Evaluation of the Assessment Tool for Undergraduate Student’s Volunteering Behavior and Invariance of the Model / การประเมินเครื่องมือวัดพฤติกรรมการมีจิตอาสาของนักศึกษาปริญญาตรี และความไม่แปรเปลี่ยนของโมเดลการวัด

##plugins.themes.bootstrap3.article.main##

Anan Yaemyuean / อนันต์ แย้มเยื้อน

Abstract

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. เพื่อวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจของแบบวัด 2. เพื่อวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันอันดับที่สองของแบบวัด 3. เพื่อศึกษาความไม่แปรเปลี่ยนของโมเดลการวัดของแบบวัด และ 4. เพื่อศึกษาความตรงของแบบวัดระหว่างแบบวัดที่เป็นมาตรฐานกับแบบวัดที่สร้างขึ้นใหม่ การวิจัยครั้งนี้ได้ทำการสุ่มตัวอย่างโดยใช้วิธีแบบหลายขั้นตอนกำหนดโควต้า (Multistage Quota Random Sampling) กลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษาปริญญาตรี ซึ่งแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ 1) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิเคราะห์คุณภาพรายข้อและการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ (Exploratory Factor Analysis) จำนวน 300 คน 2) กลุ่มตัวอย่างเพื่อนำมาทำการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันอันดับที่สอง (Confirmatory Factor Analysis) และทำการศึกษาความไม่แปรเปลี่ยนของโมเดลการวัด จำนวน 300 คน และ 3) กลุ่มตัวอย่างที่นำมาหาค่าความตรงของเครื่องมือวัดแบบ Convergent Validity จำนวน 120 คน ผลการวิเคราะห์ข้อมูลสรุปได้ 4 ประการ ดังนี้ ประการแรก เมื่อวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจของแบบวัด พบว่า ได้องค์ประกอบของแบบวัด จำนวน 3 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) รณรงค์ช่วยเหลือสังคม จำนวน 5 ข้อ 2) บริจาคสิ่งของช่วยเหลือ จำนวน 4 ข้อ และ 3) กระทำเพื่อส่วนรวม จำนวน 4 ข้อ รวมทั้งสิ้น 13 ข้อ ซึ่งสามารถอธิบายความแปรปรวนได้ 64.81% ประการที่สอง เมื่อทำการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันอันดับที่สอง ปรากฏว่า โมเดลกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยมีค่า Chi-Square = 60.11, df = 47, p-value = 0.09, GFI = 0.97, CFI = 1.00, RMSEA = 0.03, SRMR = 0.04 ประการที่สาม ผลการวิเคราะห์ความไม่แปรเปลี่ยนของโมเดล พบว่า ไม่มีความแปรเปลี่ยนของโมเดลการวัดในเชิงรูปแบบโมเดล (Form) และความไม่แปรเปลี่ยนของน้ำหนักองค์ประกอบ (LY) ตามเกรดเฉลี่ย ประการสุดท้าย แบบวัดพฤติกรรมการมีจิตอาสา
มีความสัมพันธ์ทางบวกกับแบบวัดพฤติกรรมการมีจิตอาสาที่มีมาตรฐานสูง (r = 0.73)

 

คำสำคัญ: การวิเคราะห์องค์ประกอบ  ความไม่แปรเปลี่ยนของโมเดลการวัด  ความตรง  พฤติกรรมการมีจิตอาสา  นักศึกษาปริญญาตรี

 

Abstract

The purposes of this research were (1) conducting exploratory factor analysis; (2) conducting the second order confirmatory factor analysis; (3) testing measurement invariance; and (4) testing standardized measurement with a new one. This research used multistage quota random sampling. The samples of the study were undergraduate students which were divided into three groups as followed. First, 300 students were selected for exploratory factor analysis. Second, 300 students were selected for the second order confirmatory factor analysis and testing measurement invariance. Finally, 120 students were selected for testing convergent validity measurement.

The results of the research were as followed. Firstly, exploratory factor analysis found three factors; namely, five items for social care campaigns, four items for social donation, and four items for participation. Those 13 items described the variance at 64.81%. Secondly, the second order confirmatory factor analysis found that the model harmonized with the empirical evidence at Chi-Square = 60.11, df = 47, p-value = 0.09, GFI = 0.97, CFI = 1.00, RMSEA = 0.03, SRMR = 0.04. Thirdly, the result of the measurement invariance test showed that measurement invariance in terms of pattern were not changed with the grade point average. Finally, public consciousness measurement form has a positive relationship with high public consciousness standard (r = 0.73).

 Keywords: Factor Analysis, Measurement Invariance, Convergent Validity, Volunteering Behavior, Undergraduate Students


Keywords
การวิเคราะห์องค์ประกอบ ความไม่แปรเปลี่ยนของโมเดลการวัด ความตรง พฤติกรรมการมีจิตอาสา นักศึกษาปริญญาตรี Factor Analysis, Measurement Invariance, Convergent Validity, Volunteering Behavior, Undergraduate Students
Section
Research Articles

##plugins.themes.bootstrap3.article.details##

How to Cite
/ อนันต์ แย้มเยื้อน, Anan Yaemyuean. Evaluation of the Assessment Tool for Undergraduate Student’s Volunteering Behavior and Invariance of the Model / การประเมินเครื่องมือวัดพฤติกรรมการมีจิตอาสาของนักศึกษาปริญญาตรี และความไม่แปรเปลี่ยนของโมเดลการวัด. Journal of Community Development Research (Humanities and Social Sciences), [S.l.], v. 9, n. 2, p. 81-95, aug. 2016. ISSN 2985-0231. Available at: <https://www.journal.nu.ac.th/JCDR/article/view/1439>. Date accessed: 23 apr. 2024.