การมีส่วนร่วมของชุมชนกับการจัดทำแผนการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ

##plugins.themes.bootstrap3.article.main##

เจริญชัย หมื่นห่อ

Abstract

         การวิจัยแบบมีส่วนร่วมครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความต้องการด้านการส่งเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุจากการมี ส่วนร่วมของชุมชนบ้านนาราชควาย ตำบลนาราชควาย อำเภอเมือง จังหวัดนครพนม โดยใช้เทคนิคการประชุมแบบมีส่วนร่วมอย่าง สร้างสรรค์(Appreciation Influence Control, AIC) เป็นเครื่องมือในการวิจัยเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยวิธีเชิงคุณภาพโดยใช้การ สังเกตแบบมีส่วนร่วม และไม่มีส่วนร่วม การสัมภาษณ์เชิงลึก และการประชุมวางแผนโดยการมีส่ว นร่ว มอย่าง สร้างสรรค์ การวิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา

         ผลการศึกษาพบว่า ประชากรส่วนใหญ่เป็นคนไทยลาวอีสานและไทยเวียดนาม ลักษณะภูมิประเทศเป็นที่ราบลุ่ม และใช้เป็นที่สำหรับทำนาปลูกข้าว ประชากรจำนวน 3,331 คน มีปัญหาด้านสุขภาพป่วยโดยป่วยเป็นโรคเรื้อรัง โรคที่เกิด จากความเสื่อมของร่างกายและโรคที่เกิดจากการมีพฤติกรรมการบริโภคที่ไม่เหมาะสมเช่นโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคปวดหลังปวดเอว การจัดประชุมแบบมีส่วนร่วมอย่างสร้างสรรค์ในการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ มี3 ขั้นตอน คือ 1) ขั้นตอนการสร้างความรู้ ความเข้าใจสภาพปัจจุบันของผู้สูงอายุในชุมชน (Appreciation) 2) ขั้นตอนการ สร้างแนวทางในการพัฒนา (Influence) และ 3) ขั้นตอน

         การกำหนดแนวทางปฏิบัติ(Control) เป็นการนำโครงการมากำหนดเป็นแผนปฏิบัติการอย่างละเอียด ซึ่งประกอบด้วย โครงการส่งเสริมการออกกำลังกาย, โครงการจัดตั้งชมรมผู้สูงอายุ, โครงการพัฒนาศักยภาพผู้ดูแลผู้สูงอายุในชุมชนและโครงการเยี่ยม บ้านผู้สูงอายุ ผลการดำเนินโครงการพบว่า สามารถกระตุ้นส่งเสริมให้ชุมชนและผู้เกี่ยวข้องมีความตระหนักและให้ความสำคัญรวมทั้ง มีส่วนร่วมในการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุมากขึ้นเกิดกลไกการบริหารชมรมผู้สูงอายุ มีแผนกิจกรรมการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ ของชุมชน มีการดำเนินกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุมีเครือข่ายในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เกี่ยวกับการส่งเสริมสุขภาพ มีการเพิ่ม ศักยภาพของผู้ดูแลผู้สูงอายุในชุมชนให้สูงขึ้นตลอดจนการปรับเปลี่ยนวิธีการดูแลตนเองของผู้สูงอายุและบุคคลในครอบครัว ในการดูแลผู้สูงอายุทำให้ผู้สูงอายุมีความพึงพอใจ สุขใจ ซึ่งส่งผลให้ภาวะสุขภาวะสุขภาพของผู้สูงอายุดีขึ้นด้วย

 

        This participatory qualitative research aimed to study the needs on health promotion of the elderly by

community’s participation at Ban Narajchakwai, Narajchakwai Sub-district, Muang District, Nakhon Phanom
Province. Study used qualitative methods for data collection with Appreciation Influence Control (AIC), participatory
observation and non-participatory observation, in-depth interviews, participation in the planning meeting by
creatively, simultaneous content analysis.
            Research found Ban Narajchakwai has 3,331 peoples. The most populated are Thai-Lao and Vietnamese-
Thai. The topography is plains and used for rice farming. The health problems, There were patients with chronic
diseases, degenerative diseases of the body and consumption behavior inappropriate, such as diabetes, hypertension,
heart disease, stroke and back pain. The promote healthy elderly by creative AIC has 3 steps 1) Appreciation:
The process of knowledge creation and Understanding of the current condition of the elderly in the community
2) Influence: The process of building the development. 3) Control: Procedure guidelines. The AIC is set to plan
carefully. AIC leaded project to define a detailed action plan that include promoting exercise project, organize elderly
club project, development potential caregivers project in community and home visits to seniors project.
           Program performance found all project can motivate and encourage the community and stakeholders are
aware of the project importance. Including to Participate in the elderly health promotion that make elderly club
management mechanism, Plan of the elderly health promotion activities of the community, elderly health promotion
Activities, health promotion network to exchange knowledge, increase the capacity of the caregivers in the
community, and Modified self-care method of elderly and family. Great elderly care are satisfied and delight that
influence elderly health better.


Keywords
การมีส่วนร่วมของชุมชน; กระบวนการมีส่วนร่วมอย่างสร้างสรรค์; ผู้สูงอายุ; แผนการส่งเสริมสุขภาพ; Community Participation, AIC, Elderly, Health promotion plan
Section
Health and Sciences

##plugins.themes.bootstrap3.article.details##

How to Cite
หมื่นห่อ, เจริญชัย. การมีส่วนร่วมของชุมชนกับการจัดทำแผนการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ. Journal of Community Development Research (Humanities and Social Sciences), [S.l.], v. 5, n. 2, p. 43-54, nov. 2013. ISSN 2985-0231. Available at: <https://www.journal.nu.ac.th/JCDR/article/view/409>. Date accessed: 20 apr. 2024.