การศึกษาบริบทของห่วงโซ่อุปทานแบบมีส่วนร่วมของ กลุ่มเกษตรกรธุรกิจอุตสาหกรรมเม็ดมะม่วงหิมพานต์ เพื่อเสริมสร้างความเข็มแข็งของเศรษฐกิจชุมชน

##plugins.themes.bootstrap3.article.main##

กันต์ อินทุวงศ์

Abstract

        การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาบริบทของห่วงโซ่อุปทานแบบมีส่วนร่วมของกลุ่มเกษตรกรมีกลุ่มตัวอย่างจำนวน 200 คน โดยใช้แบบสอบถามในการเก็บข้อมูล โดยใช้สถิติเป็นค่าแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า โดยภาพรวมของการจัดการห่วงโซ่อุปทานธุรกิจเม็ดมะม่วงหิมพานต์ของเครือข่าย มีค่าปฏิบัติงานโดยรวมมี ค่าเฉลี่ยระดับมากที่สุด ( \bar{x} = 4.49, S.D. = 0.15) และในด้านความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนกับ การประเมินความสำคัญของลักษณะคุณภาพของเม็ดมะม่วงหิมพานต์ ซึ่งมีอยู่ด้วยกัน 6 ปัจจัย ปัจจัยด้านการผลิต (Factors Conditions) ยังมีปัญหาทางด้านการขาดแคลนแรงงานถึงร้อยละ 62.5 ซึ่งมีผลกระทบต่อกระบวนการการผลิต/แปรรูป เนื่องจากเกษตรกรไม่สามารถมองเห็นจากเปลือกนอกได้ กระทั่งกะเทาะเมล็ดออกจึงพบปัญหาทำให้สิ้นเปลืองเวลา และต้นทุนการผลิต ปัจจัยด้านอุปสงค์(Demand Conditions) การรักษาคุณภาพผลผลิตเพื่อป้องกันการปลอมปนของผลิตภัณฑ์ จากที่อื่นซึ่งส่งผลให้ราคารับซื้อลดลงกว่าร้อยละ 50 ปัจจัยด้านอุตสาหกรรมแบ่งเป็น 2 ลักษณะ คือ เมล็ดมะม่วงหิมพานต์ดิบ กับเม็ดมะม่วงหิมพานต์ที่ผ่านการกะเทาะเปลือกเมล็ดและลอกเยื่อออกแล้ว ผลผลิตทั้งสองจะผ่านกระบวนการผลิต/แปรรูป ปัจจัยด้านกลยุทธ์, มีลักษณะการรวมกลุ่มกันเพื่อสร้าง ความเข้มแข็งให้กับกลุ่มให้มีอำนาจการต่อรองเรื่องราคา ปัจจัย ทางรัฐบาล (Government) หน่วยงานที่เกี่ยวข้องในระดับจังหวัด องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มีนโยบายและเห็นความสำคัญ ของการรักษาคุณภาพเม็ดซึ่งมีลักษณะขนาดและรสชาติเป็นเอกลักษณ์เฉพาะถิ่น สามารถสร้างจุดแข็งให้กับเกษตรกร ปัจจัย ทางโอกาส (Chance) จากเหตุการณ์ราคาผลผลิตเม็ดมะม่วงหิมพานต์ตกต่ำ อันเนื่องจากภาวะล้นตลาด และความสัมพันธ์ ระหว่างปริมาณการขายกับปริมาณความต้องการจึงเกิดภาวะล้นตลาดและราคาตกต่ำลง จุดเด่นที่ทำให้กลุ่มประสบ ความสำเร็จของเกษตรกรผู้ปลูกมะม่วงหิมพานต์เพื่อศึกษาการรับรู้ของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนในเรื่องคุณภาพ ถึงร้อยละ 68.50 ของเม็ดมะม่วงหิมพานต์

  

        This study was conducted to investigate the context of participatory supply chain of the farmers group of cashew nut industry business. A set of questionnaires was used for data collection administered with 200 farmers doing the business. Obtained data were analyzed by using frequency, percentage, mean, and standard deviation. Findings showed that, as a whole, the management of the supply chain of the cashew nut business networks was found at a highest level ( \bar{x} = 4.49, S.D. = 0.15). Regarding the relationships between factors of the community enterprise group and the importance assessment of quality characteristics of cashew nut based on 6 factors. Factors conditions still had a problem in workforce lacking (62.5%), resulting in an effect on the production/processing process. This was because the farmers could not observe the external appearance. This wasted time and production costs. Demand conditions –the maintaining of yield quality to prevent adulteration of products from other places which resulted in a decreased price for more than 50 percent. Industrial factor –it was sorted into 2 aspects: raw cashew nuts and shell‐cracked cashew nuts. Yields of both types of cashew nuts passed the production/processing process. Strategy factor – the farmers group themselves for strengthening in the negotiation in pricing. Government factor – concerned agencies at the provincial level and local administrative organization had a policy and placed the importance on cashew nut quality maintaining based on its unique quality, size and taste. Chance factor –based on the falling price of cashew nuts due to oversupply and the relationships between sales volume and demand, it resulted in low price and over supply of cashew nuts. However, the farmers group was successful in their business because they studied on the perception of the community enterprise about quality (68.50%). It could be said that the perception of the community enterprise on cashew nut quality was at a high level.

      


Keywords
ห่วงโซ่อุปทาน; การมีส่วนร่วม; เม็ดมะม่วงหิมพานต์; เศรษฐกิจชุมชน; Supply chain, participation, cashew nut, community economy
Section
Science and Technology

##plugins.themes.bootstrap3.article.details##

How to Cite
อินทุวงศ์, กันต์. การศึกษาบริบทของห่วงโซ่อุปทานแบบมีส่วนร่วมของ กลุ่มเกษตรกรธุรกิจอุตสาหกรรมเม็ดมะม่วงหิมพานต์ เพื่อเสริมสร้างความเข็มแข็งของเศรษฐกิจชุมชน. Journal of Community Development Research (Humanities and Social Sciences), [S.l.], v. 5, n. 2, p. 1-14, nov. 2013. ISSN 2985-0231. Available at: <https://www.journal.nu.ac.th/JCDR/article/view/406>. Date accessed: 25 apr. 2024.