ความต้องการการสนับสนุนเพื่อพัฒนาการท่องเที่ยวโดยชุมชน ในอำเภอกัลยาณิวัฒนา จังหวัดเชียงใหม่

##plugins.themes.bootstrap3.article.main##

ดวงพร อ่อนหวาน พิศาพิมพ์ จันทร์พรหม

Abstract

          การศึกษาวิจัยครั้งนี้ใช้วิธีผสมผสานการวิจัยเชิงปริมาณและการวิจัยเชิงคุณภาพ เพื่อศึกษาศักยภาพของ อำเภอกัลยาณิวัฒนา ในการเป็นพื้นที่ท่องเที่ยวเชิงนิเวศ และเพื่อศึกษาความต้องการการสนับสนุนเพื่อพัฒนาการท่องเที่ยว โดยชุมชน ประชากรคือ ประชาชนในตำบลบ้านจันทร์และตำบลแจ่มหลวง อำเภอกัลยาณิวัฒนา จังหวัดเชียงใหม่ เครื่องมือ ที่ใช้เป็นแบบสอบถามที่เก็บรวบรวมจากกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 100 คน ที่ใช้วิธีการเลือกตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive sampling) และเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยวิธีการสังเกต การสัมภาษณ์ และการสนทนากลุ่มกับผู้นำชุมชน และคนในชุมชน ข้อมูลที่ได้จากแบบสอบถามนำมาหาค่าสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ส่วนข้อมูล เชิงคุณภาพนำมาวิเคราะห์เชื่อมโยงกับผลสรุปที่ได้จากแบบสอบถาม

       ผลการศึกษา พบว่า ในพื้นที่ตำบลบ้านจันทร์ และตำบลแจ่มหลวง อำเภอกัลยาณิวัฒนา จังหวัดเชียงใหม่ เป็นพื้นที่ ที่มีศักยภาพที่จะเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศ เมื่อพิจารณาจากจุดดึงดูดด้านการท่องเที่ยวและเรียนรู้ของแหล่งธรรมชาติ ความอุดมสมบูรณ์ของแหล่งธรรมชาติความเกี่ยวข้องของวัฒนธรรมท้องถิ่นกับแหล่งธรรมชาติและความปลอดภัยของแหล่ง ธรรมชาติในการท่องเที่ยว ส่วนด้านความต้องการการสนับสนุนเพื่อพัฒนาการท่องเที่ยวโดยชุมชน พบว่า คนในชุมชน มีความรู้ความเข้าใจเรื่องการท่องเที่ยวโดยชุมชน และเห็นความสำคัญของการท่องเที่ยวโดยชุมชนที่จะมีผลต่อการพัฒนาชุมชน แต่ขาดความมั่นใจในการเริ่มต้นจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชน และต้องการได้รับการช่วยเหลือสนับสนุนเพื่อจัดการท่องเที่ยว โดยชุมชนจากหน่วยงานภายนอกพื้นที่

 

       The combination between quantitative and qualitative analysis was used in this research in order to study the capacity of Galyani Vadhana District to find if it qualifies for eco-tourism and cultural tourism and also to study the need to develop community-based tourism. Populations are the people in Tambon Wat Jun and Tumbon Jam Luang, Galyani Vadhana District, Chiang Mai. The tool used is a questionnaire which was distributed among 100 samples by selective and purposive sampling while qualitative data was collected through observations, interviewing and conversations making with community leaders as well as the people in community. Data obtained from the questionnaire was used to find descriptive statistics including percentage value, mean value and standard deviation. Qualitative data was analyzed along with the conclusion drawn from the questionnaire.

       As a result of the study, it was found that both Tambon Ban Jun and Tambon Jam Luang, Galyani Vadhana District, Chiang Mai, have all the qualifications required for ecotourism purpose, taking into consideration the attractiveness of natural-based tourism and study, natural fertility, the relationship between local cultures and natural attractions as well as the safety of natural attractions. For the need to develop community-based tourism, the result shows that people in the community were aware of and had a good understanding about community-based tourism. They realized how important the community-based tourism would impact on community development. However, they were lack of confidence in self-initiated community-based tourism and need the help and support for communitybased tourism organizations from external work divisions


Keywords
การพัฒนา; การท่องเที่ยวโดยชุมชน; อำเภอกัลยาณิวัฒนา; Development, Community-Based Tourism, Galyani Vadhana District
Section
Humanities and Social Sciences

##plugins.themes.bootstrap3.article.details##

How to Cite
อ่อนหวาน, ดวงพร; จันทร์พรหม, พิศาพิมพ์. ความต้องการการสนับสนุนเพื่อพัฒนาการท่องเที่ยวโดยชุมชน ในอำเภอกัลยาณิวัฒนา จังหวัดเชียงใหม่. Journal of Community Development Research (Humanities and Social Sciences), [S.l.], v. 5, n. 2, p. 79-92, nov. 2013. ISSN 2985-0231. Available at: <https://www.journal.nu.ac.th/JCDR/article/view/412>. Date accessed: 29 mar. 2024.