การพัฒนาตัวชี้วัดระดับการพึ่งตนเองและพึ่งพากันเองตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ของเกษตรกรในโครงการพระราชดำริลุ่มน้ำห้วยทอน

##plugins.themes.bootstrap3.article.main##

ธวัชชัย เพ็งพินิจ ชวลิต สวัสดิ์ผล พรทวี พลเวียงพล วโรดม แสงแก้ว พิมพ์ชนก วัดทอง

Abstract

           การวิจัยครั้งนี้ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาตัวชี้วัดระดับการพึ่งตนเองและพึ่งพากันเอง ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของเกษตรกรในโครงการพระราชดำริลุ่มน้ำห้วยทอน ในพื้นที่21 หมู่บ้าน กลุ่มเป้าหมายประกอบด้วย เกษตรกร เจ้าหน้าที่รัฐ ผู้นำชุมชน และผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ใช้วิธีการเก็บข้อมูลจากเอกสาร การสังเกตแบบมีส่วนร่วม สัมภาษณ์เชิงลึก สนทนากลุ่ม และประชุมเชิงปฏิบัติการ ระยะเวลารวม12เดือน ผลการวิจัย พบว่า ตัวชี้วัดระดับการพึ่งตนเองตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ของเกษตรกรในโครงการพระราชดำริลุ่มน้ำห้วยทอนมีทั้งหมด 26 ตัวชี้วัด ประกอบด้วย ทำบัญชีครัวเรือน เก็บออม ปลูกผักสวนครัว ประหยัด ลดรายจ่าย เลี้ยงสัตว์บริโภค มีเหตุผล ทำปุ๋ยชีวภาพ สร้างรายได้ฝึกอาชีพจักสาน ปลูกพืชเศรษฐกิจ ไม่สร้างหนี้พอเพียง ยึดหลักธรรม รักษาสิ่งแวดล้อม ทำเกษตรผสมผสาน ทำอาชีพเสริม หาความรู้ให้คำปรึกษา ถือศีล ช่วยเหลือผู้อื่น เฝ้าระวังยาเสพติด ซื่อสัตย์ ไม่รบกวนผู้อื่น ปลูกข้าวไว้กิน และละเว้นอบายมุข ส่วนตัวชี้วัดระดับการพึ่งพากันเอง ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของเกษตรกรในโครงการพระราชดำริลุ่มน้ำห้วยทอนมีทั้งหมด 15 ตัวชี้วัด ประกอบด้วย รวมกลุ่มกิจกรรม สามัคคี ประชุมร่วมกัน กองทุนหมุนเวียน มีอ่างเก็บน้ำ รับฟังเหตุผล เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ จัดเวรยาม ชุมชนพอเพียง ถ่ายทอดความรู้ ช่วยเหลือกัน ถือศีล ตั้งกฎระเบียบหมู่บ้าน เฝ้าระวังยาเสพติด และผู้นำเข้มแข็ง

 

        

This research used qualitative methodology. Aims to development of indicators level of self and mutual
reliance according to the Sufficiency Economy Philosophy of farmers in the Royal Project at the Huay Thon
watershed. In the area 21 villages. Target groups include farmers, Government officials, community leaders and
stakeholders. The data collection from the document, participatory observation, in-depth interviews, focus groups and
workshop in the duration of 12 months. The results are found: Indicators level of self reliance according to the
Sufficiency Economy Philosophy of farmers in the Royal Project at the Huay Thon watershed. A total of 26
indicators include: making household accounting, savings, growing backyard vegetables, conserve, reduction of
expenses, husbandry for consumtion, rationality, organic fertilizer, creation of income, training basketry, planting of
industrial crops, no creation of debt, sufficiency, intent on Dharma, environmental preservation, doing mixed farming,
doing supplementary occupations, search for knowledge, giving advice, holding on precepts, assistance to others,
surveillance on narcotics, honesty, no annoyance to others, planting crops to eat and abstinence from vices. Indicators
level of mutual reliance according to the Sufficiency Economy Philosophy of farmers in the Royal Project at the Huay
Thon watershed. A total of 15 indicators include: group activities, harmony, meeting, revolving funds, having of
reservoirs, listening to others’ reasons, benevolence, setting up of security, sufficient community, transfer of
knowledge, mutual help, holding on precepts, setting up the village rules, surveillance on narcotics and strong
leadership.


Keywords
ตัวชี้วัด; การพึ่งตนเองและพึ่งพากันเอง; ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง; เกษตรกร; โครงการพระราชดำริ; ลุ่มน้ำห้วยทอน; Indicators, Self and Mutual Reliance, Sufficiency Economy Philosophy, Farmers, Royal Project, Huay Thon Watershed
Section
Humanities and Social Sciences

##plugins.themes.bootstrap3.article.details##

How to Cite
เพ็งพินิจ, ธวัชชัย et al. การพัฒนาตัวชี้วัดระดับการพึ่งตนเองและพึ่งพากันเองตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ของเกษตรกรในโครงการพระราชดำริลุ่มน้ำห้วยทอน. Journal of Community Development Research (Humanities and Social Sciences), [S.l.], v. 5, n. 2, p. 93-107, nov. 2013. ISSN 2985-0231. Available at: <https://www.journal.nu.ac.th/JCDR/article/view/413>. Date accessed: 17 apr. 2024.