Development of Mathematical Literacy Evaluation Model / การพัฒนารูปแบบการประเมินการรู้คณิตศาสตร์

##plugins.themes.bootstrap3.article.main##

Jarunan Khwannan, Aumporn Lincharoen, Sa จารุนันท์ ขวัญแน่น, เอื้อมพร หลินเจริญ, สายฝน วิบูลรังสรรค์ และวนินทร สุภาพ

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนารูปแบบการประเมินการรู้คณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน วิธีดำเนินการวิจัย แบ่งออกเป็น 4 ขั้นตอน คือ 1) สร้างองค์ประกอบและตัวบ่งชี้การประเมินการรู้คณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน 2) สร้างและตรวจสอบคุณภาพของรูปแบบการประเมินการรู้คณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน 3) ทดลองใช้เครื่องมือประเมินการรู้คณิตศาสตร์สำหรับนักเรียนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน 4) ประเมินรูปแบบการประเมินการรู้คณิตศาสตร์สำหรับนักเรียนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ผลการวิจัย พบว่า

1.  องค์ประกอบและตัวบ่งชี้การประเมินการรู้คณิตศาสตร์ของนักเรียนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ประกอบด้วย 4 องค์ประกอบหลัก 21 ตัวบ่งชี้ ได้แก่ องค์ประกอบที่ 1 การแก้ปัญหาคณิตศาสตร์ในสถานการณ์โลกจริงมี 6 ตัวบ่งชี้ องค์ประกอบที่ 2 ความรู้ในเนื้อหาทางคณิตศาสตร์ มี 4 ตัวบ่งชี้ องค์ประกอบที่ 3 สมรรถนะทางคณิตศาสตร์ในการแก้ปัญหา มี 8 ตัวบ่งชี้ และองค์ประกอบที่ 4 กลุ่มของสมรรถนะคณิตศาสตร์ในการแก้ปัญหา มี 3 ตัวบ่งชี้

2.  รูปแบบการประเมินการรู้คณิตศาสตร์ มีความเหมาะสมและมีความเป็นไปได้ในการนำไปใช้อยู่ในระดับมากขึ้นไปทุกองค์ประกอบ รูปแบบมีลักษณะเป็นโครงสร้างที่สัมพันธ์กัน 8 องค์ประกอบ ประกอบด้วย 1) วัตถุประสงค์การประเมิน 2) สิ่งที่มุ่งประเมิน 3) วิธีการประเมิน 4) ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการประเมิน 5) เวลา/สถานที่ประเมิน 6) การจัดเก็บข้อมูลการประเมิน 7) เกณฑ์การตัดสินผลการประเมินและ 8) การเขียนรายงานการประเมิน

3.  ผลการทดลองใช้เครื่องมือในการประเมินการรู้คณิตศาสตร์ของนักเรียนที่สร้างขึ้น พบว่า เครื่องมือมีค่าความยากอยู่ระหว่าง 0.50-0.79 และค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง 0.21-0.26 มีค่าความเชื่อมั่น 0.96 ผลการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน (Confirmatory Factor Analysis) มีความตรงเชิงโครงสร้างตามองค์ประกอบและตัวบ่งชี้การประเมินการรู้คณิตศาสตร์ทุกองค์ประกอบ ค่าไค-สแควร์ มีค่าเท่ากับ 183.23 และมีค่าความน่าจะเป็นที่เหตุการณ์จะเกิดขึ้น ถ้าสมมุติฐานหลักเป็นจริงเท่ากับ 0.05 (p = 0.05) ที่องศาอิสระเท่ากับ 154 (df = 154) ค่าดัชนีวัดระดับความกลมกลืน มีค่าเท่ากับ 0.95 (GFI = 0.95)  และดัชนีวัดระดับความกลมกลืนที่ปรับแก้แล้ว มีค่าเท่ากับ 0.92 (AGFI = 0.92) ค่าดัชนีรากกำลังสองของเศษเหลือมีค่าเท่ากับ 0.01 (RMR = 0.01) และค่าดัชนีกำลังสองของความคลาดเคลื่อน เท่ากับ 0.02 (RMSEA=0.02)

4.  รูปแบบการประเมินการรู้คณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พบว่า มีความเป็นประโยชน์ ความเป็นไปได้ ความเหมาะสมและความถูกต้อง ต่อการนำไปใช้ในการประเมินการรู้คณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานในระดับมากที่สุด

 

คำสำคัญ: การพัฒนารูปแบบ  การประเมินการรู้คณิตศาสตร์  การรู้คณิตศาสตร์        

 

Abstract

The purpose of this study was to develop the Mathematical Literacy evaluation model for students in basic education. The research method consisted of four phases: 1) Developing factors and indicators of the Mathematical Literacy evaluation model for students in basic education, 2) Developing and validating the Mathematical Literacy evaluation model for students in basic education, 3) Implementing /Trying out the Mathematical Literacy evaluation model for students in basic education, 4) Evaluating the Mathematical Literacy evaluation model for students in basic education.

The results of this study showed that:

1.  The factors and the indicators of the Mathematical Literacy evaluation model for students in basic education consisted of 4 factors which including 21 indicators: The first factor was the mathematical problem solving in a real world situation including 6 indicators. The second factor was the in mathematics content knowledge including 4 indicators. The third factor was the mathematical competency in problem solving including 8 indicators and the last factors was the cluster of mathematical competency in problem solving which including 3 indicators.

2.  The Mathematical Literacy evaluation model was appropriate and feasible to implement at high level. The model contained 8 factors which were 1) Evaluation Objectives 2) Evaluation Objects 3) Evaluation Methods 4) Evaluation Participants 5) Evaluation time and site 6) Data Collection 7) Evaluation Criteria 8) Evaluation Report.

3.  The results of the implementation of the Mathematical Literacy evaluation instrument were found that the difficulty is between 0.50–0.79, the discriminations is between 0.21-0.26 and the reliability was 0.96. The results from confirmatory factor analysis indicated that the instrument are valid with a chi-square of 183.23, p-value of 0.05 (p = 0.05), a degrees of freedom of 154 (df = 154), GFI = 0.95, AGFI = 0.92, RMR = 0.01 and RMSEA = 0.02

4.  The Mathematical Literacy evaluation model for students in basic education was useful, feasible, appropriate and accurate to implement the Mathematical Literacy evaluation model for students in basic education at highest level.

 

Keywords: Development Evaluation Model, Evaluation of Mathematical Literacy, Mathematical Literacy


Keywords
การพัฒนารูปแบบ การประเมินการรู้คณิตศาสตร์ การรู้คณิตศาสตร์ Development Evaluation Model, Evaluation of Mathematical Literacy, Mathematical Literacy
Section
Research Articles

##plugins.themes.bootstrap3.article.details##

How to Cite
จารุนันท์ ขวัญแน่น, เอื้อมพร หลินเจริญ, สายฝน วิบูลรังสรรค์ และวนินทร สุภาพ, Jarunan Khwannan, Aumporn Lincharoen, Sa. Development of Mathematical Literacy Evaluation Model / การพัฒนารูปแบบการประเมินการรู้คณิตศาสตร์. Journal of Community Development Research (Humanities and Social Sciences), [S.l.], v. 8, n. 3, p. 68-82, dec. 2015. ISSN 2985-0231. Available at: <https://www.journal.nu.ac.th/JCDR/article/view/1094>. Date accessed: 20 apr. 2024.