NUJST); Vol 26 No 1 (2018): January - March 2018 KW - สารเคมีกำจัดศัตรูพืช เกษตรกร ผลกระทบทางสุขภาพ กระเทียม N2 -      การใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชส่งผลกระทบต่อประเทศไทยในหลายด้าน เช่นผลกระทบทางเศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม และสุขภาพมนุษย์ การวิจัยนี้เป็นการศึกษาแบบภาคตัดขวางเพื่อศึกษา (1) ผลกระทบทางสุขภาพกาย จิตและสังคมจากการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช (2) ความรู้และการปฏิบัติตัวด้านอาชีวอนามัยของเกษตรกร และ (3) ความสัมพันธ์ระหว่างอาการแสดงกับผลตรวจทางห้องปฏิบัติการของเกษตรกรปลูกกระเทียม ตำบลแม่นาเรือ อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา จำนวน 51 คน เครื่องมือที่ใช้ประกอบด้วย แบบสัมภาษณ์และการตรวจทางห้องปฏิบัติการ ได้แก่ ระดับเมตาบอไลต์ของสารไดอัลคิลฟอสเฟต  ระดับเอนไซม์อะซิติลโคลินเอสเตอเรส และระดับการทำลายดีเอ็นเอ ผลการศึกษาพบว่า (1) ผลกระทบทางสุขภาพกาย:  อาการแสดงสำคัญที่พบจากการสัมผัสสารเคมีฯประกอบด้วยปวดศีรษะ มึนศีรษะ คอแห้ง ชามือและเท้า เจ็บหน้าอก ผื่นแดง/ขาว และตุ่มแดง/ขาว ค่าเฉลี่ยระดับเมตาบอไลต์ของสารไดอัลคิลฟอสเฟตมีค่า 10.94±8.49 ไมโครกรัมต่อกิโลกรัมครีทินีน   ค่าเฉลี่ยของระดับเอนไซม์อะซิติลโคลินเอสเตอเรสเท่ากับ 10,273±1,353 ยูต่อลิตร ค่าเฉลี่ยของ Tail length และ Tail moment ของเซลล์ เท่ากับ 6.21±0.68 ไมครอน และ 3.15±0.25 ไมครอน ตามลำดับ, (2) ผลการประเมินสุขภาพทางจิต  ได้แก่  กังวลว่าสารเคมีฯจะส่งผลกระทบต่อตนเอง (ร้อยละ 90.2)  กังวลว่าสารเคมีฯจะส่งผลกระทบต่อผู้บริโภค (90.2) และกังวลว่าสารเคมีฯจะส่งผลกระทบต่อบุตรหลานของตนเอง (ร้อยละ88.2) และ (3) ผลการประเมินสุขภาพทางสังคม  ได้แก่  ปลูกผักอีกแปลงที่ไม่ใช้สารเคมีฯไว้รับประทานเอง (ร้อยละ 90.2)  ต้องการจ้างผู้อื่นฉีดพ่นสารเคมีฯ (ร้อยละ 56.9) และแข่งขันกันปลูกพืช (ร้อยละ 23.5) (4) เกษตรกรส่วนใหญ่มีความรู้เรื่องการฉีดพ่นสารเคมีฯเป็นอย่างดี และปฏิบัติตัวตามความรู้ที่มี แต่ยังมีเกษตรกรบางส่วนที่ไม่ใส่ถุงมือและแว่นตาขณะใช้สารเคมีฯ และ (5) อาการแสดงที่สัมพันธ์กับผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ ได้แก่ อาการมึนศีรษะ  ผื่นแดงและขาว ตุ่มแดงและขาว และเจ็บหน้าอก ดังนั้นสิ่งสำคัญในการส่งเสริมการเกษตรแบบปลอดภัยเพื่อปรับเปลี่ยนทัศนคติของเกษตรกรจะเป็นการแก้ไขปัญหาสุขภาพของเกษตรกรได้อย่างยั่งยืน      Pesticide uses in Thailand can cause several adverse effects such as economy, environmental and health effects. Cross sectional study aimed to study (1) physical, mental and social health impacts from pesticide uses, (2) occupational knowledge and practice, and (3) association between health symptoms and laboratory results among 51 garlic farmers from Mae Na Reur Subdistrict, Muang District, Phayao Province. Questionnaire and laboratory analysis (dialkylphosphate metabolites, acytylcholinesterase activity and DNA damage) were used. The results have shown that (1) physical health:  important symptoms associated with pesticide uses were headache, dizziness, numbness, red/white rash and red/white pimple; average of dialkylphosphate metabolites 10.9±8.5 mg/kg creatinine, average of acytylcholinesterase activity 10,273±1,353 U/L, average of tail length and tail moment 6.2±0.7 and 3.2±0.3 mm, respectively; (2) mental health: farmers worried that pesticides had an effect on themselves (90.2%), consumers (88.2%), and their descendant (88.2%); (3) social health: farmers planted another crops with pesticide free for eating (90.2%), needed to employ pesticide sprayers (56.9%), and competed with neighbors for planting (23.5%); (4) most farmers had high occupational knowledge and practice, but some farmers did not use gloves and mask during pesticide uses; and (5) health symptoms related with laboratory results were dizziness, red/white rash, red/white pimple, and chest pain. Therefore, promotion of safety agricultural system in order to change the attitude of farmers can lead to solve health problem of farmers. UR - https://www.journal.nu.ac.th/NUJST/article/view/1756