TY - JOUR AU - พัฒนา วิจิตรพงษ์สกุล และคนอื่นๆ, Patana Wichitarapongsakun et al. / PY - 2016/10/01 TI - Meteorological drought in the Sakea Krang River basin using the Standardized Precipitation Index (SPI) and the Meteorological Drought Index (D) / การวิเคราะห์ระดับความแห้งแล้งทางอุตุนิยมวิทยาในพื้นที่ลุ่มน้ำสะแกกรังด้วยดัชนีน้ำฝนมาตรฐานและดัชนีความแห้งแล้งทางอุตุนิยมวิทยา JF - Naresuan University Journal: Science and Technology (NUJST); Vol 24 No 3 (2016): September - December 2016 KW - ความแห้งแล้งทางอุตุนิยมวิทยา ดัชนีน้ำฝนมาตรฐาน ดัชนีความแห้งแล้งทางอุตุนิยมวิทยา ลุ่มน้ำสะแกกรัง Meteorological drought, The Standardized Precipitation Index, The Meteorological Drought Index, The Sakae Krang River basin N2 - บทคัดย่อ การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาและบ่งชี้ระดับความรุนแรงของความแห้งแล้งทางอุตุนิยมวิทยาในพื้นที่ลุ่มน้ำสาขาของลุ่มน้ำสะแกกรัง ด้วยการใช้ดัชนีน้ำฝนมาตรฐาน (SPI) และดัชนีความแห้งแล้งทางอุตุนิยมวิทยา (D) โดยใช้ข้อมูลปริมาณน้ำฝนระหว่างปี พ.ศ. 2528-2557 จากสถานีตรวจวัดน้ำฝน จำนวน 8 สถานีตรวจวัดทั้งในและนอกพื้นที่ลุ่มน้ำ 2) เปรียบเทียบผลการศึกษากับผลการวิเคราะห์ความแห้งแล้งของกรมทรัพยากรน้ำ ผลการศึกษาพบว่า พื้นที่ลุ่มน้ำสะแกกรังประสบสภาวะความแห้งแล้งในระดับน้อยถึงปานกลาง โดยมีค่าดัชนี SPI อยู่ระหว่าง -0.45 ถึง -1.41 และดัชนี D อยู่ระหว่าง -11.75 ถึง -26.62 เมื่อเปรียบเทียบผลการศึกษากับผลการวิเคราะห์ความแห้งแล้งของกรมทรัพยากรน้ำ พบว่าการบ่งชี้ระดับความรุนแรงของความแห้งแล้งด้วยดัชนี SPI มีค่าที่สอดคล้องกับผลการวิเคราะห์ความแห้งแล้งของกรมทรัพยากรน้ำมากกว่าการบ่งชี้ด้วยค่าดัชนี D โดยดัชนี SPI มีค่าเฉลี่ยของร้อยละความผิดพลาดสัมบูรณ์ (Mean Absolute Percentage Error : MAPE) เท่ากับ 20.83 % และดัชนี D มีค่า MAPE เท่ากับ 29.17 % ซึ่งจากผลการศึกษานี้บ่งชี้ว่า ค่าดัชนี SPI  มีความเหมาะสมเพื่อใช้ในการวิเคราะห์ระดับความรุนแรงของความแห้งแล้งในระดับพื้นที่   ลุ่มน้ำ รวมทั้งเพื่อใช้ในการคาดการณ์ระดับความรุนแรงของความแห้งแล้ง กรณีที่มีการพยากรณ์ปริมาณน้ำฝนที่แม่นยำ       คำสัญคัญ: ความแห้งแล้งทางอุตุนิยมวิทยา  ดัชนีน้ำฝนมาตรฐาน  ดัชนีความแห้งแล้งทางอุตุนิยมวิทยา  ลุ่มน้ำสะแกกรัง     Abstract The objectives of this research were 1) to study and indicate the severity levels of meteorological drought in the sub-basins of the Sakea Krang River basin using the Standardized Precipitation Index (SPI) and the Meteorological Drought Index (D). Rainfall data between 1985 and 2014 from eight rain gauge stations were used in this study. 2) to compare the severity levels of drought from this study with those indicated by the Department of Water Resources. The SPI and D index from this study were between -0.45 and -1.41 and between -11.75 and -26.62, respectively that indicated the severity levels of drought in the Sakea Krang River basin were between mild drought and moderate drought. Comparison between study results and the severity levels analyzed by the Department of Water Resources, SPI index showed the severity levels more agreeable with MAPE of 20.83% than those indicated by D index with MAPE of 29.17%. The results from this study, therefore, illustrated that SPI index is appropriate to be used for drought severity level analysis in level of watershed area. Beside, this index can be applied for drought severity level prediction when accurate rainfall data prediction is available.   Keywords: Meteorological drought, The Standardized Precipitation Index, The Meteorological Drought Index, The Sakae Krang River basin UR - https://www.journal.nu.ac.th/NUJST/article/view/1549