Equity Fund Performance Comparison between Bank Affiliate and Non-Bank Affiliate Subsidiary Mutual Funds / การเปรียบเทียบผลการดำเนินงานของกองทุนรวมที่ลงทุนในหุ้นที่บริหาร โดยบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนที่ถือหุ้นใหญ่และไม่ถือหุ้นใหญ่โดยธนาคารพาณิชย์

##plugins.themes.bootstrap3.article.main##

Bunachanok Detpech and Tanachote Boonvorachote / บุณณชนก เดชเพ็ชร์ และธนโชติ บุญวรโชติ

Abstract

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาผลการดำเนินงานของกองทุนรวมที่ลงทุนในตราสารทุนภายในประเทศ ซึ่งเก็บข้อมูลแบบทุติยภูมิ (Secondary Data) โดยทำการศึกษาจากการเปลี่ยนแปลงมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุน (NAV) แบบรายเดือน โดยทำการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานระหว่างกองทุนที่แตกต่างกันตามเป้าหมายการลงทุนของกองทุนที่บริหารโดยบริษัทจัดการหลักทรัพย์ที่ถือหุ้นใหญ่และไม่ถือหุ้นใหญ่โดยธนาคารพาณิชย์ วัดผลการดำเนินงานจากการใช้ทฤษฎีอัตราผลตอบแทน ทฤษฎีความเสี่ยง และมาตรวัดผลการดำเนินงานตามตัวแบบ Sharpe Ratio, CAPM และแบบจำลองของจังหวะเวลาการลงทุนตามสภาวะตลาด (Market Timing) ของผู้จัดการกองทุน รวมถึงลักษณะการบริหาร ซึ่งพิจารณาจากค่าธรรมเนียมการจัดการ อัตราการเติบโตของกองทุน อายุการดำเนินงาน และขนาดของกองทุน ในการวิเคราะห์ พบว่า กองทุนที่บริหารโดยบริษัทจัดการหลักทรัพย์ที่ถือหุ้นใหญ่โดยธนาคารพาณิชย์มีค่าความผันผวนที่ต่ำกว่ากองทุนรวมที่บริหารโดยบริษัทจัดการหลักทรัพย์ที่ไม่ถือหุ้นใหญ่โดยธนาคารพาณิชย์ ซึ่งมีขนาดของกองทุนเล็กกว่า 79% และ Growth rate ที่ต่ำกว่า ซึ่งบริษัทจัดการหลักทรัพย์ที่ไม่ถือหุ้นใหญ่โดยธนาคารพาณิชย์มีข้อเสียเปรียบในเรื่องของสาขาในการให้บริการที่มีอยู่จำนวนน้อยและขนาดของกองทุนที่เล็กมีจำนวนเงินทุนที่น้อยกว่าก็ส่งผลต่อผลการดำเนินงานของกองทุน โดยภาพรวมแล้วนั้นผลการดำเนินงานโดยเฉลี่ยของกองทุนที่บริหารโดยบริษัทจัดการหลักทรัพย์ที่ถือหุ้นใหญ่โดยธนาคารพาณิชย์มีผลการดำเนินงานที่ดีกว่ากองทุนรวมที่บริหารโดยบริษัทจัดการหลักทรัพย์ที่ไม่ถือหุ้นใหญ่โดยธนาคารพาณิชย์

 

คำสำคัญ: กองทุนรวม  ตราสารทุน  การวัดผลการดำเนินงาน  ความสามารถด้านจังหวะเวลาการลงทุน

 

Abstract

This research study about the performance of mutual funds that investment in Thai Mutual Fund with Secondary Data. To study the Net Asset Value (NAV). From monthly return data is investigated by comparing the performance of different funds according to the investment style by Bank Affiliate and Non-Bank Affiliate Subsidiary Mutual Funds. To determine the performance of the Return rate, Risk-adjusted abnormal return, Sharpe Ratio, CAPM and Market timing ability various models, Furthermore, after controlling for management fee, fund growth rate, fund age and fund size exhibit the risk of Bank Affiliate lower than Non-Bank Affiliate so, the fund size less than 79% and lower growth rate of Non-Bank Affiliate, due to disadvantage in terms of insufficient of branch service and the small size of funds, also influence the operations of the Fund. The overview, performance of mutual funds by Bank Affiliate better than Non-Bank Affiliate.

 

Keywords: Mutual Fund, Equity Security Fund, Performance Evaluations, Market Timing


Keywords
กองทุนรวม ตราสารทุน การวัดผลการดำเนินงาน ความสามารถด้านจังหวะเวลาการลงทุน Mutual Fund, Equity Security Fund, Performance Evaluations, Market Timing
Section
Research Articles

##plugins.themes.bootstrap3.article.details##

How to Cite
TANACHOTE BOONVORACHOTE / บุณณชนก เดชเพ็ชร์ และธนโชติ บุญวรโชติ, Bunachanok Detpech and. Equity Fund Performance Comparison between Bank Affiliate and Non-Bank Affiliate Subsidiary Mutual Funds / การเปรียบเทียบผลการดำเนินงานของกองทุนรวมที่ลงทุนในหุ้นที่บริหาร โดยบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนที่ถือหุ้นใหญ่และไม่ถือหุ้นใหญ่โดยธนาคารพาณิชย์. Journal of Community Development Research (Humanities and Social Sciences), [S.l.], v. 9, n. 2, p. 106-114, aug. 2016. ISSN 2985-0231. Available at: <https://www.journal.nu.ac.th/JCDR/article/view/1441>. Date accessed: 19 apr. 2024.