A Development of a Model of Action Research Administration for Elementary Schools Under The Office of Basic Education / การพัฒนารูปแบบการบริหารงานวิจัยในชั้นเรียนของโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

##plugins.themes.bootstrap3.article.main##

Wanchai Phureksawan, Sunun Solkosuma and and Aumporn Lincharoen / วันชัย พฤกษะวัน สุนันท์ ศลโกสุม และเอื้อมพร หลินเจริญ

Abstract

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาสภาพของรูปแบบการบริหารงานวิจัยในชั้นเรียนของโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน 2) สร้างรูปแบบการบริหารงานวิจัยในชั้นเรียนของ โรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน 3) ศึกษาประสิทธิผลของรูปแบบการบริหารงานวิจัยในชั้นเรียนของโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน วิธีดำเนินการวิจัยแบ่งออกเป็น 3 ขั้นตอน ขั้นที่ 1 ศึกษาสภาพของรูปแบบ ขั้นที่ 2 การสร้างรูปแบบและขั้นที่ 3 การศึกษาประสิทธิผลของรูปแบบการบริหารงานวิจัยในชั้นเรียนของโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยในขั้นตอนที่ 1, 2 และ 3 ได้แก่ ผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษาในเขตภาคเหนือตอนล่าง จำนวน 317 โรงเรียน ผู้เชี่ยวชาญ 15 คน โรงเรียนที่ร่วมโครงการทดลองตามรูปแบบเจาะจง จำนวน 1 โรงเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง แบบสอบถาม คู่มือการบริหารงานวิจัยในชั้นเรียน แบบสอบถามความเหมาะสม และความเป็นไปได้ของคู่มือการบริหารงานวิจัยในชั้นเรียน ผลงานวิจัยในชั้นเรียนของคณะครูที่เข้าร่วมโครงการ แบบประเมินคุณภาพงานวิจัยในชั้นเรียน และแบบสอบถามความพึงพอใจของคณะครูผู้เข้าร่วมโครงการ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าความถี่ ค่าเฉลี่ย () และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.)

ผลการวิจัย พบว่า

1.  สภาพของรูปแบบการบริหารงานวิจัยในชั้นเรียนของโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานได้กำหนดไว้เป็น 3 ประเด็น ได้แก่ 1) กระบวนการบริหารงานวิจัยในชั้นเรียน 2) บทบาทหน้าที่ของผู้บริหารในการบริหารงานวิจัยในชั้นเรียน 3) ปัญหาและอุปสรรคในการบริหารงานวิจัยในชั้นเรียนในด้านกระบวนการบริหารงานวิจัยในชั้นเรียนในสภาพที่เป็นจริงในภาพรวมอยู่ในระดับมี และความคาดหวังอยู่ในระดับมาก สำหรับบทบาทหน้าที่ของผู้บริหารในการบริหารงานวิจัยในชั้นเรียนในสภาพที่เป็นจริงในภาพรวมอยู่ในระดับมี ความคาดหวังอยู่ในระดับมาก ปัญหาและอุปสรรคในการบริหารงานวิจัยในชั้นเรียนในภาพรวมอยู่ในระดับมาก

2.  รูปแบบการบริหารงานวิจัยในชั้นเรียนของโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน พบว่า รูปแบบการบริหารงานวิจัยในชั้นเรียนมี 5 กิจกรรมหลัก และ 31 กิจกรรมย่อย ได้แก่ กิจกรรมด้านการเตรียมความพร้อมมี 8 กิจกรรมย่อย กิจกรรมด้านการวางแผนมี 8 กิจกรรมย่อย กิจกรรมด้านการดำเนินการมี 7 กิจกรรมย่อย กิจกรรมด้านการประเมินผลมี 5 กิจกรรมย่อย และกิจกรรมด้านการปรับปรุงแก้ไขมี 3 กิจกรรมย่อย

3.  การศึกษาประสิทธิผลของรูปแบบการบริหารงานวิจัยในชั้นเรียนของโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานซึ่งศึกษาใน 3 ประเด็น ได้แก่ 1) จำนวนงานวิจัยในชั้นเรียนที่เกิดขึ้น พบว่า คณะครูที่เข้าร่วมโครงการทั้ง 13 คน จัดทำวิจัยในชั้นเรียนทุกคน 2) การประเมินคุณภาพงานวิจัย พบว่า คุณภาพงานวิจัยในภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก และ 3) ความพึงพอใจ
ของครูผู้เข้าร่วมโครงการในภาพรวมมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด

คำสำคัญ: รูปแบบการบริหารงานวิจัยในชั้นเรียน ประสิทธิผลของรูปแบบ

 

Abstract

The purposes of this research were to study the state of the model of action research used in the primary schools under the Office of Basic Education, develop a model, and investigate its efficiency. There were 3 stages in the research: studying the current state of the model, developing a model, and investigating the model’s efficiency. The subjects were 317 primary school principals in the lower north of Thailand and 15 experts as well as a school purposively selected for this study. The study tools were a structured interview, a questionnaire, a manual for action research, a questionnaire for appropriateness and feasibility of the manual, research reports of the teachers in the selected school, an evaluation from for action research, and a satisfaction questionnaire.
The data were analyzed by using percentage, frequency, mean, and standard deviation.      

The results showed that, in terms of the current state of the model, there were 3 aspects: the process of action research which was found to be at a having level and the expectation was at a high level, roles of principals in action research administration which were found to be at a having level and the expectation was at a high level, and problems of the administration as a whole at a high level. As for the development, the model consisted of 5 main activities and 31 sub-activities: 8 sub-activities on preparation, 8 on planning, 7 sub-activities on operation, 5 sub-activities on evaluation, and 3 sub-activities on improvement. In addition, the investigation of the developed model indicated that all 13 level. Also the teachers’ satisfaction towards the project was a highest level.

Keywords:  Action Research Administration, Model Effectiveness of The Model.     


Keywords
รูปแบบการบริหารงานวิจัยในชั้นเรียน ประสิทธิผลของรูปแบบ Action Research Administration, Model Effectiveness of The Model
Section
Research Articles

##plugins.themes.bootstrap3.article.details##

How to Cite
AND AUMPORN LINCHAROEN / วันชัย พฤกษะวัน สุนันท์ ศลโกสุม และเอื้อมพร หลินเจริญ, Wanchai Phureksawan, Sunun Solkosuma and. A Development of a Model of Action Research Administration for Elementary Schools Under The Office of Basic Education / การพัฒนารูปแบบการบริหารงานวิจัยในชั้นเรียนของโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. Journal of Community Development Research (Humanities and Social Sciences), [S.l.], v. 8, n. 1, p. 59-72, apr. 2015. ISSN 2985-0231. Available at: <https://www.journal.nu.ac.th/JCDR/article/view/928>. Date accessed: 24 apr. 2024. doi: https://doi.org/10.14456/jcdrnu-hss.v8i1.928.